สำนักราชบัณฑิตยสภา

ราชบัณฑิตยสภา 42 โปรแกรมสร้างเสริมความฉลาดรู้ส� ำหรับครอบครัว (family literacy program) ในกระบวนการ เรียนรู้ เราพบว่ากิจกรรมความฉลาดรู้ในบ้านสร้างโอกาสให้เด็ก พ่อแม่ และสมาชิกในครอบครัวได้เพิ่มพูน ทักษะความฉลาดรู้ไปพร้อม ๆ กัน ในโปรแกรมสร้างเสริมความฉลาดรู้ส� ำหรับครอบครัว ส่วนที่ส� ำคัญคือ มี กิจกรรมอะไรบ้างเพื่อสร้างความฉลาดรู้ให้แก่ครอบครัว ผลการวิจัยจ� ำนวนมากพบว่า ครอบครัว โดยเฉพาะ ครอบครัวที่มีความยากล� ำบาก ครอบครัวในชนบท หรือครอบครัวที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมที่ ไม่ค่อยดีนัก การจัดโปรแกรมสร้างเสริมความฉลาดรู้ส� ำหรับครอบครัวโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานหรือใช้ชุมชน เป็นฐานนั้นจะช่วยแก้ปัญหาของสังคมอย่างยั่งยืน เพราะว่าในโปรแกรมสร้างเสริมความฉลาดรู้ส� ำหรับ ครอบครัวประกอบด้วยหลายส่วน ส่วนแรกเป็นการศึกษาผู้ใหญ่ การศึกษาผู้ใหญ่ในโปรแกรมสร้างเสริม ความฉลาดรู้ของครอบครัว คือการให้ความรู้ ให้ทักษะ ให้การรู้หนังสือ ให้ทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ การ ฟังอย่างใคร่ครวญ รวมถึงการศึกษาผู้ใหญ่ และการประกอบอาชีพด้วย ผลการวิจัยทั่วโลกยืนยันได้ว่า ระดับ การศึกษาของแม่ การรู้หนังสือ ความรู้ ความเข้าใจของแม่ เป็นตัวชี้วัดที่ส� ำคัญต่อความส� ำเร็จใน การเรียนของลูก ส่วนที่ ๒ การศึกษาวัยเด็ก คือ การให้พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย รู้และเข้าใจพัฒนาการของเด็ก รู้วิธีการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในครอบครัว ส่วนที่ ๓ การศึกษาส� ำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง คือ การให้ ความรู้แก่พ่อแม่ว่า เราจะอ่านหนังสือให้ลูกฟังอย่างไร ส่วนที่ ๔ คือ กิจกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครอง กับลูก เราจะเห็นหลาย ๆ บ้านเวลาพ่อ แม่ ลูก กลับเข้าบ้าน พ่อแยกเข้าไปอยู่กับคอมพิวเตอร์ แม่ไปดูซีรีส์ เกาหลี ลูกก็เข้าห้องของตัวเอง ไม่มีการพูดคุยกัน นี่เป็นครอบครัวที่มีอันจะกิน น่ากลัวมากเลย มีนักเรียน ของเราที่รู้สึกแย่มาก รู้สึกเศร้า อาจารย์ต้องโทรไปคุยด้วย อยู่บ้าน ๑ ทุ่ม ๒ ทุ่ม เด็กจะอยู่กับตัวเองและ ไม่คุยกับพ่อแม่ เด็กบอกว่าไม่รู้จะเริ่มพูดกันอย่างไร อาจารย์ต้องเชิญแม่กับลูกมาคุยกันที่โรงเรียน โดยอาจารย์ เป็นผู้ด� ำเนินการ ดังนั้น กิจกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับแม่ ระหว่างผู้ปกครองกับลูกก็จะอยู่ในโปรแกรม

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=