สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

123 อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร เมื่อมีตัวสะกด เช่น เวียง เขียนเป็น วย ง โดยตัดสระ อี และเอาตัวสะกดไปแทน ตัว ย เคียง ทั้งนี้คงจะเป็นเพราะออกเสียง วะยง เร็ว ๆ ก็ฟังคล้าย เวียง อยู่แล้ว ๑๑. สระลอยมีเพียงตัวเดียว คือ สระ อี แต่ในศิลาจารึกหลักที่ ๓ พ.ศ. ๑๙๐๐ มีสระลอย สองตัว คือ สระ อี และสระ อือ ตัวพยัญชนะไทยซึ่งมีอยู่ทั้งหมด ๔๔ ตัวนั้น ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ เพียง ๓๙ ตัว ขาด ฌ ฑ ฒ ฬ และ ฮ แต่เชื่อได้ว่า ๔ ตัวแรกคงจะมีใช้อยู่แล้ว เพราะ ฌ ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกหลัก ที่ ๒ ซึ่งสร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. ๑๙๑๒ ส่วน ฑ ฒ และ ฬ ๑ ปรากฏในยุคอยุธยา แต่ ฮ ไม่ปรากฏในจารึก สมัยสุโขทัยและอยุธยาเลย แม้ตัวหนังสือที่ลาลูแบร์รวบรวมไว้สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ไม่มี ตัว ฮ ฉะนั้น ฮ จึงน่าจะเกิดขึ้นใหม่ในยุคปลายอยุธยา ยุคธนบุรี หรือยุครัตนโกสินทร์นี่เอง นายฉํ่า ทองค� ำวรรณ เคยรายงานไว้ว่า มีตัว ฮ ในจารึกลานทองสุโขทัย พ.ศ. ๑๙๑๙ คือ ข้อความว่า เหนือฮั่น แต่ผู้เขียนพยายามสอบหาจารึกอยู่สิบกว่าปีเพื่อสอบดูใหม่ เพราะจารึกสุโขทัยหลักอื่นใช้ หั้น หลายแห่ง แต่ไม่เคยใช้ ฮั่น เลย ข้อความน่าจะเป็น เหนืออั้น มากกว่า ในที่สุดเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้ช่วยกัน สอบทานแล้วที่ถูกเป็น เหนืออั้น ๑ ฒ ปรากฏในจารึกวัดบูรพาราม สุโขทัย ประมาณ พ.ศ. ๑๙๕๖ และ ฬ ปรากฏในจารึกวัดอโสการาม สุโขทัย ประมาณ พ.ศ. ๑๙๔๒ และจารึกวัดบูรพาราม.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=