สำนักราชบัณฑิตยสภา

ราชบัณฑิตยสภา 38 ขอบคุณครับ อย่างที่นิสิตทั้ง ๒ ท่าน กล่าวมาแล้ว เทคโนโลยีดิจิทัลมีประโยชน์ มาก แต่เราคงต้องมีวิจารณญาณในการ เลือกรับ เลือกรู้ และเลือกทิ้งด้วยนะครับ ก่อนจบการอภิปราย ผมขอทิ้งท้ายด้วย ข้อความนี้ครับ เป็นชื่อหนังสือที่เขียนโดย Art E. Berg แปลความก็คือ อะไรที่ดูเป็น ไปไม่ได้อาจกินเวลามากหน่อย ขอให้มี ความเพียร อย่ายอมแพ้ง่าย ๆ จากที่ได้ฟังทั้ง ๒ ท่านไม่ว่าจะเป็นความฉลาดรู้ ทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ หรือความฉลาดรู้ ทางด้านดิจิทัล และรวมไปถึงความฉลาดรู้ทางด้าน อื่น ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นทางด้านใดก็คงจะต้องมีความ ฉลาดรู้ทางด้านภาษาควบคู่ไปด้วย เพราะภาษาเป็น เครื่องมือในการสื่อสารความคิดและความรู้ทั้งหมด เพราะฉะนั้นจึงจะขอคุยเรื่องความฉลาดรู้ทางด้าน ภาษาเพิ่มเติมอีกสักนิด ความฉลาดรู้ทางภาษา ซึ่งแต่เดิมหมายถึง literacy คืออ่านออกเขียนได้เท่านั้น แต่ว่าต่อมาก็มี ความหมายครอบคลุมกว้างขวางมาก หมายถึง การมี ความรู้เกี่ยวกับภาษา การมีทักษะทางภาษา ทั้งทางด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน รวมไปถึงการมีคุณลักษณะ และสมรรถนะในการน� ำความรู้และทักษะทางด้านภาษาไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจ� ำวัน ได้อย่างเหมาะสม มั่นใจ มีประสิทธิภาพ และยังหมายรวมไปถึงความฉลาดรู้ในภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาแม่ด้วย จ� ำลองหรือสื่อจ� ำลองได้ เราสามารถเลือกเรียนการเรียนรู้ที่ตอบสนองพฤติกรรมการเรียนรู้ของเราได้ เพราะ เทคโนโลยีสามารถที่จะกระจายรูปแบบการเรียนรู้ให้มีความหลากหลายมากขึ้น นั่นหมายความว่า การเรียน รู้ของเราจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันเมื่อเทคโนโลยีก้าวไกล เราเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและ รวดเร็ว มีความหลากหลาย สิ่งที่ผู้เรียนทุกคนจะต้องมีคือ การเรียนรู้ที่มีวิจารณญาณ ไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วน รับข้อมูลข่าวสารโดยการคัดกรอง เพราะว่าเมื่อมีความหลากหลายย่อมมีสิ่งที่ถูกและไม่ถูกหรือสิ่งที่ผิดเพี้ยน ตามมา การที่เราสามารถเรียนรู้และรับรู้เทคโนโลยีหรือกลั่นกรองความรู้ได้อย่างรอบคอบและมีวิจารณญาณ จะท� ำให้การเรียนรู้ของเรามีประสิทธิภาพ มีประสิทธิผล และเกิดประโยชน์สูงสุด ขอบคุณค่ะ รองศาสตราจารย ดร.ทิศนา แขมมณี ราชบัณฑิต

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=