สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

113 อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ปริเฉทที่ ๙ เจ้าอนันตยศขอไปสร้างเมืองใหม่ มีนายพรานเขลาค์น� ำทางไป พระสุพรหมฤๅษี สร้างเขลางค์นครให้ ปริเฉทที่ ๑๐ เจ้าอนันตยศขอสมณพราหมณ์จากหริภุญชัยไปเขลาค์นคร พร้อมด้วยพระนาง จามเทวี ปริเฉทที่ ๑๑ พระนางจามเทวีอยู่เขลาค์นคร ๓ ปี เจ้าอนันตยศได้สร้างเมืองอาลัมพางคนครให้เป็น ที่ประทับของพระนางจามเทวี แล้วพระนางจากไปอยู่อาลัมพางคนคร ๓ ปี เมื่อทรงพระประชวรจึงเสด็จ กลับไปเมืองหริภุญชัยและสิ้นพระชนม์ที่เมืองนั้น ปริเฉทที่ ๑๒ กล่าวถึงพระนามของกษัตริย์ที่ครองหริภุญชัย ปริเฉทที่ ๑๓–๑๔ กล่าวถึงพระเจ้าอาทิตยราชได้ยกทัพไปล้อมกรุงละโว้ไว้ พระเจ้าละโว้ไม่ปรารถนา จะรบพุ่งด้วย จึงแจ้งความจ� ำนงว่าต้องการท� ำธรรมยุทธ์ โดยท้าสร้างเจดีย์แข่งกันให้สูง ๑๕ วา ให้เสร็จ ภายในคืนเดียววันเดียวและเวลาเดียว ผู้ใดสร้างเสร็จก่อนถือว่าเป็นผู้ชนะ พระเจ้าอาทิตยราชก็รับท้า พระเจ้าอาทิตยราชมีก� ำลังคนมากกว่าก็สร้างได้สูง พระเจ้าละโว้เห็นว่าจะสู้ไม่ได้ จึงให้สร้างปราสาทเทียม ท� ำด้วยไม้หุ้มผ้าขาว ท� ำให้เหมือนยอดเจดีย์ยกขึ้นตั้งไว้ บนเจดีย์กรวดที่ยังไม่แล้ว พออรุณขึ้นก็โห่ร้องท� ำให้ ทหารหริภุญชัยพากันหนีไป พระราชบุตรพระเจ้าละโว้รับอาสาจะไปจับพระเจ้าอาทิตยราชมาถวาย พระราชบิดา เมื่อพระราชบุตรพระเจ้าละโว้ยกกองทัพไปติดเมืองหริภุญชัย พระเจ้าอาทิตยราชก็ท้าท� ำธรรมยุทธ์ โดยการขุดสระแข่งกัน ให้กว้างลึกยาวเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยให้ขุดด้วยด้ามหอก พออรุณขึ้น ใครขุดได้ ลึกกว่าเป็นฝ่ายชนะ ชาวละโว้ขุดด้วยด้ามหอก พวกหริภุญชัยขุดด้วยหอกในเวลากลางวัน ขุดด้วยจอบใน เวลากลางคืน จนตลอดรุ่ง ชาวหริภุญชัยจึงเป็นฝ่ายชนะ เพราะขุดได้ถึง ๑๘ ศอก พระเจ้าอาทิตยราชสร้างเรือนส� ำหรับเสวยน�้ ำจัณฑ์และเสด็จไปที่ระเบียงเพื่อจะถ่ายพระบังคนเบา แต่ที่นั้นเป็นที่มีพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าประดิษฐานอยู่ กาซึ่งได้รับมอบหมายจากกาเผือกมอบให้ คอยพิทักษ์รักษา ก็มาถ่ายคูถให้ตกบนพระเศียรพระเจ้าอาทิตยราช เป็นเช่นนี้อยู่หลายครั้ง เมื่อจับกาได้ อ� ำมาตย์แนะน� ำไม่ให้ฆ่ากา พระเจ้าอาทิตยราชนิมิตฝันว่า ให้น� ำทารกอายุ ๗ วันไปไว้ใกล้กา เพื่อเรียน ภาษากา จนฟังภาษากาออก แล้วให้กาไปตามกาขาวจากป่าหิมพานต์มาเล่าเรื่องสถานที่บังเกิดพระธาตุ ให้ทราบ พระเจ้าอาทิตยราชทรงบูชาพระสรีรธาตุ และพระสรีรธาตุแสดงปาฏิหาริย์ จบกัณฑ์ที่ ๑๕ สดุภณ จังกาจิตต์ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ได้สืบค้นหาจามเทวีวงศ์ ผูก ๒ ที่ขาดหายไป ปรากฏว่าในปัจจุบัน ต้นฉบับที่ล้านนามีข้อความขาดหายไปมากกว่าฉบับหอพระสมุด คือขาดผูก ๒ และผูก ๔ อูโบเก ภัณฑารักษ์พิพิธภัณฑ์ที่ประเทศพม่า เคยเล่าว่า มีผู้แปลจามเทวีวงศ์ จากภาษาบาลีเป็น ภาษามอญไว้แล้ว บัดนี้อูโบเกถึงแก่กรรมไปแล้ว หนังสือทั้งหมดเป็นมรดกของทายาท ซึ่งยากที่จะขอ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=