สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

115 อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร พวกขุนนางหัวเมืองดังกล่าวประชุมกันที่เมืองเชียงแสน แล้วยกทัพมาฆ่าแสนคราวและพรรคพวก เสีย ยกมหาเทวีจิรประภา (สันนิษฐานว่าเป็นพระมเหสีของพระเมืองเกศเกล้า) ขึ้นเป็นกษัตริย์เมื่อ พ.ศ. ๒๐๘๘ พญาบรมไตรจักรแห่งอยุธยา (คือสมเด็จพระไชยราชาธิราช) ทรงยกทัพมาถึงเมืองเชียงใหม่ มหาเทวีจิรประภาจึงแต่งเครื่องบรรณาการไปถวาย พญาบรมไตรจักรทรงบริจาคเงินสร้างกู่เฝ่า (ที่เก็บอัฐิ ของพระเมืองเกศเกล้า) เสด็จไปสรงน�้ ำที่เวียงเจ็ดลิน แล้วเสด็จกลับอยุธยา ขณะเดียวกันกองทัพไทใหญ่ จากเมืองนายมาตั้งทัพที่สวนดอก แต่ถูกกองทัพเชียงใหม่ของมหาเทวีจิรประภาตีแตกพ่ายกลับไป ที่เมือง เชียงใหม่ได้เกิดแผ่นดินไหว เจดีย์วัดเจดีย์หลวง เจดีย์วัดพระสิงห์ และเจดีย์องค์อื่น ๆ หักพังลงมาก สามเดือนต่อมาทัพล้านช้างของพระอุปโยราชยกมาเสริมก� ำลังเมืองเชียงใหม่ เป็นเหตุให้พญาบรมไตรจักร ทรงส่งเจ้าเมืองสุโขทัยมาตีได้เมืองล� ำพูน และทัพหลวงยกมาตีเมืองเชียงใหม่ แต่ถูกตีพ่ายแพ้เสียทหาร จ� ำนวนมาก พ.ศ. ๒๐๘๙ พระอุปโยราชเสด็จจากล้านช้างมาถึงเมืองเชียงใหม่ มหาเทวีจิรประภาได้ถวาย เมืองให้พระอุปโยราชขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์เชียงใหม่ จนถึง พ.ศ. ๒๐๙๐ พระเจ้าโพธิสาร พระบิดา พระอุปโยราชสิ้นพระชนม์ลง พระอุปโยราชจึงเสด็จกลับล้านช้างเพื่อไปร่วมพิธีศพพระบิดาพร้อมทั้ง อัญเชิญพระพุทธรูปส� ำคัญ เช่น พระแก้วมรกต พระพุทธสิหิงค์ไปให้ชาวล้านช้างสักการบูชา รวมทั้ง น� ำช่างฝีมือต่าง ๆ ไปด้วย แต่นั้นมา บ้านเมืองล้านนาก็เกิดกลียุคเพราะขุนนางรบพุ่งฆ่าฟันกันเอง หลายครั้ง พระยาแพร่ พระยานครล้านช้าง และพระยาหัวเวียงล้านช้างจึงถือโอกาสยกทัพมารุกราน เชียงใหม่ แต่ถูกตีกลับไป พ.ศ. ๒๐๙๑ พระไชยเชษฐา พระอุปโยราชได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ที่ล้านช้าง ต่อมาใน พ.ศ. ๒๐๙๔ ทรงตัดสินพระทัยที่จะครองราชย์ที่ล้านช้าง จึงทรงส่งคนน� ำธูปเทียนข้าวตอกดอกไม้จาก ล้านช้างมาขอสมาพระสงฆ์ที่เมืองเชียงใหม่ว่า จะไม่เสด็จกลับมาเชียงใหม่อีก ขอให้มหาเทวีจิรประภาครอง เมืองต่อไป แต่พวกขุนนางกลับไปเชิญท้าวเมกุฎ (พระนามที่ถูกต้อง คือ ท้าวแม่กุ หมายความว่า เจ้าแห่ง แม่น�้ ำกุ) จากเมืองนายซึ่งเป็นเชื้อสายของพระยามังรายมหาราช ให้มาเป็นกษัตริย์เชียงใหม่ในปีนั้น หลังจากนี้ก็ไม่ปรากฏชื่อมหาเทวีจิรประภาในพระราชพงศาวดารอีกเลย. บรรณานุกรม ต� ำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. เชียงใหม่ : ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่, ๒๕๓๙. (จัดพิมพ์เนื่องใน โอกาสเชียงใหม่ครบ ๗๐๐ ปี). ประชากิจกรจักร, พระยา. พงศาวดารโยนก. พระนคร : ชูวัน, ๒๔๙๘. สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. เชียงใหม่, ๒๕๓๙. อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว. ต� ำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. เชียงใหม่, ๒๕๔๒.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=