สำนักราชบัณฑิตยสภา
สุวิมล ตั้งประเสริฐ 607 วารสาร ราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๔ สุวิมล ตั้งประเสริฐ * บทคัดย่อ การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดนครราชสีมาอย่างยั่งยืนภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง ใช้กระบวนการแบบมีส่วนร่วมเพื่อแสวงหาแนวทาง และกระบวนการด� ำเนินงานของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร ซึ่งผลดังกล่าวจะท� ำให้การท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดนครราชสีมาเป็นแหล่งรองรับ นักท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้อย่างยั่งยืน ผลการวิจัยพบว่า ๑) ได้ระบบฐานข้อมูลการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อการพัฒนา แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา จ� ำนวน ๘ ประเด็นคือ สถานที่ตั้ง ผู้ประกอบการ กิจกรรม การท่องเที่ยว ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว สินค้าของฝากและของที่ระลึก สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง แผนที่ การเดินทาง และการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ๒) การจัดท� ำกลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยว เชิงเกษตร ได้กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ในแต่ละพื้นที่ครบทั้ง ๕ อ� ำเภอ จ� ำนวน ๔ ด้านคือ ด้านการ พัฒนาบุคลากร ด้านการเงิน ด้านการผลิต และด้านการตลาด ๓) การสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ในจังหวัดนครราชสีมา พบว่าได้เครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดนครราชสีมา จ� ำนวน ๑ เครือข่าย พร้อมทั้งกลยุทธ์ของเครือข่าย จ� ำนวน ๔ ด้านคือ ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการเงิน ด้านการผลิต และด้าน การตลาด ๔) การจัดท� ำตัวชี้วัดความส� ำเร็จและความล้มเหลวของการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดนครราชสีมา ตามแนวทางของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พบว่ามี ๑๐ ปัจจัยที่ส� ำคัญ ได้แก่ นโยบายของภาครัฐ การ ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงเกษตร แหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง ระยะทางในการเดินทางหน่วยงานภาครัฐใน ท้องถิ่น สถาบันการศึกษา ผู้ประกอบการ กิจกรรมของการท่องเที่ยวเชิงเกษตรค่านิยมของนักท่องเที่ยว และค่า ใช้จ่ายในการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ค� ำส� ำคัญ : การจัดการ, แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร, หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง * ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจ� ำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ความส� ำคัญและความเป็นมา ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ได้หันมา ก� ำหนดให้การท่องเที่ยวเป็นเป้าหมาย หนึ่งของการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งก็ สืบเนื่องมาจากเหตุผลหลายประการ ประการแรก คือ การท่องเที่ยวเป็น สาขาเศรษฐกิจที่มีความเจริญเติบโต อย่างรวดเร็ว ประการที่ ๒ รายได้ของ รัฐในรูปภาษีจากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็วเช่นกัน ประการที่ ๓ การ ท่องเที่ยวเป็นแหล่งที่มาของเงินตราต่าง ประเทศที่ส� ำคัญ ประการที่ ๔ ความ ยืดหยุ่นรายได้จากการท่องเที่ยวมีค่าค่อน ข้างสูง และประการสุดท้ายการท่องเที่ยว เป็นอุตสาหกรรม ที่ใช้แรงงานมากจึงเป็น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=