สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
119 อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ตัวหนังสือของพ่อขุนรามค� ำแหงมหาราชแพร่หลายเข้าไปในล้านนา ดังปรากฏในศิลาจารึก หลักที่ ๖๒ วัดพระยืนว่า พระมหาสุมนเถรน� ำศาสนาพุทธนิกายรามัญวงศ์ หรือนิกายลังกาวงศ์เก่า เข้าไป ในล้านนา เมื่อ พ.ศ. ๑๙๑๒ และได้เขียนจารึกด้วยตัวหนังสือสุโขทัยไว้เมื่อ พ.ศ. ๑๙๑๔ ต่อมาตัวหนังสือ สุโขทัยนี้ได้เปลี่ยนรูปร่างและอักขรวิธีไปบ้างกลายเป็นตัวหนังสือฝักขาม และล้านนายังใช้ตัวหนังสือ ชนิดนี้มาจนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เชียงตุงและเมืองที่ใกล้เคียงในพม่ามีศิลาจารึกอักษรฝักขามซึ่งดัดแปลงไปจากลายสือของ พ่อขุนรามค� ำแหงมหาราชอยู่กว่า ๑๐ หลัก เริ่มแต่ศิลาจารึกวัดป่าแดง พ.ศ. ๑๙๙๔ เป็นต้นมา นอกจากนี้ ยังมีจารึกที่เจดีย์อานันทะในพุกามเขียนด้วยตัวหนังสือสุโขทัย ประมาณ พ.ศ. ๑๙๑๔-๑๙๔๐ อยู่หลักหนึ่ง ในประเทศลาวมีจารึกเขียนไว้ที่ผนังถํ้านางอันใกล้หลวงพระบางด้วยตัวอักษรสุโขทัยซึ่งมี ลักษณะใกล้เคียงกับตัวหนังสือสมัยพระเจ้าลิไทย (พ.ศ. ๑๘๙๐-๑๙๑๑) ไทยขาว ไทยด� ำ ไทยแดง เจ้าไทยในตังเกี๋ย ผู้ไทยในญวน และลาวปัจจุบันนี้ยังใช้ตัวอักษรที่ กลายไปจากลายสือของพ่อขุนรามค� ำแหงมหาราช ถ้าคนไทยมีตัวอักษรไทยเดิมอยู่แล้ว ก็คงจะไม่ยอมรับลายสือไทยเข้าไปใช้จนแพร่หลาย กว้างขวางไปในหลายประเทศดังกล่าวมาแล้ว เพราะการเปลี่ยนแปลงให้ผิดไปจากของที่เคยชินแล้วท� ำได้ ยากมาก เป็นต้นว่า เราเคยเขียนค� ำว่า “น�้ ำ” บัดนี้ออกเสียงเป็น “น้าม” แต่ก็มิได้เปลี่ยนวิธีเขียนให้ตรง กับเสียง ผู้เขียนเห็นว่า ในชั้นแรกเมื่อคนไทยมิได้เป็นชนชั้นปกครองก็จ� ำเป็นจะต้องเรียนตัวหนังสือ ที่ทางราชการบ้านเมืองใช้อยู่ เพื่ออ่านประกาศของทางราชการให้เข้าใจ ถ้าจะประดิษฐ์ตัวหนังสือขึ้นใช้ เอง จะไปบังคับใครให้มาเรียนหนังสือดังกล่าว เมื่อใดคนไทยได้เป็นชนชั้นปกครองขึ้น ก็น่าจะดัดแปลง ตัวหนังสือที่ใช้กันอยู่ในถิ่นนั้นมาเป็นตัวหนังสือของไทย เช่น คนไทยในเมืองจีนคงดัดแปลงตัวหนังสือ จีนมาใช้ คนไทยในล้านนาคงจะดัดแปลงตัวหนังสือมอญซึ่งนิยมใช้กันในถิ่นนี้มาก่อน ส่วนพ่อขุน รามค� ำแหงมหาราชก็น่าจะดัดแปลงตัวหนังสือขอมซึ่งนิยมใช้กันอยู่แถวลุ่มแม่นํ้าเจ้าพระยามาแต่เดิม หากมีตัวอักษรไทยเดิมอยู่แล้ว พ่อขุนรามค� ำแหงมหาราชคงจะทรงใช้ตัวอักษรไทยเดิม หรือทรงดัดแปลง จากนั้นบ้างเล็กน้อยแทนที่จะดัดแปลงจากอักษรขอมเป็นส่วนใหญ่ แท้จริงนั้นมีเค้าเงื่อนอยู่ในพงศาวดาร เหนือว่าพ่อขุนรามค� ำแหงมหาราชได้ทรงอาศัยนักปราชญ์ราชบัณฑิตที่เชี่ยวชาญตัวหนังสือชาติต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงไทย ยกเว้นแต่จีน เพราะจีนใช้หลักการเขียนหนังสือเป็นรูปภาพ ผิดกับหลักการเขียนเป็น รูปพยัญชนะและสระแบบของไทย รูปอักษรของพ่อขุนรามค� ำแหงมหาราชคล้ายตัวหนังสือลังกา บังกลาเทศ ขอม และเทวนาครี ฯลฯ เป็นต้นว่า ตัว จ ฉ หันหน้าไปคนละทางกับอักษรขอม แต่หันไป ทางเดียวกับตัวอักษรลังกาที่มีอยู่ก่อนแล้ว
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=