สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

125 อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร บรรดาศักดิ์สมัยสุโขทัย ตามที่ปรากฏในศิลาจารึก ต� ำแหน่งผู้บังคับบัญชาคนของสุโขทัยคล้ายคลึงกับของล้านนา และไม่ปรากฏว่าใช้บรรดาศักดิ์แบบอยุธยา จากมังรายศาสตร์ฉบับอ� ำเภอเสาไห้ พ.ศ. ๒๓๔๒ ก� ำหนดต� ำแหน่งผู้บังคับบัญชาคนของ ล้านนาว่ามีดังนี้ ไพร่สิบคนให้มีนายสิบผู้หนึ่ง และมีข่มกว้านเป็นล่ามติดต่อการงาน ล� ำดับต่อไปมี นายห้าสิบ นายร้อย ล่ามพัน เจ้าพัน ล่ามหมื่น เจ้าหมื่น และท้าวพระยา แต่ในจารึกล้านนา ปรากฏว่า มีนายซาว ซึ่งควบคุมไพร่ยี่สิบคนอยู่ด้วย สมัยที่พระยายุธิษเฐียรเอาใจออกหากจากสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถไปเข้ากับพระเจ้า ติโลกราชแห่งเชียงใหม่ เจ้าเมืองมีต� ำแหน่งเป็นเจ้าหมื่นหรือหมื่น ในขณะที่พระยายุธิษเฐียรเป็นเจ้าเมือง สี่เมืองได้เป็นเจ้าสี่หมื่นพระเยา จารึกสุโขทัยมีค� ำ หัวปาก (เท่ากับ นายร้อย ดูจารึกหลักที่ ๘๖) ล่ามหมื่น ล่ามพัน (ค� ำว่า พัน หักหายเหลือ พ เพียงครึ่งตัว ดูหลักที่ ๔๕) นายพัน (หลักที่ ๑๕) ส่วน ขุน ในสมัยพ่อขุนรามค� ำแหง มหาราชเป็นเจ้าเมือง หรือกษัตริย์ ค� ำ พ่อขุน แปลว่าผู้เป็นใหญ่เหนือขุนทั้งหลาย เหมือนแม่ทัพเป็นใหญ่ ในทัพ พ่อขุนมีขุนมาเป็นบริพารหลายเมืองด้วยกัน มาถึงสมัยพระเจ้าลิไทยใช้ พระยา น� ำพระนาม กษัตริย์ สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ กษัตริย์เป็นสมเด็จเจ้าพระยา ในที่สุดพระบาทสมเด็จ จึง จะเป็นกษัตริย์ ส่วนขุน พระยา สมเด็จเจ้าพระยา กลายเป็นบรรดาศักดิ์ของขุนนางไป ไทอาหมมีต� ำแหน่งหัวซาว (นายยี่สิบ) หัวปาก (นายร้อย) และหัวริง (นายพัน) จึงน่าจะ สันนิษฐานได้ว่า ก่อนที่ไทยจะแยกย้ายจากกันมาเป็นไทอาหม ล้านนา และสุโขทัยนั้นคงได้ใช้ต� ำแหน่ง แบบนี้มาก่อนแล้ว ส่วนอยุธยาปรากฏตามพระราชพงศาวดารฉบับปลีกว่า ตอนต้นรัชสมัยสมเด็จพระบรม ไตรโลกนาถ ยังใช้เรียกเจ้าประเทศราชเป็นพรญาอยู่ เวลายกทัพไปมีแม่ทัพนายกอง ส่วนใหญ่เป็นขุน เช่น ขุนก� ำแพงเพชร และมี หมื่น อยู่บ้าง ต่อมาตอนปลายรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถปรากฏ ตามพระไอยการต� ำแหน่งนาพลเรือน ว่ามีต� ำแหน่ง พระ หลวง ขุน หมื่น ลงไปจนถึง นายหัวสิบ แสดงว่า รับแบบบรรดาศักดิ์จากเขมรเข้ามาใช้ร่วมกับต� ำแหน่ง หมื่นพัน ฯลฯ ซึ่งเป็นของเดิม หรือมิฉะนั้น ก็อาจน� ำเอาต� ำแหน่งเจ้าประเทศราช (เจ้าพรญา พรญา) และต� ำแหน่งเจ้าเมืองที่เป็นเมืองขึ้น (ขุน) มาเป็นต� ำแหน่งขุนนางอยุธยา

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=