สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
17 อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ศาสตราจารย์ ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช อดีตนายกราชบัณฑิตยสถาน วันศุกร์ที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นวันที่ศาสตราจารย์ ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ได้ถึงแก่ อนิจกรรมด้วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ นับเป็นวันที่ราชบัณฑิตยสภาต้องสูญเสีย ทรัพยากรบุคคลอันล้้าค่าไปอีกคนหนึ่ง หลังจากได้สูญเสียทรัพยากรบุคคลระดับนายกราชบัณฑิตยสถานไปแล้ว ๗ คน คือ วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ เป็นวันสูญเสีย ศาสตราจาร์ พระยาอนุมานราชธน ขณะด้ารงต้าแหน่ง รักษาการนายกราชบัณฑิตยสถาน วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นวันสูญเสีย ศาสตราจารย์ สุกิจ นิมมานเหมินท์ ขณะด้ารงต้าแหน่งรักษาการนายกราชบัณฑิตยสถาน วันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นวันสูญเสีย พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ขณะด้ารงต้าแหน่งนายกราชบัณฑิตยสถาน (ครั้งที่ ๒) วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นวันสูญเสีย ศาสตราจารย์ ดร.เสริม วินิจฉัยกุล ขณะด้ารงต้าแหน่งนายก ราชบัณฑิตยสถาน วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นวันสูญเสีย พลโท พระยาศัลวิธานนิเทศ ขณะด้ารง ต้าแหน่งนายกราชบัณฑิตยสถาน วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นวันสูญเสีย ศาสตราจารย์ พันโท ดร.บุญพฤกษ์ จาฏามระ อดีตนายกราชบัณฑิตยสถาน และวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นวันสูญเสีย ศาสตราจารย์ ดร.ประยูร กาญจนดุล อดีตนายกราชบัณฑิตยสถาน ทรัพยากรบุคคลเหล่านี้ล้วนเป็นก้าลังส้าคัญที่ ได้สร้างผลงานทางวิชาการอันล้้าค่าให้แก่ราชบัณฑิตยสถานหรือราชบัณฑิตยสภาในปัจจุบัน และแก่ประเทศชาติ การสูญเสียทรัพยากรบุคคลดังกล่าว จึงนับเป็นการสูญเสียครั้งส้าคัญ ศาสตราจารย์ ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ได้ท้างานทั้งด้านบริหารและด้านวิชาการมามาก ก่อนมา สมัครเป็นภาคีสมาชิกของส้านักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน และได้รับพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นราชบัณฑิต ประเภทสังคมศาสตร์ เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๔ นับจากนั้นมา ท่านได้ทุ่มเทพลังสติปัญญาและพลังกายใจให้แก่การสร้างสรรค์ผลงานทั้งด้านบริหารและด้าน วิชาการให้แก่ราชบัณฑิตยสถานมาโดยสม่้าเสมอ ในด้านงานบริหารของราชบัณฑิตยสถาน ศาสตราจารย์ ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ได้รับเลือกจาก สภาราชบัณฑิต ซึ่งเป็นการประชุมร่วมกันระหว่างราชบัณฑิตทั้ง ๓ ส้านัก คือ ส้านักธรรมศาสตร์และการเมือง ส้านักวิทยาศาสตร์ และส้านักศิลปกรรม ให้เป็นอุปนายกราชบัณฑิตยสถาน คนที่ ๑ ติดต่อกัน ๒ วาระ (วาระละ ๒ ปี) ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๔๘ และได้รับเลือกจากสภาราชบัณฑิตให้เป็นนายกราชบัณฑิตยสถาน ๒ วาระ ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๔๘ - ๒๕๕๒ ผลงานด้านบริหาร ตั้งแต่ครั้งท่านด้ารงต้าแหน่งอุปนายกราชบัณฑิตยสถานคนที่ ๑ ท่านได้เป็น ประธานคณะกรรมการส่งเสริมกิจการราชบัณฑิตยสถานซึ่งเป็นคณะกรรมการตามพระราชบัญญัติ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=