สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

111 อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร จับได้จึงขอให้พระยามังรายมหาราชทรงตัดสินคดี โดยให้พระยาร่วงเสียค่าปรับ และให้ท� ำพิธีสาบาน เป็นไมตรีต่อกันระหว่างกษัตริย์ทั้งสามที่แม่น�้ ำอิง เมืองเชียงราย เรื่องนี้ในพงศาวดารน่าน ในประชุม พงศาวดาร ภาคที่ ๑๐ ปรากฏว่า พระยาง� ำเมืองทรงหยอกนางอั้วสิมว่าแกงใส่น�้ ำมากเกินไป นางอั้วสิม โกรธ แต่ไปได้เสียกับเจ้าเมืองปราดซึ่งเป็นโอรสกษัตริย์น่าน และต่อมาได้ครองเมืองน่านชื่อ พระยาผานอง จึงเห็นได้ว่า ผู้เป็นชู้กับนางอั้วสิมเป็นกษัตริย์น่านไม่ใช่พระยาร่วง อนึ่งน่าสังเกตว่า จารึกหลักที่ ๔๕ มีชื่อ พ่อง� ำเมืองอยู่ในชั้นพ่อหรือชั้นอาของพระมหาธรรมราชาที่ ๓ (ไสลือไทย) สมัยสุโขทัยนิยมน� ำชื่อปู่หรือตา มาตั้งเป็นชื่อหลาน ท� ำให้น่าเชื่อถือว่า กษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงองค์ใดองค์หนึ่งน่าจะได้แต่งงานกับธิดาของ พระยาง� ำเมือง จึงน� ำเอาชื่อบรรพบุรุษสายพะเยามาตั้งเป็นชื่อหลานในราชวงศ์พระร่วง พ.ศ. ๑๘๓๕ พระยามังรายทรงเชิญพระยาร่วงและพระยาง� ำเมืองมาปรึกษาเพื่อสร้างเมืองเชียงใหม่ พระยาง� ำเมืองและพระยาร่วงทรงปรารภว่า ที่จะสร้างเมืองกว้างและยาวสองพันวานั้น ภายหน้าอาจหา คนรักษาเมืองไม่ได้เพียงพอ พระยามังรายจึงลดขนาดเมืองเป็นยาวพันวากว้างเก้าร้อยวา พระยาง� ำเมืองสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๑๘๖๑ แต่บางต� ำนานว่า พ.ศ. ๑๘๔๑ ต� ำนานพื้นเมืองเชียงใหม่มีข้อความว่า พ.ศ. ๑๘๘๑ พระยาค� ำฟูแห่งล้านนาทรงตีพะเยาได้ ส่วน พระยาง� ำเมืองทรงหนีไปได้ แต่ต� ำนานฉบับอื่นว่า พระยาค� ำลือทรงหนีไป ซึ่งน่าจะถูกต้องกว่า เพราะถ้า พระยาง� ำเมืองยังอยู่ก็คงอายุร้อยปีแล้ว. บรรณานุกรม ประเสริฐ ณ นคร. งานจารึกและประวัติศาสตร์ของประเสริฐ ณ นคร. นครปฐม : โรงพิมพ์ศูนย์ส่งเสริม และฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก� ำแพงแสน, ๒๕๓๔. พระราชวิสุทธิโสภณ และคณะ. “ประวัติพระยาง� ำเมือง.” ใน ล้านนาไทย. เชียงใหม่ : ทิพย์เนตรการพิมพ์, ๒๕๒๗. (อนุสรณ์พระราชพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์). อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว. พื้นเชียงใหม่. เชียงใหม่ : ภาควิชาประวัติศาสตร์ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่, ๒๕๓๙. หนังสือจามเทวีวงศ์ จามเทวีวงศ์ เป็นต� ำนานว่าด้วยพงศาวดารเมืองหริภุญชัย หรือล� ำพูน พระโพธิรังษี พระภิกษุชาว ล้านนาแต่งเรื่องนี้เป็นภาษาบาลี เมื่อราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ หรือต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ท่านเป็น ผู้แต่งสิหิงคนิทานและในปริเฉทที่ ๘ ท่านได้กล่าวถึงพระเจ้าสามฝั่งแกน (ครองล้านนา พ.ศ. ๑๙๔๔– ๑๙๘๔) ว่ายังครองล้านนาอยู่จนถึงวันที่ท่านแต่งสิหิงคนิทาน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=