สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
120 อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร สมัยพ่อขุนรามค� ำแหงมหาราชยังไม่มีไม้หันอากาศ แต่ใช้พยัญชนะตัวเดียวกันหรือวรรค เดียวกันเขียนติดกัน เช่น อนน แทน อัน และ อฏฐ แทน อัฏฐ พ่อขุนรามค� ำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ลายสือไทยขึ้น โดยมิได้ทรงทราบว่ามีตัวหนังสือ ไทยเดิมอยู่ก่อน ข้อพิสูจน์ข้อหนึ่งคือไทยอาหมและไทยค� ำที่ (ข� ำตี้) ออกเสียงค� ำ อัน คล้ายกับค� ำ อาน แต่เสียงสระสั้นกว่า และออกเสียงค� ำ อัก-อาก อัง-อาง อัด-อาด อับ-อาบ เหมือนกับตัวหนังสือของเราโดย ออกเสียงค� ำต้นสั้นกว่าค� ำหลังในคู่เดียวกัน แต่ออกเสียง อัว ว่า เอา เพราะถือหลักการที่กล่าวมาข้างต้น แล้วว่า อัว คือ อาว ที่เสียงสระสั้นลง พ่อขุนรามค� ำแหงมหาราชทรงใช้ อวว (คืออัว) เป็นสระ อัว แทนที่ จะเป็นสระ เอา หากคนไทยเคยอ่าน อัว เป็น เอา ซึ่งถูกตามหลักภาษาศาสตร์มาแต่เดิมแล้วคงยากที่ จะเปลี่ยนแก้ให้อ่านเป็น อัว ซึ่งขัดกับความเคยชิน ฉะนั้นจึงน่าเชื่อว่า พ่อขุนรามค� ำแหงมหาราชทรง ประดิษฐ์ตัวหนังสือไทยขึ้นโดยมิได้ทรงทราบว่า มีตัวหนังสือไทยเดิมอยู่ก่อนแล้ว พ่อขุนมังรายมหาราช (เป็นพระนามที่ถูกต้องของพระยาเม็งราย) คงจะได้ดัดแปลงตัวอักษร มอญมาใช้เขียนหนังสือไทยในเวลาใกล้เคียงกัน ดังตัวอย่างตัวอักษรในจารึกลานทองสุโขทัย พ.ศ. ๑๙๑๙ ส่วนไทยอาหมคงสร้างตัวหนังสือขึ้นในระยะเวลาใกล้เคียงกับตัวหนังสือสุโขทัย ทั้งนี้เพราะ คนไทยเพิ่งจะสร้างอาณาจักรเป็นปึกแผ่นกว้างขวางออกไปในระยะนั้น อย่างไรก็ดี นักอ่านศิลาจารึก หลายท่านเชื่อว่ารูปตัวอักษรของไทยอาหมชี้ให้เห็นว่า อักษรไทยอาหมพึ่งเกิดใหม่หลังอักษรพ่อขุน รามค� ำแหงมหาราชเป็นระยะเวลานานทีเดียว คุณวิเศษของลายสือไทย ๑. ลายสือไทยของพ่อขุนรามค� ำแหงมหาราชมีลักษณะพิเศษกว่าตัวอักษรของชาติอื่น ซึ่งเป็น ลูกศิษย์ของชาวอินเดีย กล่าวคือ ชาติอื่นขอยืมตัวหนังสือของอินเดียมาใช้โดยมิได้ประดิษฐ์พยัญชนะ และสระเพิ่มขึ้นให้พอกับเสียงพูดของคนในชาติ ยกตัวอย่างเช่น เขมรโบราณ เขียน เบก อ่านออกเสียง เป็น เบก แบก หรือ เบิก ก็ได้ ไทยใหญ่เขียน ปีน อ่านออกเสียงเป็น ปีน เปน หรือ แปน ก็ได้ เวลาอ่าน จะต้องดูความหมายของประโยคก่อน จึงจะอ่านออกเสียงได้ถูกต้อง พ่อขุนรามค� ำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ตัวพยัญชนะ สระ อีกทั้งวรรณยุกต์ขึ้น เป็นต้นว่า ได้เพิ่ม ฃ ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ อ สระอึ อือ แอ เอือ ฯลฯ ไม้เอก ไม้โท (ในรูปกากบาท) จนท� ำให้สามารถ เขียนค� ำไทยได้ทุกค� ำ ๒. อักขรวิธีที่ใช้ สามารถเขียน ตาก-ลม แยกออกไปจาก ตา-กลม ท� ำให้อ่านข้อความได้ ถูกต้อง ไม่ก� ำกวม กล่าวคือ ถ้าเป็นอักษรควบกลํ้าให้เขียนติดกัน ส่วนตัวสะกดให้เขียนแยกห่างออกไป เช่น ตา-กลม เขียนเป็น ตา กลํ ส่วน ตาก-ลม เขียนเป็น ตา ก ลํ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=