สำนักราชบัณฑิตยสภา
ราชบัณฑิตยสภา 41 ความฉลาดรู้ของครอบครัว (family literacy) มีความส� ำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการทุกด้านของเด็ก โดย เฉพาะในยุคดิจิทัล มีนักเรียน ม. ๑ มาบอก คุณแม่หนู ไม่คุยกับหนูเลย หนูไม่น่าใส่แอปพลิเคชันซีรีส์เกาหลีให้แม่ เลย ตั้งแต่นั้นมา พอขึ้นรถแม่ก็ดูหนัง หนูบอกแม่ว่าอยาก คุยด้วย แม่บอกว่าเดี๋ยว ๆ แม่ดูก� ำลังจะจบแล้ว แม่ก็ไม่คุย กับหนู อีกกรณีหนึ่ง นักเรียน ม. ๓ มาบอกว่า อาจารย์คะ หนูไม่สบายใจ หนูรู้สึกแย่มากเลย ขอคุยกับอาจารย์หน่อย ได้ไหมคะ อาจารย์อย่าบอกแม่หนูนะ แม่หนูไม่ฟังหนูหรอก หรือนักเรียน ม. ๒ ที่ทะเลาะกับเพื่อน ไม่พอใจเพื่อน ก็ไม่รู้ จะสื่อสารกับเพื่อนอย่างไร เพราะขาดทักษะในการสื่อสาร และการเข้าสังคม สิ่งแรกที่ท� ำเวลาโมโห คือหยิบมือถือขึ้นมากด ๆ ส่งข้อความไป หลังจากนั้น ตระหนักรู้ แล้วว่าพลาดไป ครูไปพบนักเรียนนั่งร้องไห้ตอนกลางวัน ตอนเย็นก็พบนั่งร้องไห้ นักเรียนรู้แล้วว่าที่ตัวเอง ส่งข้อความว่าเพื่อนไปแรง ๆ เพื่อนเห็นแล้ว ก็กังวลว่าจะพูดกับเพื่อนอย่างไร จะเข้ากับเพื่อนอย่างไร เพราะ ฉะนั้น ทักษะเหล่านี้จะต้องกลับมาดูที่ความฉลาดรู้ทั้งนั้น ความฉลาดรู้ของครอบครัว (family literacy) จึงเป็นพื้นฐานที่ส� ำคัญมาก ๆ เป็นการเรียนรู้ร่วมกันของครอบครัวและชุมชนอย่างเป็นธรรมชาติในการด� ำเนิน ชีวิตประจ� ำวันที่สะท้อนถึงเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ การถ่ายทอดทางวัฒนธรรมของครอบครัวและสังคม เด็ก ๆ จะ เรียนรู้ความฉลาดรู้เป็นองค์รวม รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น ผ่านการปฏิบัติ กิจกรรมร่วมกันของสมาชิกในครอบครัวและชุมชน ดังนั้น ในครอบครัวและชุมชนนั้น เราพบว่า ความฉลาด รู้ของครอบครัวเป็นปัจจัยที่มีพลังมากที่สุดในการที่จะพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต รองศาสตราจารย ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ ภาคีสมาชิก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=