สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

121 อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ๓. ตัวหนังสือแบบพ่อขุนรามค� ำแหงมหาราช ยังมีลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่ง คือ น� ำสระมา เรียงอยู่ระดับเดียวกับพยัญชนะแบบเดียวกับตัวหนังสือของชาติตะวันตกทั้งหลาย น่าเสียดายที่สระ เหล่านั้นถูกดึงกลับไปไว้ข้างบนตัวพยัญชนะบ้าง ข้างล่างบ้างในสมัยต่อมา ทั้งนี้เพราะคนไทยเคยชินกับ วิธีเขียนข้างบนข้างล่างตามแบบขอมและอินเดีย ซึ่งเป็นต้นต� ำรับดั้งเดิม ถ้ายังคงเขียนสระแบบพ่อขุน รามค� ำแหงมหาราชอยู่ เราจะประหยัดเงินค่ากระดาษลงได้หนึ่งในสามทีเดียว เพราะทุกวันนี้จะต้องทิ้ง ช่องว่างระหว่างบรรทัดไว้เพื่อเขียนส่วนล่างของ ฏ ฐ สระอุ อู วรรณยุกต์ และ สระอือ รวมเป็นช่องว่าง ที่ต้องเตรียมไว้สี่ส่วนให้เขียนได้ไม่ซ้อนกัน ยิ่งมาถึงยุคคอมพิวเตอร์ การเก็บข้อมูลและการค้นหาข้อมูล จะประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายได้มหาศาล แต่ตัวอักษรไทยในปัจจุบันบรรทัดเดียวคอมพิวเตอร์จะ ต้องกวาดผ่านตลอดบรรทัดไปถึง ๔ ครั้ง กล่าวคือ ครั้งแรกกวาดพวกวรรณยุกต์ ครั้งที่สองกวาดพวก สระบน เช่น สระอี อึ ครั้งที่สามกวาดพวกพยัญชนะ และครั้งที่สีกวาดพวกสระล่าง คือ สระอุ อู จึงท� ำให้ เสียเวลาเป็นสี่เท่าของตัวอักษรของอังกฤษซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์จะกวาดเพียงบรรทัดละครั้งเดียว ถ้าใช้อักขรวิธีแบบของพ่อขุนรามค� ำแหงมหาราช เครื่องคอมพิวเตอร์จะกวาดเพียงบรรทัดละสองครั้ง ลดเวลาและค่าใช้จ่ายลงได้กว่าครึ่ง ถ้ายิ่งดัดแปลงให้วรรณยุกต์ไปอยู่บรรทัดเดียวกับพยัญชนะเสียด้วย ก็จะลดค่าใช้จ่ายลงได้กว่าสี่เท่า ๔. ลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งของตัวหนังสือพ่อขุนรามค� ำแหงมหาราช คือ พยัญชนะ ทุกตัวเขียนเรียงอยู่บรรทัดเดียวกัน ไม่มีตัวพยัญชนะซ้อนกันเหมือนตัวหนังสือของเขมร มอญ พม่า และ ไทยใหญ่ เช่น เขียน อฏฐ แทนที่จะเป็น เซเดส์ได้กล่าวไว้ว่า การที่พระองค์ได้ทรงแก้ไขตัวอักษรของ ชาวสุโขทัยให้เรียงเป็นแนวเดียวกันได้นั้นเป็นการส� ำคัญยิ่ง และควรที่ชาวสยามในปัจจุบันนี้จะรู้สึก พระคุณ และมีความเคารพนับถือที่พระองค์ได้ทรงจัดแบบอักษรไทยให้สะดวกขึ้นข้อนี้ให้มาก อนึ่ง ในสยามประเทศทุกวันนี้ การคิดแบบเครื่องพิมพ์ดีดและการพิมพ์หนังสือได้เจริญรุ่งเรือง เป็นประโยชน์ ยิ่งในวิชาความรู้แลทางราชการ นับว่าเพราะพ่อขุนรามค� ำแหงมหาราชได้ทรงพระราชด� ำริเปลี่ยนรูป อักษรขอมแลเรียงพยัญชนะเป็นแนวเดียวกันให้สะดวกไว้ ส่วนบรรดาประเทศที่ยังใช้วิธีซ้อนตัวพยัญชนะ เช่นประเทศเขมรและประเทศลาว การพิมพ์หนังสือของประเทศเหล่านั้นเป็นการยาก ไม่สู้จ� ำเริญ แลยัง ไม่มีผู้ใดในชาตินั้น ๆ ได้คิดจะออกแบบพิมพ์ดีดส� ำหรับตัวอักษรของตน ๆ เลย (ต� ำนานอักษรไทย พ.ศ. ๒๔๖๘) ๕. ตัวอักษรทุกตัวสูงเท่ากัน หางของ ศ ส ก็ขีดออกไปข้าง ๆ แทนที่จะสูงขึ้นไปกว่าอักษรตัว อื่น ๆ หางของ ป และ ฝ สูงกว่าอักษรตัวอื่น ๆ เพียงนิดเดียว สระทุกตัวสูงเท่ากับพยัญชนะ รวมทั้งสระ โอ ใอ และ ไอ ตัวอักษรแบบนี้เมื่อตีพิมพ์หางตัว ป และสระข้างล่าง ข้างบน จะไม่หักหายไปอย่าง ในปัจจุบัน ไม่ต้องคอยตรวจซ่อมกันอยู่ตลอดเวลา ๖. พ่อขุนรามค� ำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์รูปแบบตัวอักษรไทยให้เขียนได้ง่ายและรวดเร็ว พยัญชนะแต่ละตัวต่อเป็นเส้นเดียวตลอด ในขณะที่ตัวหนังสือขอมต้องเขียนสองหรือสามเส้นต่อ พยัญชนะตัวหนึ่ง อฏ ฐ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=