สำนักราชบัณฑิตยสภา

ราชบัณฑิตยสภา 77 พลิกการศึกษากลับ ครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ต้องฝึกสอนในห้องเรียน เราต้องให้เด็กของเราไปอยู่ที่โรงเรียน ให้อยู่ ในสถานที่จริง หลักสูตรที่เราสร้างขึ้นมาเราสร้างจากส่วนกลาง ๗๐–๓๐ แนวคิดเดิม อันนี้ก็ไม่มีประโยชน์ เพราะ ๗๐–๓๐ ก็ยังเหมือนเดิมเราต้องให้เค้าเป็น ๓๐–๗๐ ให้ส่วนกลาง ๓๐ เอกชน ๗๐ ชุมชนจะเกิดขึ้นได้ วิสาหกิจก็อยู่ที่ชุมชนและชุมชนต่างคนต่างจัดการศึกษา ต่างคนต่างจัดยังไงก็ท� ำไป ชุมชนอยากท� ำอะไรก็ให้ ท� ำไป แต่มีแกนกลางการศึกษาอยู่ สิ่งนี้ผมว่าจ� ำเป็นเราต้องคิดไปในแนวนั้นให้ได้ วิธีคิดเราต้องพลิกกลับ ถ้า เราคิดแบบเดิมก็ยังเป็นอยู่แบบเดิม เราต้องพัฒนาความฉลาดรู้ให้จริงจังถึงขั้นประกันให้ได้ว่าบัณฑิตครุศาสตร์ จะต้องสามารถรับประกันให้แก่สังคมได้อย่างชัดเจน สิ่งนี้ส� ำคัญมาก ต้องเชื่อมโยงการบูรณาการให้บัณฑิต ครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์สามารถไปสร้างสรรค์พัฒนาสังคมได้ โดยต้องให้เข้าสู่สังคมตั้งแต่ยังอยู่ระหว่าง เรียน ถ้าอยู่ในครุศาสตร์ตลอดก็ไม่มีประโยชน์ ต้องให้เขาอยู่ข้างนอกด้วย เข้าคณะครุศาสตร์ไม่ต้องถึงครึ่งหนึ่ง นอกนั้นให้เขาอยู่ในชุมชน อีกสิ่งหนึ่งคือเราต้องพัฒนาบัณฑิตให้เป็นผู้น� ำให้ได้ ต้องฝึกให้รู้จักฉลาดรู้ในการ เป็นผู้น� ำ ฝึกความเป็นผู้น� ำตั้งแต่เริ่มเรียน อาจารย์ผู้สอนก็ต้องฝึกความเป็นผู้น� ำก่อน หลักการเรียนรู้ในความ เป็นผู้น� ำต้องเพียงพอ ถึงเวลาแล้วที่ชาวครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์จะต้องเหนื่อย หนัก นัวอีกครั้ง เหนื่อย คือเหนื่อยที่เราต้องท� ำ หนักคือท� ำงานหนัก นัวคือต้องวุ่นวาย สับสนกันอีกครั้งหนึ่ง ผมคิดว่าผมใช้เวลามา พอสมควรแล้วก็อยากจะจบด้วยข้อความนี้ “ถ้าท� ำแม้จะยากเราต้องท� ำได้ เว้นแต่เราจะไม่ท� ำก็ไม่มีใครว่าอะไรท่านได้ แต่ท่านจะเอาหน้าไปไว้ที่ไหน ถ้ามีคนถามท่านว่า ท่านได้ท� ำอะไรเกี่ยวกับวิชาชีพครูบ้าง ท่านอาจบอกว่ายากเกินไป แต่ภูเขาสูงยังอยู่ใต้อุ้งเท้าของผู้มีความพยายาม” ค� ำถาม–ค� ำตอบหลังการบรรยาย ข้อเสนอแนะในการเรียนรู้จากชุมชนรอบตัว ควรท� ำอย่างไร เราต้องไปหาชุมชน ต้องให้เด็กออกไปสู่ชุมชน ออกไปเรียนรู้ สวมบทบาท ให้เด็กออกไปอยู่ในชุมชน ให้มากแล้วกลับมาพูดคุยกัน อันนั้นจะดีกว่า ไม่งั้นเค้าก็อยู่ในโรงเรียนอยู่ในบรรยากาศแบบเดิม ยิ่งเวลาฝึกสอน พอเด็กจบ เราให้เด็กฝึกสอนส่งปี ๑ มาเข้าโรงเรียนเลย เราต้องคิดกันใหม่ เราอยากรู้อะไรเราต้องไปสู่สิ่งนั้น เราอยากรู้ว่าชุมชนเป็นอย่างไร เราก็ไปสู่ชุมชนนั้น ถ้าอยากให้เด็กมีความเป็นผู้น� ำก็ฝึกให้เป็นผู้น� ำ การเรียน การสอนที่แท้จริงคือการที่ให้เด็กสัมผัสสิ่งนั้นจริง เช่น เราจะฝึกเค้าให้มีความคิดเชิงวิพากษ์ (critical thinking) เราต้องฝึกให้เด็กคิดบ่อย ๆ ความรู้สึกผมคือว่า literacy จะเกิดขึ้นได้เมื่อเผชิญหรืออยู่กับสิ่งนั้นโดยตรง ถ้าเราไม่อยู่กับสิ่งนั้น ก็ยากจะฝึกสิ่งนั้นขึ้นมาได้ ถ้าเราต้องการให้เด็กเข้าใจ ต้องการให้พ่อแม่รักลูก ก็ต้อง ให้พ่อแม่อยู่กับลูก ปัจจุบันนี้การศึกษาต่างคนต่างจัด เพราะฉะนั้น เวลาที่คณะครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=