สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
104 อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ของคนไทย ไทยเผ่าต่าง ๆ ในประเทศไทย ประเทศลาว ประเทศพม่า และประเทศจีนจึงเล่าขานสืบกัน มา แต่เนื่องจากมิได้จดบันทึกไว้ ศักราชจึงคลาดเคลื่อนกันไป ต� ำนานพื้นเมืองสิบสองพันนาว่าสิ้นพระชนม์ พ.ศ. ๑๖๓๖ ต� ำนานพื้นเมืองพะเยา ประสูติ พ.ศ. ๑๕๘๒ สิ้นพระชนม์ พ.ศ. ๑๖๖๐ จดหมายเหตุโหร พ.ศ. ๑๖๑๖–๑๖๙๓ ต� ำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. ๑๖๑๗–๑๖๙๔ ต� ำนานพระยาเจือง พ.ศ. ๑๖๒๕– ๑๗๐๕ พงศาวดารเงินยางเชียงแสน พ.ศ. ๑๖๓๑–๑๗๐๕ พงศาวดารโยนก พ.ศ. ๑๖๔๒–๑๗๑๙ ล� ำดับ เจ้าแผ่นดินแสนหวี (เชียงรุ่ง) สิ้นพระชนม์ พ.ศ. ๑๗๒๓ ต� ำนานสิงหนวัติ พ.ศ. ๑๖๕๖–๑๗๓๕ ตามพงศาวดารเงินยางเชียงแสน กล่าวว่า ขุนเจืองเป็นโอรสของขุนจอมธรรม ประสูติที่เชียงราย หรือพะเยาหรือฝาง (ฝางหรือชัยปราการอยู่บริเวณเมืองเชียงราย ดังมีบันทึกของพม่าเมื่อมาปกครองล้านนา ว่า ระยะทางจากเชียงใหม่ถึงเชียงรายมีจ� ำนวนกิโลเมตรเท่ากับระยะทางจากเชียงใหม่ถึงชัยปราการ) มีช้างพางค� ำเป็นช้างส� ำคัญในการรบ ได้อภิเษกสมรสกับลูกสาวเจ้าเมืองแพร่ และเจ้าเมืองน่าน ได้ครอง พะเยา ๖ ปี แล้วไปช่วยพระยาชื่นซึ่งเป็นลุงที่เมืองเงินยางเชียงแสนชนช้างชนะแกว คือ ท้าวกวาและแองกา ที่เงินยางเชียงแสน ขุนเจืองได้อภิเษกสมรสกับธิดาของพระยาชื่นทั้งสองคน ญาติพระยาแกวที่มาช่วยรบ มีพระยาจันทบุรี (เวียงจันทน์) และพระยาแกวอยู่เมืองปะกัน เมืองนี้ มหาสิลา วีรวงส์ว่า เชียงขวาง ส่วน จิตร ภูมิศักดิ์ว่า เมืองบั๊กกาน ในเวียดนาม ขุนเจืองได้ครองเมืองหิรัญเงินยางเมื่อมีพระชนมายุ ๒๔ พรรษา และได้ประกาศไปว่ายินดีจะชนช้าง กับใครก็ได้ที่มาท้ารบ ต่อมาอีก ๕๐ ปี พระยาแมนตาตอกขอกฟ้าตายืน ซึ่งอยู่ในมณฑลยูนนานมาท้า ชนช้างกับขุนเจือง ขุนเจืองรู้ว่าจะสู้ไม่ได้ จึงมอบเมืองต่าง ๆ ให้โอรส ๕ องค์ครอง แล้วไปชนช้างกับพระยา แมนตาตอกขอกฟ้าตายืน จนสิ้นพระชนม์ในที่รบ เจ้าสายเมือง เจ้าชายแห่งเชียงตุงเล่าว่า ขุนเจืองเป็นกษัตริย์ของไทยใหญ่ ยกไปรบกับเมืองแมนตาตอก คือเมืองเต็งยู (Tengyueh) หรือเต็งจุง (Teng Chung) อยู่ในยูนนาน ห่างจากบามอ (บ้านหม้อ) ในพม่าไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ๑๕๐ กิโลเมตร เชียงรุ่งถือว่าขุนเจืองเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่จดไว้ในประวัติศาสตร์ของเขาว่า สิ้นพระชนม์ พ.ศ. ๑๗๒๓ พวกข่าถือว่าขุนเจืองเป็นผู้ปลดแอกให้ข่าเป็นอิสระ และในอนาคตยังจะเกิดมาช่วยพวกข่าอีก ขบถ ข่าศึกเจืองที่เชียงขวางในประเทศลาวเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๖ ก็อ้างตนว่าเป็นขุนเจืองมาเกิดใหม่ ท� ำให้ทัพไทย ต้องยกไปปราบ มหากาพย์ท้าวฮุ่งท้าวเจืองเป็นวรรณกรรมชิ้นเอกของประเทศลาว แต่งเป็นโคลงสี่ ใช้ภาษาโบราณ มาก ต้นฉบับที่สมบูรณ์ที่สุดหอสมุดแห่งชาติอาจจะได้รับมาจากเชียงขวางเมื่อสมัยขบถข่าศึกเจือง มหากาพย์เรื่องนี้มีประโยชน์มากในการศึกษาวรรณกรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยสมัยโบราณ เดิมน่าจะเป็นวรรณกรรมจากล้านนาที่เผยแพร่เข้าไปในประเทศลาว เพราะเป็นเรื่องวีรกรรมของกษัตริย์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=