สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

117 อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ลายสือไทย ๑ ก� ำเนิดลายสือไทย พ่อขุนรามค� ำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ลายสือไทยหรือตัวหนังสือไทยขึ้นเมื่อมหาศักราช ๑๒๐๕ (พุทธศักราช ๑๘๒๖) นับมาถึงพุทธศักราช ๒๕๒๖ ได้ ๗๐๐ ปีพอดี ในระยะเวลาดังกล่าว ชาติไทยได้สะสมความรู้ทั้งทางศิลปะ วัฒนธรรม และวิชาการต่าง ๆ และได้ถ่ายทอดความรู้เหล่านั้นสืบ ต่อกันมาโดยอาศัยลายสือไทยของพระองค์ท่านเป็นส่วนใหญ่ ก่อนสมัยสุโขทัย ชาติไทยเคยรุ่งเรือง อยู่ที่ไหนอย่างไร ไม่มีหลักฐานยืนยันให้ทราบแน่ชัด แต่เมื่อพ่อขุนรามค� ำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ ลายสือไทยขึ้นแล้ว มีศิลาจารึกและพงศาวดารเหลืออยู่เป็นหลักฐานยืนยันว่า ชาติไทยเคยรุ่งเรืองมา อย่างไรบ้างในยุคสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ ในโอกาสครบรอบ ๗๐๐ ปีนี้ คนไทยทุกคน จึงควรน้อมร� ำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่านโดยพร้อมเพรียงกัน ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ของพ่อขุนรามค� ำแหงมหาราช มีข้อความปรากฏว่า “เมื่อก่อนลายสืไท นี้บ่มี ๑๒๐๕ สกปีมแมพ่ฃุนรามค แหงหาใคร่ใจในใจแล่ใศ่ลายสืไทนี้ลายสืไทนี้จี่งมีเพื่อฃุนผู้น้นนใศ่ไว้” หา แปลว่า ด้วยตนเอง (ไทยขาวยังใช้อยู่) ใคร่ใจในใจ แปลว่า ค� ำนึงในใจ (จากพจนานุกรม ไทยอาหม) ข้อความที่อ้างถึงแสดงว่าพ่อขุนรามค� ำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ตัวหนังสือไทยแบบที่จารึกไว้ในศิลา จารึกหลักที่ ๑ ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖ ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ได้กล่าวไว้ในต� ำนานอักษรไทย ซึ่งตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ ว่า ค� ำ ที่ใช้ในจารึกมีค� ำ นี้ อยู่ต่อค� ำ ลายสือ ทุกแห่ง (๓ แห่ง) หมายความว่า หนังสือไทยอย่างนี้ไม่มีอยู่ก่อน มิได้ประสงค์จะทรงแสดงว่า หนังสือของชนชาติไทยพึ่งมีขึ้นต่อเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖ เซเดส์ยังเห็นว่า พวก ไทยน้อยซึ่งมาอยู่ทางล� ำนํ้ายม ชั้นแรกเห็นจะใช้อักษรไทยซึ่งได้แบบมาจากมอญ ๒ ต่อมาขอมมีอ� ำนาจ ปกครองสุโขทัย พวกไทยคงจะศึกษาอักษรขอมหวัดที่ใช้ในทางราชการ แล้วจึงแปลงอักษรเดิมของไทย มาเป็นรูปคล้ายตัวอักษรขอมหวัด ถ้าประสงค์จะสมมติว่าอักษรไทยเดิมเป็นอย่างไร ควรจะถือเอาอักษร อาหม (ใช้ในอัสสัม) กับอักษรไทยน้อย (ใช้ในอีสานและประเทศลาว) นี้เป็นหลัก นายฉํ่า ทองค� ำวรรณ ได้เขียนเรื่อง “สันนิษฐานเทียบการเขียนอักษรไทยกับอักษรขอมในสมัยพ่อขุนรามค� ำแหง” ไว้ และได้ สันนิษฐานว่า อักษรพ่อขุนรามค� ำแหงทุกตัวดัดแปลงมาจาก อักษรขอมหวัด ๑ ตัดตอนจากบทความเรื่อง ลายสือไทย เรียบเรียงโดย ศ. ดร.ประเสริฐ ณ นคร ลงพิมพ์ในหนังสือ รวมบทความเรื่องภาษา และอักษรไทย กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๒๗ หน้า ๑๙-๒๔. ๒ ต� ำนานอักษรไทย, หน้า ๑, ๖ และ ๑๑.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=