สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

109 อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร สมัยอยุธยา ใช้ค� ำขึ้นพระนามพระมหากษัตริย์ว่า สมเด็จ ส่วนค� ำว่า ขุน และพระยา ซึ่งเคยเรียก พระมหากษัตริย์กลายเป็นบรรดาศักดิ์ของข้าราชการในสมัยอยุธยา ขณะเดียวกันก็ได้ใช้ค� ำ ขุนหลวง เป็น ค� ำน� ำหน้าพระนามของพระมหากษัตริย์อยู่ด้วย เช่น ขุนหลวงพะงั่ว (ขุนหลวงพ่องั่ว คือ กษัตริย์ที่เป็น ลูกชายคนที่ ๕) เป็นพระนามของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (พ.ศ. ๑๙๑๒–๑๙๓๐) ขุนหลวงท้ายสระ เป็นพระนามของสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๙ (พ.ศ. ๒๒๕๑–๒๒๗๕) และขุนหลวงหาวัดเป็นพระนามของ สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (พ.ศ. ๒๓๐๑) ในสมัยธนบุรี ขุนหลวงตาก เป็นพระนามของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (พ.ศ. ๒๓๑๐–๒๓๒๕). บรรณานุกรม ด� ำราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. ลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ. พระนคร : โรงพิมพ์ มหาดไทย, ๒๕๐๒. ศิลปากร, กรม. พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา. กรุงเทพฯ : คลังวิทยา, ๒๕๑๖. พระยางั่วน� ำถุม พระยางั่วน� ำถุม เป็นกษัตริย์ครองเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัย พระนามปรากฏอยู่ในจารึกหลักที่ ๔๕ (พ.ศ. ๑๙๓๕) ซึ่งเป็นจารึกที่กษัตริย์สุโขทัยทรงท� ำสาบานกับกษัตริย์น่าน และมีข้อความอ้างถึงบรรพบุรุษ ของทั้งสองฝ่ายให้มาเป็นสักขีพยาน ในสมัยพ่อขุนรามค� ำแหงมหาราช (พ.ศ. ๑๘๒๒–ราว พ.ศ. ๑๘๔๑) ขุนเป็นกษัตริย์ของเมืองเล็ก ๆ ส่วนพ่อขุนเป็นกษัตริย์ของแคว้นใหญ่หรืออาณาจักรที่มีขุนมาอ่อนน้อมเป็น จ� ำนวนมาก ครั้นมาถึงสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไทย พ.ศ. ๑๘๙๐ ถึงระหว่าง พ.ศ. ๑๙๑๑–๑๙๑๗) นิยมเรียกกษัตริย์ว่า พรญา ในจารึกหลักดังกล่าว ปรากฏพระนามปู่ไสสงคราม ปู่พรญาเลอไทย (พ.ศ. ๑๘๔๑– ) ปู่พรญางั่วน� ำถุม ปู่พรญามหาธรรมราชาที่ ๑ ตามล� ำดับ จารึกหลักที่ ๔ (พ.ศ. ๑๙๐๔) มีข้อความเป็นภาษาเขมรว่า พ.ศ. ๑๘๙๐ พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ซึ่งขณะนั้นเป็นกษัตริย์ครองเมืองศรีสัชนาลัยอยู่) เสด็จน� ำพลพยุหเสนาทั้งหลายเข้าประหารศัตรู แล้วเข้า เสวยราชย์ในเมืองสุโขทัย ข้อความไม่ปรากฏชัดว่า พระยางั่วน� ำถุมทรงเป็นฝ่ายเดียวกับพระมหาธรรม ราชาที่ ๑ หรือไม่ ถ้าเป็นฝ่ายเดียวกันเมื่อพระยางั่วน� ำถุมเป็นกษัตริย์ ก็คงจะทรงสนับสนุนให้พระมหา ธรรมราชาที่ ๑ เป็นกษัตริย์ครองเมืองศรีสัชนาลัยใน พ.ศ. ๑๘๘๓ ดังปรากฏว่า พระมหาธรรมราชาที่ ๑ เมื่อเสวยราชย์ได้ย่างเข้า ๒๒ ปี จึงทรงพระผนวชใน พ.ศ. ๑๙๐๔ และเมื่อเสวยราชย์ในเมืองศรีสัชนาลัย ได้ย่างเข้า ๖ ปี จึงทรงพระนิพนธ์ไตรภูมิกถาในปีระกา พ.ศ. ๑๘๘๘ เมื่อพระยางั่วน� ำถุมสิ้นพระชนม์แล้ว พระโอรสของพระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์แทนพระมหาธรรมราชาที่ ๑ จึงเสด็จน� ำพลไปปราบ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=