สำนักราชบัณฑิตยสภา
ราชบัณฑิตยสภา 19 ถ้าลองวิเคราะห์พระบรมราโชวาทนี้ ก็จะเห็นว่าความฉลาดรู้ครอบคลุมความรู้ในเรื่องนั้น ซึ่งความรู้ใน ที่นี้อาจหมายรวมถึงทักษะด้วย แต่แม้จะมีความรอบรู้ในเรื่องนั้น ถ้ารู้แล้วไม่สามารถน� ำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ก็จะไม่ช่วยให้เกิดความฉลาด แสดงว่าการเรียนเพื่อความฉลาดรู้ จะต้องประกอบด้วยความรู้ส่วนหนึ่งซึ่ง หมายรวมถึงทักษะด้วย แล้วก็จะต้องประกอบไปด้วยความสามารถในการที่จะน� ำความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ จริง จึงจะเกิดเป็นความฉลาดรู้ แต่เท่านั้นยังไม่พอ จะต้องมีส่วนที่ต้องปฏิบัติประกอบพร้อมกันไปด้วยเสมอ คือ พิจารณาศึกษาเรื่องนั้น ๆ ด้วยความคิดจิตใจตั้งมั่นเป็นปรกติด้วยใจที่เป็นกลาง แสดงว่ามีองค์ประกอบอีก องค์ประกอบหนึ่งที่ส� ำคัญที่จะช่วยท� ำให้ความฉลาดรู้นั้นเกิดขึ้นก็คือ เจตคติ หรือตัว A = attitude, attribute ของบุคคลคนนั้นที่จะต้องใช้ประกอบกันไปด้วยเสมอ เพราะฉะนั้น literacy ก็จะหมายถึงความรอบรู้ในเรื่องใด เรื่องหนึ่ง และในความรอบรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้นก็จะประกอบด้วย ความรู้ K = knowledge ในเรื่องนั้น ๆ และประกอบไปด้วย S = skill ในเรื่องนั้น ๆ A = attitude, attribute คุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ แต่ถ้ามีเพียงเท่านี้ก็ยังจะไม่ท� ำให้เกิดความฉลาดหรือเจริญขึ้นได้เท่าใดนัก เพราะว่าถ้ามี K แต่เอา K ไปใช้การไม่ได้ มี S แต่เอา S ไปใช้การไม่ได้ มี A แต่เอา A ไปใช้การไม่ได้ ใช้ประโยชน์ไม่ได้ ก็จะไม่ท� ำให้ เกิดความฉลาดรู้หรือเจริญขึ้นได้เท่าใดนัก ซึ่งโดยทั่วไปแล้วความรู้ทั้งหลายทั้งที่เป็น K S A มีส่วนที่สามารถ ดึงเอามาใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงได้ แต่ก็จะมีส่วนหนึ่งที่เกินไปจากที่เอามาใช้ประโยชน์ในการด� ำรงชีวิต ได้จริงเพราะว่าอาจเป็นเรื่องเพื่อการศึกษาวิจัยที่สูงขึ้นไปอีก ส่วนที่เป็นส่วนเชื่อมโยงกับชีวิต เอามาใช้ในชีวิต ได้ทั้ง K S A นี้ก็คือส่วนที่เป็น competency นั่นเอง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=