สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
108 อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร การเฉลิมพระนามพระมหากษัตริย์ โดยใช้ค� ำท้ายขององค์แรกเป็นค� ำขึ้นต้นพระนามขององค์ต่อมา เช่น พีล่อโก๊ะ โก๊ะล่อฝง และฝงกาอี ก็ไม่ใช่ประเพณีของไทย แต่เป็นของโล่-โล้ เรื่องขุนบรมจึงไม่น่าเกี่ยวข้อง กับอาณาจักรเทียน และอาณาจักรน่านเจ้าในเอกสารประวัติศาสตร์แต่อย่างใด. บรรณานุกรม ขจร สุขพานิช. “ถิ่นก� ำเนิดและแนวอพยพของเผ่าไทย.” ใน แถลงงาน ประวัติศาสตร์ เอกสาร โบราณคดี. ปีที่ ๔ เล่ม ๑. พระนคร, ๒๕๑๓. พิทูร มลิวัลย์. พื้นขุนบูรมราชาธิราช กฎหมายธรรมศาสตร์ขุนบูรม ปีและศกไทยโบราณ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๓๐. วิจิตรมาตรา, ขุน (สง่า กาญจนาคพันธุ์). หลักไทย. พระนคร : โอเดียนสโตร์, ๒๕๐๖. วีณา โรจนราธา. “ขุนบรม.” ใน อักขรานุกรมประวัติศาสตร์ไทย อักษร ข. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ยูไนเต็ด โปรดักชัน, ๒๕๒๗. ศิลปากร, กรม. ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑. พระนคร : กองการพิมพ์สลากกินแบ่งรัฐบาล, ๒๔๙๙. . ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๗๐. พระนคร : โรงพิมพ์คุรุสภา, ๒๕๑๓. สิลา วีระวงส์. พงศาวดารลาว. ประเทศลาว : กระทรวงศึกษาธิการลาว, ๒๕๐๐. ขุนหลวง ขุนหลวง เป็นค� ำขึ้นต้นพระนามของพระมหากษัตริย์ที่ใช้อยู่ในสมัยอยุธยาและสมัยธนบุรี ค� ำว่า ขุนหลวง ประกอบด้วยค� ำ ขุน ซึ่งเดิมเป็นค� ำน� ำพระนามของพระมหากษัตริย์ หลวง คือ ใหญ่ และของ ผู้เป็นใหญ่ คือ พระมหากษัตริย์ เช่น วังหลวง รถไฟหลวง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด� ำรง ราชานุภาพทรงนิพนธ์ไว้ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่า ขุนหลวง เป็นพระนามที่ ราษฎร เรียกพระมหากษัตริย์เมื่อล่วงรัชกาลไปแล้ว สมัยสุโขทัย ในระยะเริ่มแรกถึงสมัยพ่อขุนรามค� ำแหงมหาราช นิยมเรียกกษัตริย์ หรือเจ้าเมืองว่า ขุน เรียกพระมหากษัตริย์ว่า พ่อขุน ซึ่งแปลได้ว่า หัวหน้า หรือผู้เป็นใหญ่เหนือขุน คือมีขุนมาอ่อนน้อม เป็นจ� ำนวนมาก เทียบได้กับแม่ทัพ ซึ่งแปลว่า หัวหน้าหรือผู้เป็นใหญ่ของทัพ ต่อมาถึงสมัยพระยาลิไทย (พ.ศ. ๑๘๙๐–ประมาณ พ.ศ. ๑๙๑๑) นิยมเรียกพระมหากษัตริย์ว่า พระยา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=