สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

102 อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร เจมส์ เอช. ดับเบิ้ลยู. ทอมป์สัน, มูลนิธิ. จารึกล้านนาภาค ๑ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ, ๒๕๓๔. (จัดพิมพ์ใน วโรกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระชนมายุครบ ๓ รอบ พุทธศักราช ๒๕๓๔). ขุน “ขุน” เดิมเป็นต� ำแหน่งเจ้าหรือผู้ปกครองแคว้นสมัยสุโขทัย ต่อมาในสมัยอยุธยา ขุนเป็นต� ำแหน่ง ยศขุนนางตามล� ำดับดังนี้ พระยา พระ หลวง ขุน และหมื่น ในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ ขุนเป็นล� ำดับ ฐานันดรศักดิ์ของขุนนางตามล� ำดับดังนี้ สมเด็จเจ้าพระยา เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน หมื่น และจ่า ในสมัยสุโขทัย ขุนเป็นต� ำแหน่งเจ้า หรือผู้ปกครองนครหรือแคว้น เช่น ขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ส่วนพ่อขุนเป็นกษัตริย์ผู้ปกครองอาณาจักรใหญ่ มีขุนมาขึ้นด้วยจ� ำนวนมาก เช่น พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พ่อขุนรามค� ำแหง ต่อมาในสมัยอยุธยา ขุนกลายมาเป็นยศขุนนาง ดังปรากฏในกฎมนเทียรบาล สมัยสมเด็จ พระบรมไตรโลกนาถ ตราขึ้นราว พ.ศ. ๒๐๑๑ มาตรา ๑๐๑ ความว่า “ถ้าแลมีพระราชฎีกาด� ำเนิร มีตรา ขุนอินทราทิตยน� ำ ถ้าพระราชเสาวนีด� ำเนิร ตราขุนอินทราทิตยน� ำ” อย่างไรก็ตาม ยศขุนในสมัยอยุธยามี ศักดินาแตกต่างกันไปตามต� ำแหน่งที่ด� ำรง เช่น ที่ปรากฏในพระไอยการต� ำแหน่งนาพลเรือนซึ่งตราขึ้นใน สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเช่นกัน ขุนราชนิกุลนิตยภักดี ต� ำแหน่งปลัดทูลฉลองกรมมหาดไทย นา ๑๐๐๐ ขุนราชพินิจใจ ต� ำแหน่งราชปลัดถือพระธรรมนูญ นา ๘๐๐ ขุนพินิจอักษร ต� ำแหน่งเสมียน ตรา นา ๖๐๐ ขุนแก้ว ต� ำแหน่งเจ้ากรมช่างดอกไม้เพลิงขวา นา ๓๐๐ ขุนไฉนไพเราะ ต� ำแหน่งพนักงาน ปี่พาทย์ นา ๒๐๐ ล� ำดับฐานันดรศักดิ์ ขุนนางในสมัยรัตนโกสินทร์ ตามที่ปรากฏในพระราชก� ำหนดใหม่ พ.ศ. ๒๓๒๖ กฎหมายตราสามดวง กฎข้อ ๔ ลงวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๒๖ ระบุล� ำดับฐานันดรศักดิ์ของขุนนางไว้ ดังนี้ “…เจ้าพญา แลพญา พระ หลวง เมือง เจ้าราชนิกุล ขุน หมื่น พัน ทนาย ฝ่ายทหาร ฝ่ายพลเรือน…” ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติศักดินา ขุนหมื่นนายเวรเสมียร ลงวันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๕ มาตรา ๑ ระบุว่า “บันดาขุนหมื่นในกระทรวง ต่าง ๆ ที่รับประทวนเจ้ากระทรวงตั้ง ยังไม่ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร ฤๅยังมิได้ก� ำหนดศักดินา ในพระราชก� ำหนดกฎหมาย ขุนให้ถือศักดินา ๔๐๐ ไร่ เป็นอย่างสูง ๓๐๐ ไร่ เป็นอย่างต�่ ำ... ตามแต่ เจ้ากระทรวงจะก� ำหนดตั้งในประทวน” หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ และประกาศใช้รัฐธรรมนูญแล้ว ไม่มีการแต่งตั้ง บุคคลให้ด� ำรงบรรดาศักดิ์ขุนนางตามระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อีก และในที่สุด ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ยกเลิกบรรดาศักดิ์ ตามประกาศเรื่องการยกเลิก บรรดาศักดิ์ ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ ให้ยกเลิกบรรดาศักดิ์อันมีราชทินนาม เป็น เจ้าพระยา

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=