สำนักราชบัณฑิตยสภา
ราชบัณฑิตยสภา 44 ความฉลาดรู้อารมณ์ (emotional literacy) ในความฉลาดรู้ของครอบครัว สิ่งหนึ่งที่จ� ำเป็นอย่างยิ่ง ส� ำหรับเด็กในยุคดิจิทัลก็คือความฉลาดรู้อารมณ์ เราจะเห็นว่าในปัจจุบันเด็กจ� ำนวนมาก หรือแม้แต่ผู้ใหญ่ ควบคุมอารมณ์ได้ยาก การจัดการกับอารมณ์อย่างสร้างสรรค์เป็นสมรรถนะที่ต้องเรียนรู้และฝึกฝน พ่อแม่ก็ ต้องเรียนรู้ และครูก็ต้องสอนความฉลาดรู้ทางอารมณ์ให้เด็ก ทั้งที่โรงเรียน ที่บ้าน และในชุมชน ความฉลาดรู้ อารมณ์ หมายความว่า เด็กสามารถที่จะบ่งชี้ เข้าใจ และตอบสนองต่ออารมณ์ของตนเองและผู้อื่นได้อย่าง เหมาะสม จัดการกับอารมณ์ด้านบวกและด้านลบได้ เด็ก ๆ จะรู้สึกว่าการเสียใจเป็นเรื่องธรรมดา ความ รู้สึกเศร้าเป็นเรื่องธรรมดา เราโกรธได้ แต่ว่าเราจะจัดการอย่างไรกับอารมณ์โกรธของเราในทางสร้างสรรค์ และการจัดการนั้นเป็นการเพิ่มพลังแห่งตนและพัฒนาคุณภาพชีวิตของตัวเองและสิ่งแวดล้อมด้วย ดังนั้น ความฉลาดรู้อารมณ์จะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สร้างความรักความเข้าใจ ส่งเสริมการ ท� ำงานร่วมกัน รวมทั้งสร้างความรู้สึกเป็นหมู่คณะ ในความฉลาดรู้อารมณ์ เราจะต้องสอนให้เด็กรู้จักตัวเอง รู้จุดเด่น จุดด้อยของตัวเอง รู้ว่าเขามีพลังแห่งตนในด้านใด รู้ว่าเมื่อใดเขาต้องการที่จะพัฒนาความสามารถใน การจัดการกับอารมณ์ทั้งทางบวกและทางลบของตัวเองได้ นอกจากนั้นแล้วเด็กยังต้องมีการสร้างแรงจูงใจ แรงจูงใจที่รองศาสตราจารย์ ดร.ทิศนา แขมมณี พูดไว้ก็คือ ก้อนน�้ ำแข็งที่อยู่ใต้ระดับพื้นผิว แรงจูงใจนั้น จะน� ำไปสู่ความส� ำเร็จต่าง ๆ และมีอิทธิพลสูงมากต่อการกระท� ำ แรงจูงใจนี้จะช่วยให้เด็ก ๆ ควบคุมอารมณ์ ของตนเอง และพัฒนาตนเองไปสู่เป้าหมายได้ ที่ส� ำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ การรู้ซึ้งถึงความรู้สึกของ ผู้อื่น (empathy) เป็นความสามารถที่จะเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงสถานการณ์ อารมณ์ และแรงจูงใจของผู้อื่น เข้าใจมุมมองและการกระท� ำของผู้อื่น แสดงออกถึงการยอมรับและเห็นคุณค่าของผู้อื่น มีเมตตา ถ้าเด็ก มีสิ่งเหล่านี้ เด็กก็จะเข้าใจมุมมองของผู้อื่น เป็นการพัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความสัมพันธ์ ระหว่างเด็กกับพ่อแม่ กับเพื่อน ก็จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ความฉลาดรู้ทางอารมณ์จึงประกอบด้วย สมรรถนะส� ำคัญ ๕ ประการดังกล่าวมาแล้ว
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=