สำนักราชบัณฑิตยสภา

ราชบัณฑิตยสภา 35 ทุกวันนี้ระบบอัต โ นมัติและ เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนในชีวิตเรามากขึ้น แต่เรื่องทักษะต่าง ๆ ที่จ� ำเป็นส� ำหรับคริสต์ ศตวรรษที่ ๒๑ ก็ยังมีอีกมาก วันก่อน ท่านศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ หยิบหนังสือเล่มหนึ่งมาให้ ผมดู ท่านบอกว่า เบอร์นี ทริลลิง (Bernie Trilling) กับชาลส์ เฟเดล (Charles Fadel) เขียนเรื่อง 21 st Century Skills หลังจากนั้น ผมก็ลองเข้าไปหาดูในกูเกิล (Google) ปรากฏว่ามีทักษะที่จ� ำเป็น ส� ำหรับคริสต์ศตวรรษที่ ๒๑ อีกมาก เช่น learning and innovation skills, digital literacy skills นอกจาก ทักษะด้านเทคโนโลยีและเรื่องความคิดริเริ่มสร้างสรรค์แล้ว ภาษาแม่ ทักษะการอ่าน การเขียน และการคิด ค� ำนวณ ยังเป็นเรื่องจ� ำเป็นและส� ำคัญมากเช่นกัน เพราะเป็นพื้นฐานส� ำคัญต่อการพัฒนาทักษะอื่น ๆ รวมทั้ง ทักษะทางเทคโนโลยีดิจิทัลด้วย ในยุคดิจิทัลนี้มีการแบ่งคนเป็น ๓ กลุ่ม กลุ่มแรกคือ digital natives ผู้คน พื้นเมืองที่ก� ำเนิดมาพร้อมกับเทคโนโลยี คนกลุ่ มนี้เป็นกลุ่ มที่ใช้ เทคโนโลยีที่มี อยู่แล้วอย่างมีประสิทธิภาพ เรียนรู้เร็ว ใช้คล่อง และมีประสิทธิผล คือใช้ให้เกิด ผลได้ แม้เด็กบางคนอ่านหนังสือยังไม่ออก เขียนยังไม่ได้ แต่ก็ใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน ได้ แต่นักวิชาการ บางท่านอาจเห็นว่ าเด็กบางคนอยู่กับ เทคโนโลยีทั้งวัน อาจอยู่ในโลกของตนเอง หรือโลกเสมือนจริงมากเกินไป คนกลุ่มที่ ๒ คือ digital immigrants คนกลุ่มนี้เหมือนผู้อพยพมาจากที่อื่นแล้วมาอาศัยเขาอยู่ ปรับตัวกับถิ่นที่อยู่ใหม่ได้ ถึงเกิดมาก่อนเทคโนโลยีดิจิทัลแต่ก็เรียนรู้ เท่าทัน และใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์ ต่าง ๆ ได้ดี ส่วนคนกลุ่มที่ ๓ คือ digital aliens แปลตรงตัวคือมนุษย์ต่างดาว มาจากนอกโลก เกิดไม่ทัน ใช้ไม่เป็น ไม่กล้าใช้ หรือไม่สนใจที่จะใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=