สำนักราชบัณฑิตยสภา

ราชบัณฑิตยสภา 5 ค� ำกล่าวเปิดงาน ของ ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรพล อิสรไกรศีล นายกราชบัณฑิตยสภา เรียน รองอธิการบดี วิทยากร คณบดี และผู้มีเกียรติทุกคน ผมมีความยินดีอย่างยิ่งที่ส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้เกียรติเชิญผมมาเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการ ซึ่งส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการประชุมวิชาการราชบัณฑิตสัญจร เรื่อง “ ท� ำไมจึงต้องสร้าง ความฉลาดรู้ : ศึกษาจากปรากฏการณ์และท� ำนายอนาคต” ในวันนี้ ขอขอบคุณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย ที่ได้ตระหนักถึง ความส� ำคัญของ ความฉลาดรู้ (literacy) และยินดีให้ความร่วมมือกับราชบัณฑิตยสภา ในการสร้างความตระหนัก รู้ให้เกิดขึ้นในกลุ่มผู้บริหารและผู้สอนในสถาบันผลิตครู ผู้บริหารสถานศึกษา ตลอดจนบุคลากรและหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงการศึกษา ให้สามารถน� ำความฉลาดรู้นี้ไปริเริ่ม ต่อยอด สร้างสรรค์ นวัตกรรม และน� ำไปใช้ประโยชน์ในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาการจัดการศึกษาต่อไป ผลงานทางวิชาการใน ระยะเวลายาวนานนับศตวรรษที่ผ่านมาย่อมเป็นที่ประจักษ์ได้ว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เป็นสถาบันที่ริเริ่ม และสร้างสรรค์นวัตกรรมทางวิชาการเพื่อบ่มเพาะพลเมืองที่ดีและสร้างคุณูปการให้แก่ประเทศชาติไว้มากมาย ขอชื่นชมส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมืองที่ได้พัฒนาความรู้และเสริมสร้างคุณภาพทางวิชาการให้ทันต่อ ความเปลี่ยนแปลงของสังคมอยู่เสมอ แม้ว่าเราจะคุ้นเคยกับ literacy ในอดีตที่หมายถึง การอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น แต่เมื่อเวลาก้าวผ่านผกผันมาถึงในปัจจุบัน ความส� ำคัญของ literacy ก็มีมากขึ้น เพราะนอกจากจะ ต้องมีความรู้และเข้าใจสาระที่ถูกถ้วนแล้ว ยังต้องรู้อย่างครอบคลุม รู้จักคิดหรือน� ำไปต่อยอดให้เกิดความรู้ใหม่ และสามารถน� ำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตได้จริง ดังที่ราชบัณฑิต ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาศึกษาศาสตร์ และวิทยากร ทุกท่านจะได้น� ำเสนอ และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทุกคน ณ ที่แห่งนี้ต่อไป

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=