สำนักราชบัณฑิตยสภา
ไชยยศ เหมะรัชตะ 603 วารสาร ราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๔ จึงต้องมีข้อเท็จจริงที่มีนัยส� ำคัญอื่น ๆ ผนวกเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดการผูกขาด เช่น เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญามีอ� ำนาจ เหนือตลาด จึงจะก่อให้เกิดการผูกขาดได้ ๖ ในประเด็นนี้ กฎหมายในแต่ละ เรื่องที่รับรองให้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็น สิทธิตามกฎหมาย ได้พยายามรักษาความ สมดุลเพื่อมิให้มีการผูกขาดจนก่อให้ เกิดผลกระทบต่อสังคม โดยได้เปิดช่อง ให้มีข้อยกเว้นในบทบัญญัติในกฎหมาย นั้น ๆ เช่น ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ และการบังคับใช้ลิขสิทธิ์ในเรื่องการแปล เพื่อการศึกษา (FAIR USE) ในมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ ๗ แต่เนื่องจากบทบัญญัติเหล่านั้น เป็นการวางแนวทางอย่างกว้าง ๆ ไว้ เพื่อ รอให้สังคมวางบรรทัดฐาน ซึ่งต้องใช้ ระยะเวลาในการวางบรรทัดฐานเหล่านี้ จึงท� ำให้มีผู้ฉวยโอกาส ละเมิดสิทธิของ ผู้สร้างสรรค์งานดังกล่าว โดยอาศัยข้อ ยกเว้นเหล่านั้น เพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้น กรมทรัพย์สินทางปัญญาจึงได้พยายาม สร้ างคู่มือในการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ ประเภทต่าง ๆ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๐ จนถึงปัจจุบัน เช่น ในการเรียนการสอน รายงานข่าว งานเขียน ๘ เป็นต้น ซึ่งนัก กฎหมายควรจะศึกษาต่อไปถึงผลกระทบ ของการด� ำเนินการดังกล่าว นอกจากบทบัญญัติที่ปรากฏอยู่ใน กฎหมายแต่ละเรื่องนั้น หน่วยงานของรัฐ หลายหน่วยงานก็มีบทบาทในการบังคับ ใช้กฎหมายต่าง ๆ ที่มีวัตถุประสงค์ใน การลดความรุนแรงของการผูกขาด เช่น การที่กรมการค้าภายในก� ำหนดให้ค่า ลิขสิทธิ์เพลงต่าง ๆ เป็นบริการควบคุม ราคา ๙ ตามพระราชบัญญัติการก� ำหนด ราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๔๒ เนื่องจากเกิดปัญหาการบังคับใช้ลิขสิทธิ์ เพลงต่าง ๆ อย่างไม่เหมาะสม จนก่อให้ เกิดการกระทบกระทั่งและมีความรุนแรง มากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งในท้ายที่สุดกลับต้องใช้ วิธีขอความร่วมมือจากภาคเอกชนแทน การบังคับใช้ พระราชบัญญัติ การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นกฎหมายอีกฉบับหนึ่งที่กรมการค้า ภายในพยายามอย่ างยิ่งที่จะน� ำมาลด ความรุนแรงของผู้ทรงสิทธิในทรัพย์สิน ทางปัญญาที่มีอ� ำนาจเหนือตลาด ๑๐ แต่ การบังคับใช้กฎหมายดังกล่ าวกลับมี อุปสรรคนานานับประการ ไม่ว่าจะเป็น ความพร้อมของเจ้าหน้าที่ในการบังคับ ใช้กฎหมาย ความขัดแย้งในการปฏิบัติ งานกับส� ำนักงานอัยการสูงสุด ๑๑ การขาด หลักเกณฑ์และแนวทางในการบังคับใช้ กฎหมายเพราะกังวลว่า การออกหลัก เกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์ และกลายเป็นข้อ อ้างที่ใช้ในการฝ่าฝืนกฎหมาย จะท� ำให้ เข้าใจว่าเป็นความไร้ประสิทธิภาพของ หน่วยงานรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิต บุคลากรที่มีความรู้ทางด้านกฎหมาย ในปี ๒๕๔๘ คณะนิติศาสตร์ ในสังกัดสถาบัน การอุดมศึกษาเอกชน จ� ำนวน ๓๔ แห่ง มีบุคลากรที่สอนวิชานี้ไม่ถึง ๕ คน จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ภาครัฐ จึงไม่ควรที่จะคาดหวังให้สถาบันตุลาการ เป็นหน่วยงานที่ชี้ขาดในประเด็นเรื่อง ความทับซ้อนของกฎหมายทรัพย์สินทาง ปัญญา แต่ควรจะร่วมกับภาคเอกชนใน การก� ำหนดแนวทางร่วมกันเพื่อให้สังคม ขับเคลื่อนไปได้ โดยไม่ต้องกังวลว่า แนวทางหรือหลักเกณฑ์ที่ก� ำหนดขึ้น จะ กลายเป็นสิ่งที่ภาคเอกชนใช้ในการศึกษา เพื่อหาช่องว่ างในการฝ่าฝืนกฎหมาย เพราะลักษณะดังกล่าวคือแนวทางหนึ่ง ในการพัฒนากฎหมายและการต่อสู้เพื่อ ประโยชน์ของสังคม ๘ http://www.ipthailand.org/ipthailand/index.php?option=com_content&task=category§ionid=21&id=207&Itemid=232 วันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๒ ๙ ประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ เรื่อง การแจ้งค่าตอบแทน ต้นทุน ค่าใช้จ่าย หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการให้ สิทธิในการเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลงเพื่อการค้า ลงวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒ ๑๐ การศึกษาซึ่งจ� ำกัดขอบเขตการวิจัยในเรื่อง ยา เมล็ดพันธุ์พืชซอฟแวร์และหนังสือต� ำราเรียนโดยศูนย์วิจัยและพัฒนากฎหมายคณะนิติศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, โครงการศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญากับกฎหมายการแข่งขันทางการค้าและกฎหมายป้องกันการผูกขาด เสนอ กรมทรัพย์สินทางปัญญา, ๒๕๕๑ ๑๑ ส� ำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, บันทึกส� ำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง อ� ำนาจการสอบสวนตามกฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้า เรื่องเสร็จ ที่ ๒๐๙/๒๕๕๒ เมษายน ๒๕๕๒ ๗ ส� ำหรับในกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาอื่น ๆ ก็มีปรากฏเกือบทั้งหมด การบังคับใช้สิทธิบัตร (COMPULSORY LICENSE) ตามมาตรา ๕๑-๕๒ ตาม พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒, มาตรา ๓๓ ในกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช, มาตรา ๓๔-๓๕ ใน กฎหมายที่เกี่ยวกับผังภูมิวงจร และ มาตรา ๓๔ ในกฎหมาย ที่เกี่ยวกับภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=