สำนักราชบัณฑิตยสภา

ราชบัณฑิตยสภา 74 ๑. digitalization เราไม่มีทางเลี่ยงอยู่แล้ว ศึกษาศาสตร์ต้องเจอปัญหานี้ เทคโนโลยีเปลี่ยนมากและ เปลี่ยนเร็ว กระทบไปทั่ว น� ำไปสู่โลกของ commercialization ๒. individualization เมื่อเป็นดิจิทัล คนมีลักษณะเฉพาะของตัวเอง globalization จึงเกิดขึ้น แต่ทีนี้ globalization 1 หายไปแล้ว เริ่มเกิด globalization 2 เกิด globalization กลายเป็น urbanization ซึ่ง urbanization จะตามมาด้วย individualization ที่ส� ำคัญคือเราก� ำลังสู่ยุคของ VUCA world คือ โลกที่ไม่แน่นอน ที่ท� ำให้เราไม่สามารถ คาดคะเนการศึกษาได้ถูกต้องแน่นอน คนรุ่นใหม่กับการเรียนรู้ใหม่ ต่อไปเป็นเรื่องของคนรุ่นใหม่กับการศึกษาใหม่ขึ้นตามที่เป็นอยู่ ข้อแรกปัจจุบันนี้เด็กเป็นตัวของตัวเอง ไม่ฟังใคร ไม่เชื่อใคร ท� ำงานด้วยตัวเอง คิดเอง เรียนรู้เอง เด็กน� ำเครื่องมือ ๔.๐ มาใช้ในยุค ๕.๐ ซึ่ง ๕.๐ คือ การใช้เครื่องมือ ใช้นวัตกรรม ๔.๐ การศึกษาหลากหลายมากตามความสนใจเฉพาะกลุ่ม โรงเรียนนานาชาติ โรงเรียนชนเผ่า โรงเรียนสมัชชา เป็นการศึกษาที่ต่างคนต่างจัดและเลือกเรียนตามที่พอใจ เรียนกันเอง เรียนรู้ จากผู้เชี่ยวชาญ ไปหาคนเรียนได้ ไปหาคนสอนได้ ไม่ต้องมารอครูน� ำความรู้ทางการศึกษาไปใช้ประโยชน์ ใครสอนได้ในบทเรียนนั้นก็เรียนด้วย โรงเรียนก� ำลังจะหายไป เพราะว่าคนรุ่นใหม่ไม่ต้องการพึ่งโรงเรียน ไม่ต้อง พึ่งครู การศึกษาก� ำลังจะเป็นเรื่องของในระบบจะมีการเรียนการสอนน้อย เชื่อว่าในอนาคตโรงเรียนต้องหายไป ข้อด้อยของครุศึกษา ทั้งที่ครุศึกษาได้รับความเชื่อถือมานานพอสมควร แต่ยังมีข้ออ่อนด้อยอีกมาก ครุศึกษาถูกมองว่าเป็น วิชาชีพที่ไม่เข้มแข็ง ไม่เข้มข้นเท่าที่ควร อาจารย์ผู้สอนมักเป็นผู้สอนที่ถูกติว่าอ่อนแอ ไม่เข้มแข็งทางวิชาการ แต่ใจดี แจก A ตลอด เวลารับปริญญา คณะครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ เกียรตินิยมมากมาย ไม่ตอบโจทย์ ทางสังคมการศึกษา ไม่แก้ปัญหาสังคม ละเลยฐานรากการศึกษาไทย ฐานรากคืออะไร คือการเข้าสู่ชุมชน แต่ของเราเป็น departmentalization ทุกระบบการศึกษาไทย ที่เราเป็น departmentalization เพราะเรา ตามฝรั่ง คือต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างจัด เพราะฉะนั้น การศึกษาเราก็เหมือนกัน วิชานี้ก็อยู่ของตัวเอง อาจารย์คนนี้อยู่ของตัวเอง โรงเรียนยิ่งชัดเจนครูต่างคนต่างอยู่ได้ ยิ่งปัจจุบันครูมีคู่มือที่บริษัทเอามาให้ ในคู่มือมีทั้งแบบฝึกหัด กิจกรรม และเนื้อหาสาระ ไม่ต้องมาสนใจและครูไม่สนใจด้วย ครูท� ำตามคู่มือที่บริษัท ให้มา ในโรงเรียนครูต่อครูไม่มาคุยกัน บูรณาการที่เสนอล� ำบากมาก เพราะครูอยู่ด้วยตัวเองได้ ครูมีคู่มือ ในวิชาสังคม มีแบบฝึกหัดเสร็จ มีคู่มือสอนวิชาภาษาอังกฤษ ครูภาษาอังกฤษก็อยู่ของเขา ครูภาษาไทยก็อยู่ ของเขา ไม่ต้องเกี่ยวข้องกัน นี่คือปัญหา ตรงข้ามกับญี่ปุ่น ญี่ปุ่นมีกรณีศึกษา คณะครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ มีลักษณะความเป็นผู้น� ำน้อย นี่คือปัญหาที่เราต้องแก้ไข เราคาดหวังอะไร เราคาดหวังให้คณะครุศาสตร์หรือ ศึกษาศาสตร์ต้องสอนเด็กให้สามารถ ability teach well สอนได้ดี ต้องตอบโจทย์ชุมชน ใช้แนวคิด กลับมาหาชุมชน เราต้องมี product มี innovation ที่มากพอ เราต้องมีบูรณาการแลกเปลี่ยนกันในสาขา สร้างคณะครุศาสตร์ให้เด่นเป็นผู้น� ำและก้าวหน้าทันสมัยให้ได้

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=