สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
107 อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร องค์ที่ ๗ เจ็ดเจิง ไปครองเมืองพวน (พงศาวดารลาวว่าเชียงขวาง) ศาสตราจารย์ขจร สุขพานิช สันนิษฐานว่า เมืองฟ้าของพระยาแถน คืออาณาจักรเทียนในประเทศ จีน ส่วนขุนวิจิตรมาตรา สันนิษฐานว่า เมืองฟ้าของพระยาแถน คือเมืองหนองแถนในอาณาจักรน่านเจ้า ขุนบรมคือพีล่อโก๊ะ กษัตริย์องค์ที่ ๕ ของไทยเมือง เสวยราชย์เมื่อ พ.ศ. ๑๒๗๑ พื้นขุนบูรมราชาธิราช เป็นหนังสือปริวรรตโดยนายพิทูร มลิวัลย์ จากต้นฉบับของกรมวรรณคดี ลาว พ.ศ. ๒๕๑๐ ซึ่งเขียนในรูปโคลงสาร มีข้อความตรงกันกับนิทานเรื่องขุนบรม ในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๗๐ ทั้ง ๒ ฉบับ มีข้อความไม่สมบูรณ์เหมือนพงศาวดารเมืองล้านช้าง ตาม พงศาวดารลาว ของมหาสิลา วีระวงส์ ขุนบรมราชาธิราช คือพีล่อโก๊ะ ครองหนองแสหรือเมือง แถน พ.ศ. ๑๒๗๒ เมื่อพระชันษาได้ ๓๒ ปี อีก ๒ ปีต่อมาย้ายเมืองหลวงไปอยู่นาน้อยอ้อยหนู หรือเมือง กาหลง คือเชียงรุ่งในสิบสองปันนา และยกไปตีได้และครองเมืองต้าหอ (น่าจะสันนิษฐานว่า เต้อหง หรือ ใต้คง ของพวกไทยเมา ในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน) และให้ขุนลอ (โก๊ะล่อฝง) ครองเมืองกาหลงแทน ขุนบรมสิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. ๑๒๙๓ จากเรื่องเล่าเหล่านี้ สันนิษฐานว่า ในอดีตน่าจะมีกษัตริย์ไทยองค์หนึ่งซึ่งทรงพระปรีชาสามารถทาง ด้านการเมืองการปกครองเหนือดินแดนบางส่วนของประเทศลาว เวียดนาม จีน และไทยในปัจจุบัน จึงมี ต� ำนานเล่าขานกันมาในไทยเผ่าต่าง ๆ โดยมิได้จดเวลาไว้ให้แน่ชัด บางเผ่ากล่าวถึงพระเจ้าพรหมมหาราช ซึ่งเทียบเสียงตามหลักภาษาศาสตร์ กลุ่มไทยที่ออกเสียงพยัญชนะควบกล�้ ำไม่ได้ก็จะออก “พรหม” เป็น “บูลม” ไปได้ เป็นไปได้ว่าท้าวฮุ่งหรือพระยาเจือง ก็อาจเป็นบุคคลเดียวกันนี้ เพราะต� ำนานพระเจ้าพรหม กับพระยาเจืองต่างก็ไปจับช้างที่ลอยตามแม่น�้ ำโขงเป็นตัวที่ ๓ ได้ และต้องเอาพางค� ำไปตีเรื่องช้างขึ้นมา บนฝั่ง ซึ่งได้ชื่อว่า ช้างพางค� ำตรงกัน แต่ศักราชที่อ้างถึงก็อาจจะแตกต่างกันไปเพราะเป็นเรื่องเล่าด้วยปาก สืบต่อกันมา ส่วนข้อสันนิษฐานทางวิชาการบางเรื่องขาดหลักฐานทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์และ ชาติพันธุ์วิทยาสนับสนุน เช่น ทฤษฎีของศาสตราจารย์ขจร สุขพานิช ไม่มีเค้าเงื่อนอย่างไรว่าอาณาจักร เทียนแถบทะเลสาบเทียนในมณฑลยูนนานทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เป็นอาณาจักรของคนไทย แต่จีน มีหลักฐานเป็นบันทึกว่ากษัตริย์ของเทียนสืบเชื้อสายมาจากแม่ทัพสมัยราชวงศ์ฉู่ ซึ่งยกทัพมารุกราน ยูนนานราวพุทธศตวรรษที่ ๑ แล้วอยู่ปกครองเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ ในท้องถิ่นนั้น ๆ จนถึง พ.ศ. ๔๓๕ จึงยอม อ่อนน้อมต่อกองทัพราชวงศ์ฮั่นยอมเป็นประเทศราช อีกศตวรรษหนึ่งต่อมาอาณาจักรเทียนล่มสลายลง รูปแบบศิลปกรรมและวัฒนธรรมของเทียนที่พบในเขตสือไจ้ซานเป็นลักษณะของตนเอง โดยเฉพาะ ไม่ละม้ายของไทย แต่บางอย่างคล้ายของจีนเพราะเลียนแบบจากราชวงศ์ฉู่และราชวงศ์ฮั่น และบางอย่าง เป็นของจีนแท้ ๆ เพราะได้รับเป็นของขวัญหรือซื้อขายแลกเปลี่ยนกับจีน ส่วนข้อสมมติฐานเรื่องอาณาจักรน่านเจ้าของขุนวิจิตรมาตรานั้น นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่รับแล้ว ว่า ชนชั้นปกครองเป็นพวกโล่-โล้ คนไทยอาจเป็นประชากรของอาณาจักรเผ่าพันธุ์หนึ่งเท่านั้น ทั้งประเพณี
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=