สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
114 อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร อนุญาตเข้าไปอ่านได้ ขณะนี้จึงยังไม่สามารถสอบได้ว่า จามเทวีวงศ์ฉบับที่แปลเป็นภาษามอญ มีข้อความ ในผูก ๒ อยู่ด้วยหรือไม่. บรรณานุกรม พระโพธิรังษี. “เรื่องจามเทวีวงศ์.” ใน พงศาวดารเมืองหริภุญชัย. แปลโดย พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษณ์) และพระญาณวิจิตร (สิทธิ โรจนานนท์). พระนคร : โรงพิมพ์พิฆเณศ, ๒๕๑๕. สดุภณ จังกาจิตต์. “จามเทวีวงศ์ : วรรณกรรมที่ถูกลืม.” วรรณกรรมพุทธศาสนาในล้านนา. เชียงใหม่ : สุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์, ๒๕๔๐. มหาเทวีจิรประภา (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๐๘๘–๒๐๘๙) มหาเทวีจิรประภาหรือพระนางจิรประภา เป็นกษัตริย์ล้านนาครองเมืองเชียงใหม่ระหว่าง พ.ศ. ๒๐๘๘–๒๐๘๙ เป็นช่วงเวลาที่อาณาจักรล้านนาก� ำลังเสื่อมอ� ำนาจ ต่อมาก็ล่มสลายตกเป็นเมืองขึ้นของ พม่าใน พ.ศ. ๒๑๐๑ อ� ำนาจของกษัตริย์อ่อนแอลง อ� ำนาจที่แท้จริงตกไปอยู่ในมือของขุนนาง ซึ่งสามารถจะแต่งตั้งหรือ ถอดถอนกษัตริย์ได้ แต่ขุนนางเองไม่สามารถขึ้นเป็นกษัตริย์ได้ เพราะประชาชนจะยอมรับเฉพาะผู้ที่เป็น เชื้อสายของพระยามังรายมหาราชเท่านั้นขึ้นเป็นกษัตริย์ ดังปรากฏในค� ำพูดของหมื่นลกนครกล่าวแก่ แสนขานซึ่งเป็นกบฏต่อพระเจ้าติโลกราชว่า “เรานี้บ่ใช่เชื้อท้าวพญาจักเป็นท้าวพญาบ่ได้” พระยอดเชียงรายขึ้นเป็นกษัตริย์สืบต่อจากพระเจ้าติโลกราชเมื่อ พ.ศ. ๒๐๓๐ และถูกขุนนางถอด เมื่อ พ.ศ. ๒๐๓๘ พระเมืองแก้วซึ่งเป็นโอรสขึ้นเป็นกษัตริย์แทนจนสิ้นพระชนม์ไปเมื่อ พ.ศ. ๒๐๖๘ พระ เมืองเกศเกล้าซึ่งเป็นพระอนุชาได้ขึ้นเป็นกษัตริย์แทน จนถูกขุนนางปลดออกใน พ.ศ. ๒๐๘๑ ท้าวซายค� ำ โอรสขึ้นครองราชย์แทนถึง พ.ศ. ๒๐๘๖ ขุนนางจับท้าวซายค� ำฆ่าแล้วน� ำพระเมืองเกศเกล้ากลับมาเป็น กษัตริย์อีก จนถูกขุนนางชื่อแสนคราวฆ่าใน พ.ศ. ๒๐๘๘ เนื่องจากชาวล้านนาจะยอมรับผู้ที่เป็นกษัตริย์ เฉพาะเชื้อสายของพระยามังรายมหาราชเท่านั้น แสนคราวจึงไปเชิญพญาเขมรัฐเจ้าเมืองเชียงตุงมาครอง เมืองเชียงใหม่ แต่พญาเขมรัฐไม่ยอมมา จึงให้ไปเชิญเจ้าเมืองนายจากแคว้นไทใหญ่ แต่เจ้าเมืองนายยัง ไม่ทันมา ขุนนางหัวเมืองประกอบด้วยเจ้าเมืองล� ำปาง เจ้าเมืองเชียงราย เจ้าเมืองเชียงแสน และเจ้าเมือง พาน ก็ไปเชิญพระไชยเชษฐา อุปโยราชล้านช้าง (ซึ่งเป็นหลานตาของพระเมืองเกศเกล้า) มาครองเชียงใหม่ พระอุปโยราชรับค� ำว่าจะมา ในเวลาเดียวกัน หมื่นหัวเคียนจากเมืองแสนหวีก็ไม่พอใจที่แสนคราวปลง พระชนม์พระเมืองเกศเกล้า จึงน� ำทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ แต่สู้แสนคราวไม่ได้ หมื่นหัวเคียนจึงหนีไปเมือง ล� ำพูน และขอให้อยุธยายกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=