สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

101 อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ข้าพระ ข้าพระ คือคนที่มีผู้อุทิศให้แก่วัด เพื่อรักษาวัด พระพุทธรูป และอุปัฏฐากพระสงฆ์ เป็นต้น ในปัจจุบันไม่มีข้าพระแล้ว จารึกหลักที่ ๑๐๗ จังหวัดแพร่ พ.ศ. ๑๘๘๒ เจ้าเมืองตรอกสลอบอุทิศ “คนครอกหนึ่งให้ดูพระ” จารึกหลักที่ ๙ จังหวัดสุโขทัย พ.ศ. ๑๙๐๒ พระมหาธรรมราชาลิไทยไปรบเมืองแพร่ แล้วเอา “คนสิบห้า เรือน” อุทิศให้วัดป่าแดง ศรีสัชนาลัย จารึกหลักที่ ๓๘ จังหวัดสุโขทัย พ.ศ. ๑๙๔๐ กล่าวถึง ข้าชีบา พระอุปัธยาจารย์ ค� ำว่า “ข้าพระ” ปรากฏในจารึกผ้าขาวทอง จังหวัดสุโขทัย พ.ศ. ๑๙๖๕ ว่า ชีปะขาวชื่อทองอุทิศ เมียและลูกเป็นข้าพระ ค� ำ “ข้าพระ” ยังปรากฏในจารึกหลักที่ ๑๐๐ จังหวัดพะเยา พ.ศ. ๒๐๓๕ ว่า “พระมหาราชเทวีเจ้าให้คนขอครัวรักษาพระพุทธรูป และพระมหาเถรเจ้า ใครอย่ารบกวนข้าพระเหล่านี้” และค� ำ “ข้าพระ” ปรากฏในจารึกเชียงราย ๕ พ.ศ. ๒๐๔๕ ว่า “เจ้าพันนาหวังให้ลูกเป็นข้าพระ ถ้าเขา อยู่ไม่ได้ให้เอาเงินค่าตัวไปไถ่ได้” ส่วนจารึกวัดจุฬามณี จังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. ๒๒๒๓ ว่า “พระราชทาน ข้าพระไว้ส� ำหรับพระอาราม ข้าพระได้แตกฉานซ่านเซ็นไป จึงถวายคนใหม่แทนตามเดิม ถ้าผู้ใดเอาไปใช้ ราชการหรือท� ำเรื่องอื่น ขอให้ไปตกนรก” ตามศิลาจารึก ปรากฏว่า มีการอุทิศคน หุงจังหัน และตีระนาดบ� ำเรอพระพุทธรูป เฝ้าอุโบสถ พระอาราม และพระศรีรัตนธาตุ จารึกหลักที่ ๑๐ จังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. ๑๙๔๗ ว่า ผู้ที่ถูกอุทิศให้วัด จะต้องท� ำหน้าที่ในศาสนาไป ตลอดจนถึงลูกหลานเหลนสืบสายไป ข้อความอย่างเดียวกันปรากฏในจารึกหลักที่ ๗๓ จังหวัดล� ำพูน พ.ศ. ๒๐๕๕ จารึกหลักที่ ๖๙ จังหวัดเชียงราย พ.ศ. ๒๐๓๙ ว่า “พระเจ้าแผ่นดินอุทิศคน ๑๐ ครัวปลงอาชญา ให้ ‘หลาบค� ำ’ (สุพรรณบัฏ) ไว้” จารึกหลักที่ ๑๐๔ จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๐๙๙ ว่า “ห้ามมิให้น� ำข้าพระไปท� ำศึก แม้ข้าศึกมา ประชิดเมืองก็จะเกณฑ์ข้าพระไปรักษาเมืองไม่ได้ อย่าเรียกเก็บส่วยไร อย่าให้ไปราชการทางน�้ ำทางบก อย่าเกณฑ์ให้เกี่ยวหญ้าช้างม้า” จารึกหลักที่ ๙๒ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๓๐๑ กล่าวถึง ข้าพระ ในกฎหมายตราสามดวง พ.ศ. ๒๓๔๗ ก็กล่าวถึงข้าพระในพระราชก� ำหนดเก่าข้อ ๘. บรรณานุกรม คณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ ส� ำนักนายกรัฐมนตรี. ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๔. พระนคร : โรงพิมพ์ส� ำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, ๒๕๑๓.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=