สำนักราชบัณฑิตยสภา

ราชบัณฑิตยสภา 26 สมรรถนะจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อได้น� ำความรู้ ทักษะ คุณลักษณะที่ตนมีประกอบกันไปใช้ใน context ต่าง ๆ จึงมีเรื่องของ context เข้ามาเกี่ยวข้อง Alberta Curriculum, Canada ให้ค� ำนิยามว่า “Competency are combinations of attitude, skills and knowledge that students develop and apply for successful learning, living and working.” ส่วน Gial Sturgess ได้นิยามค� ำนี้ว่า “A Competency is a cluster of related abilities, commitments, knowledge and skills that enable a person to act effectively in a job situation. สมรรถนะเป็นแนวคิดที่ได้มาจากทฤษฎีภูเขาน�้ ำแข็ง (iceberg model) ของเดวิด ซี. แม็กเคลลันด์ (David C. McClelland) ซึ่งได้อธิบายว่า เวลาเราเห็นภูเขาน�้ ำแข็ง จะเห็นส่วนที่ลอยอยู่เหนือผิวน�้ ำ แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เราเห็นไม่ได้มีเพียงแค่นั้น ยังมีส่วนที่อยู่ใต้ผิวน�้ ำ และส่วนที่อยู่ใต้ผิวน�้ ำนี้เป็นสิ่งส� ำคัญมากเพราะเป็นตัวขับเคลื่อน สิ่งที่อยู่เหนือผิวน�้ ำ บุคคลเปรียบเทียบได้กับภูเขาน�้ ำแข็ง โดยมีส่วนที่เห็นได้ง่ายและพัฒนาได้ง่าย คือ ส่วนที่ ลอยอยู่เหนือน�้ ำ ซึ่งก็คือองค์ความรู้และทักษะต่าง ๆ ที่บุคคลมีอยู่ และส่วนใหญ่ที่มองเห็นได้ยากจะอยู่ใต้ผิวน�้ ำ ได้แก่ แรงจูงใจ อุปนิสัย ภาพลักษณ์ภายใน บทบาทต่อสังคม ซึ่งส่วนที่อยู่ใต้ผิวน�้ ำจะมีผลต่อพฤติกรรมในการท� ำงาน ของบุคคล ในการที่บุคคลจะใช้ความรู้และทักษะที่อยู่เหนือผิวน�้ ำ เพราะฉะนั้นการที่บุคคลจะมีพฤติกรรมในการ ท� ำงานใด ๆ ได้ดีมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับความรู้และทักษะ แต่ความรู้และทักษะนั้นจะถูกขับเคลื่อนโดย คุณลักษณะที่อยู่ใต้ผิวน�้ ำ ส่วนที่อยู่ใต้ผิวน�้ ำนั้นจึงมีความส� ำคัญและจ� ำเป็นต้องพัฒนาเพื่อให้สามารถขับเคลื่อน ส่วนที่อยู่เหนือผิวน�้ ำนั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=