สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

33 สารานุกรมการเมืองการปกครองไทย เล่ม ๑ รัฐบาลได้ด� ำเนินการปราบกบฏอย่างเด็ดขาด ท� ำให้มีทหารล้มตายหลายคน รวมทั้งพันเอก พระยา ศรีสิทธิสงครามซึ่งตายในที่รบ รัฐบาลได้ตั้งศาลพิเศษขึ้นเมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ เพื่อด� ำเนิน คดีกับพวกกบฏ และได้ออกพระราชบัญญัติป้องกันรัฐธรรมนูญขึ้นด้วย กบฏบวรเดชจัดเป็นความพยายามในการก่อการครั้งแรกที่เกิดการนองเลือด เนื่องจากคณะกู้บ้าน กู้เมืองมีพลเอก พระองค์เจ้าบวรเดชเป็นหัวหน้า จึงมีการกล่าวหาว่าคณะกู้บ้านกู้เมืองเป็นพวกนิยมเจ้า ต้องการรื้อฟื้นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และล้มล้างระบอบประชาธิปไตย แต่จากค� ำขาดของคณะ กู้บ้านกู้เมืองและบันทึกของผู้ร่วมก่อการชี้ให้เห็นว่าการกบฏเกิดจากความไม่พอใจของทหารชนผู้น้อยใน ต่างจังหวัด เกี่ยวกับการที่ทหารและข้าราชการเข้าไปมีบทบาททางการเมือง และความไม่พอใจคณะราษฎร โดยเฉพาะการที่หลวงประดิษฐ์มนูธรรมยังคงมีบทบาทส� ำคัญในคณะรัฐบาลอยู่. (ชัยอนันต์ สมุทวณิช) บรรณานุกรม ชัยอนันต์ สมุทวณิช. ๑๔ ตุลา : คณะราษฎรกับกบฏบวรเดช. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์, ๒๕๑๗. ว.ช. ประสังสิต. ปฏิวัติ รัฐประหาร และกบฏจลาจล. พระนคร : โรงพิมพ์บริษัทรัฐภักดี, ๒๔๙๒. นิคม จารุมณี. “กบฏบวรเดช.” วิทยานิพนธ์ปริญญาโทสาขาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๑๐. โหมรอนราญ, ร.อ. หลวง. เมื่อข้าพเจ้าก่อการกบฏ. ม.ป.ท., ม.ป.ป.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=