สำนักราชบัณฑิตยสภา
ราชบัณฑิตยสภา 40 ๔. talk การสนทนา ต่อไปคือเรื่องของการพูด การสนทนา เมื่อให้นักเรียนอ่านแล้ว ครูก็ควรจะ พูดคุยกับนักเรียน แต่สิ่งที่ครูส่วนใหญ่ท� ำก็คือพออ่านแล้วครูก็จะถาม แล้วนักเรียนตอบ ครูก็ถาม นักเรียนก็ตอบ เขาบอกว่าการพูดคุยไม่ใช่อย่างนั้น การพูดคุยเป็นการคุยกันว่าเป็นอย่างไร อ่านแล้วเข้าใจอย่างไร ชวนคุย ขยายความ แสดงความคิดเห็น เป็นการพูดคุยสนทนากันไปตามธรรมชาติ เทียบได้กับท� ำนองเวลาเราดูละคร เราแอบคุยกัน วิพากษ์วิจารณ์กันบ้าง นี้ก็ลักษณะเดียวกัน การแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก การขยายความ ในเรื่องที่อ่าน สามารถช่วยสร้างความเข้าใจและความสนใจในการอ่านให้แก่เด็กได้มาก ๕. tasks งาน งานที่ครูให้นักเรียนท� ำ ส่วนใหญ่ครูพอสอนเสร็จก็จะมีแบบฝึกหัดให้นักเรียนท� ำ เขาค้นพบว่าการให้งานชิ้นเล็ก ๆ แก่นักเรียนหลาย ๆ ชิ้น ให้นักเรียนท� ำ สู้การให้งานชิ้นใหญ่ ๆ และใช้เวลา นานกว่าไม่ได้ เพราะว่างานชิ้นใหญ่เด็กจะต้องใช้ความสามารถเพิ่มขึ้น มีการบูรณาการอย่างอื่นเข้ามาอีก เพราะฉะนั้นเรื่องของ การให้งานก็จะต้องให้งานที่มีความหมาย ท้าทาย และใช้เวลานาน เพื่อให้เด็กใช้ ความสามารถเพิ่มขึ้น ๖. test การทดสอบหรือการประเมิน มีผู้กล่าวว่า การทดสอบผลสัมฤทธิ์แบบรวบยอด คือเรียนไป ทดสอบและนักเรียนก็ได้คะแนนไป ไม่ได้ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และความมุ่งมั่นตั้งใจในการเรียนเท่าใด คือ ไม่เป็นแรงจูงใจเท่าใด สิ่งที่ดีกว่าก็คือ การประเมินความก้าวหน้า (formative assessment ) ของนักเรียน ซึ่งครูต้องรู้จุดเริ่มต้นของนักเรียนว่า นักเรียนเริ่มต้นตรงจุดใด แล้วก้าวหน้าไปสู่จุดใด อย่างไร ครูก็ให้ความ ช่วยเหลือไปตามล� ำดับ เด็กจะมีความก้าวหน้าและอยากเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นเพราะได้เรียนรู้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สรุปว่า การพัฒนาความฉลาดรู้ทางภาษาให้แก่เด็กและเยาวชนของเราก็มีหลักที่จ� ำได้ง่ายคือ 6T ซึ่งไม่ใช่เคล็ดลับที่คิดขึ้นเอง แต่เป็นผลงานวิจัยที่ได้จากครูที่สอนเก่ง ๆ รวมทั้งจากการสัมภาษณ์นักเรียนด้วย คิดว่าท่านใดที่มีหน้าที่ช่วยในเรื่องของการพัฒนาความฉลาดรู้ทางภาษาให้แก่เด็กก็สามารถที่จะใช้ 6T เป็นหลักในการจัดประสบการณ์กิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งผู้ที่ไม่ใช่ครูก็ใช้ได้ พ่อแม่พี่น้องทั้งหลายก็สามารถช่วย ส่งเสริมความสามารถทางภาษาให้แก่เด็กโดยใช้หลักเหล่านี้ได้เช่นเดียวกัน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=