สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

118 อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร หนังสือจินดามณี เล่ม ๑ ของหอสมุดแห่งชาติ เลขที่ ๑๑ เป็นสมุดไทยด� ำ มีข้อความเหมือน กับจินดามณี ฉบับพระเจ้าบรมโกศ ซึ่งนายขจร สุขพานิช ได้มาจากกรุงลอนดอน แต่คลาดเคลื่อนน้อยกว่า มีข้อความว่า “อนึ่งมีในจดหมายแต่ก่อนว่า ศกราช ๖๔๕ มแมศก พญาร่วงเจ้า ได้เมืองศรีสัชนาไลย ได้แต่งหนังสือไทย แล จ ได้แต่งรูปก็ดี แต่งแม่อักษรก็ดีมิได้ว่าไว้แจ้ง อนึ่งแม่หนังสือ แต่ ก กา กน ฯลฯ ถึงเกอย เมืองขอมก็แต่งมีอยู่แล้ว เห็นว่าพญาร่วงเจ้าจะแต่งแต่รูปอักษรไทย” แท้จริงพ่อขุนรามค� ำแหง มิได้ทรงแต่งแต่รูปอักษรไทยเท่านั้น แต่ยังได้ทรงเปลี่ยนแปลงอักขรวิธีการเขียนภาษาไทยให้ดีขึ้นกว่า เดิมอีกหลายประการ ดังจะได้กล่าวถึงต่อไปข้างหน้านี้ มีหนังสือไทยเดิมก่อนลายสือไทยหรือไม่ ผู้เขียนเคยบรรยายไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ ว่า ถ้า ลายสือไทยนี้บ่มี หมายความ ว่า หนังสือไทยชนิดนี้ไม่มี แต่คงจะมีหนังสือไทยแบบอื่นอยู่ก่อนแล้ว ในจารึกหลักเดียวกันนี้ได้กล่าวถึง เมืองสุโขทัย ๑๔ ครั้ง ทุกครั้งใช้ค� ำ เมืองสุโขทัยนี้ จะตีความว่า มีเมืองสุโขทัยอยู่ก่อนแล้ว แล้วจึงมา ตั้งเมืองสุโขทัยขึ้นใหม่กระนั้นหรือ ผู้เขียนเห็นว่า นี้ เป็นแต่ค� ำชี้เฉพาะ ถ้าเทียบกับภาษาอังกฤษก็คงจะ ตรงกับ the เท่านั้น มิได้หมายความว่า this เพราะฉะนั้นที่ว่า ลายสือไทยนี้บ่มี คงมิได้หมายความว่า มีลายสือไทยอื่นอยู่แล้ว แต่ผู้เขียนยอมรับว่าอาจจะมีหนังสือของไทยอาหมเกิดขึ้นทางอัสสัมในเวลา ใกล้เคียงกับการก่อก� ำเนิดตัวหนังสือในสุโขทัยก็เป็นได้ ๑ ประวัติไทยอาหมปรากฏอยู่ในหนังสือบูราณยี ค� ำว่า ยี อาจจะตรงกับ สือ ใน ลายสือ หรือ รากศัพท์เดียวกับ จื่อ ซึ่งใช้อยู่ในภาคเหนือและภาคอีสาน แปลว่า จดจ� ำ เช่น ได้จื่อจ� ำไว้ บูราณยีบอก ประวัติผู้ครองราชย์มาตั้งแต่ยุคที่นิยมแต่งต� ำนานเป็นเทพนิยายลงมา ศักราชแรกที่กล่าวถึง คือ พ.ศ. ๑๗๓๓ ส่วนไทยเผ่าอื่นเริ่มมีประวัติเป็นหลักเป็นฐานไม่เก่าไปกว่ายุคไทยอาหม หากเก่ากว่านั้น ขึ้นไป จะเป็นเรื่องเทพนิยายแบบพงศาวดารเหนือหรือต� ำนานเก่า ๆ ของเรา ซึ่งเกี่ยวกับปาฏิหาริย์เป็น ส่วนมาก ประวัติศาสตร์ไทยทุกเผ่ามาเริ่มจดเป็นหลักเป็นฐานในยุคพ่อขุนรามค� ำแหงมหาราชนี้ ผู้เขียน จึงเห็นว่าตัวหนังสือไทยคงจะเกิดขึ้นต้นยุคสุโขทัยนี้เอง เมื่อมีตัวหนังสือใช้แล้วก็อาจจะจดเรื่องราว ย้อนหลังขึ้นไปได้อีกสองสามชั่วคน อีกประการหนึ่ง ไม่เคยมีผู้พบจารึกภาษาไทยก่อนยุคสุโขทัยขึ้นไปเลย จริงอยู่เป็นไปได้ว่า คนไทยอาจจะมีตัวอักษรอื่นใช้อยู่ก่อนแล้ว แต่เผอิญจารึกหายไปหมด หรืออาจจะเขียนไว้บนไม้ไผ่หรือ สิ่งอื่นที่ผุพังไปได้ง่ายก็เป็นได้ แต่ถ้ามีตัวอักษรอื่นอยู่ก่อนแล้ว ตัวอักษรแบบนั้นก็น่าจะปรากฏขึ้นที่ใด ที่หนึ่ง เพราะดินแดนตั้งแต่อัสสัมถึงเวียดนามและจีนตอนใต้ถึงมลายูมีคนไทยอาศัยอยู่ทั่วไป ท� ำไมจึง ไม่ปรากฏตัวอักษรแบบดังกล่าวเลย ไม่ว่าจะจารึกไว้ในรูปลักษณะใด ๆ ทั้งสิ้น ๑ หนังสือรวบรวมการบรรยายเรื่องตัวอักษรไทย หน้า ๕๕.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=