สำนักราชบัณฑิตยสภา
ปัญหาบางประการในการบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา The Journal of the Royal lnstitute of Thailand Volume 36 No. 4 Oct-Dec 2011 602 ดังกล่าวยังไม่สิ้นสุด บุคคลผู้เป็นทายาท ก็ควรจะได้รับการสืบสิทธิของผู้สร้าง สรรค์งาน เว้นแต่จะปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้สร้างสรรค์ไม่มีทายาทโดยธรรมและ มิได้ท� ำพินัยกรรมไว้ ย่อมจะถือได้ว่า กฎหมายได้ ให้ ความคุ้ มครองแก่ ผู้ สร้างสรรค์จนถึงที่สุดแล้ว และสังคม ควรจะได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินทาง ปัญญาดังกล่าวโดยไม่มีความจ� ำเป็นจะ ต้องหวงกันอีกต่อไป นั่นก็คือทรัพย์สิน ทางปัญญาจะต้องสิ้นสภาพไปนั่นเอง การพิจารณาให้ทรัพย์สินทางปัญญาซึ่ง เป็นมรดกที่ไม่มีผู้รับยังคงสภาพเดิมของ ทรัพย์สินทางปัญญาไว้ และปล่อยให้รัฐ เข้ามารับประโยชน์จากการหวงกันนั้น ย่อมจะเห็นได้ว่าการขัดต่อเจตนารมณ์ พื้นฐานของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ส่วนที่ ๒ ความทับซ้อนของกฎหมาย ทรัพย์สินทางปัญญา และกฎหมายอื่น ๆ นอกจากความไม่ สมบูรณ์ ใน เรื่องบทบัญญัติทั่วไป จนท� ำให้มีความ พยายามอุดช่องว่างโดยการใช้กฎหมาย ที่ไม่เหมาะสมแล้ว ในระหว่างกฎหมาย ทรัพย์สินทางปัญญา ยังมีความทับซ้อน ในระหว่างกันตัวอย่างเช่น ความทับซ้อน ในระหว่างงานศิลปกรรมอันมีลิขสิทธิ์ กับเครื่องหมายการค้า และสิทธิบัตรการ ออกแบบ ความทับซ้อนเหล่านี้ก่อให้เกิด ความยุ่งยากในหลายประการ ตั้งแต่การ ขอรับสิทธิการได้รับความคุ้มครองตาม กฎหมาย รวมถึงการท� ำงานของเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในประเด็นต่อไปนี้ ๒.๑ ทรัพย์สินทางปัญญา ควรจะได้รับการคุ้มครองซ�้ ำซ้อนหรือไม่ เช่น งานศิลปกรรมที่ถูกใช้เป็นเครื่อง หมายการค้า ควรจะได้รับความคุ้มครอง ในฐานะลิขสิทธิ์ หรือเครื่องหมายการค้า เพราะทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละลักษณะ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส� ำคัญ โดย เฉพาะต้นทุนในการสร้ างสรรค์ งาน เหล่านั้นอาทิเช่น การลงทุนและก� ำหนด มาตรฐานเพื่อให้เครื่องหมายการค้าเป็น ที่ยอมรับนั้น อย่างน้อยที่สุดจะต้องมี การควบคุมคุณภาพของสินค้า เพื่อให้มี มาตรฐานหรือมีความแตกต่างในระดับ ที่ท� ำให้ลูกค้ าเลือกหรือจ� ำแนกสินค้ า ของตน โดยไม่จ� ำต้องเป็นงานสร้างสรรค์ ที่มีระดับสูงกว่าปกติ ไม่เหมือนกับสิทธิ บัตร ซึ่งจะต้องให้มีขั้นการประดิษฐ์ที่ สูงกว่าที่สังคมรับรู้ ดังนั้น หากให้ความ คุ้มครองบิดเบือนไปจากสภาพที่เป็นอยู่ ก็ย่อมจะเป็นการคุ้มครองซ�้ ำซ้อน ซึ่ง ท� ำให้สังคมแบกรับภาระ ตัวอย่างเช่น เจ้าของเครื่องหมายการค้าหรือสิทธิบัตร อาจอ้างว่า “งานรูปทรงหลายมิติ” ของ ตนเป็นศิลปกรรมที่ได้รับลิขสิทธิ์ และ ถือว่าผู้ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของตน เป็นผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ ทั้ง ๆ ที่ใช้ “งานรูป ทรงหลายมิติ” แบบเครื่องหมายการค้า หรือสิทธิบัตร และเมื่อเราพิจารณาถึง เหตุที่เจ้าของงานกล่าว จะสามารถจ� ำแนก เหตุผล ได้ดังนี้ (ก) งานอันมีลิขสิทธิ์ไม่ต้องจด ทะเบียน ในขณะที่เครื่องหมายการค้า ต้องจดทะเบียนและต้องเสียค่าธรรมเนียม ความส� ำเร็จในการจดทะเบียน ขึ้นอยู่ กับหลักเกณฑ์ในการรับจดทะเบียนของ หน่วยงานของรัฐ ทั้งในและต่างประเทศ ดังนั้น การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จึงมีต้นทุนที่สูงกว่า (ข) งานอันมีลิขสิทธิ์สามารถ ใช้ อ้ างได้ เกือบทั่วโลก โดยเฉพาะ ประเทศสมาชิกที่เป็นภาคีของอนุสัญญา เบอร์น โดยไม่มีระบบตรวจสอบความ ถูกต้ องในแต่ ละประเทศ ในขณะที่ เครื่องหมายการค้า ใช้อ้างว่าได้เฉพาะใน ประเทศที่รับจดทะเบียนเท่านั้น กรณีเหล่านี้เป็นตัวอย่างที่ส่งผล ต่อการพัฒนาระบบกฎหมายทรัพย์สิน ทางปัญญาให้บิดเบือนไป ซึ่งในท้าย ที่สุด ระบบทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยว กับเครื่องหมายการค้าจะถูกท� ำให้เสีย หายไป หากเรายอมรับให้มีการคุ้มครอง ทรัพย์สินทางปัญญาในลักษณะที่ซ�้ ำซ้อน กันดังกล่าว ๒.๒ ค ว า ม ทั บ ซ้ อ น กั บ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์โดย รวมของสังคม แม้ว่าทรัพย์สินทางปัญญา เป็น กฎหมายที่ให้สิทธิแก่ผู้สร้างสรรค์ใน ลักษณะที่ผูกขาด และหวงกันเพื่อให้หา ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญา แต่ โดยสภาพของทรัพย์สินทางปัญญาแต่ เพียงล� ำพัง ยังไม่ก่อให้เกิดระบบผูกขาด เพราะผู้สร้างสรรค์ก็เป็นเพียงผู้แข่งขัน รายหนึ่งในระบบตลาด และหากงานของ ผู้สร้างสรรค์สามารถ “ทดแทน” โดยงาน ของผู้อื่น การผูกขาดก็จะไม่เกิดขึ้น ดังนั้น ๖ W.R. Comish, Intellecutual Property: Patent, Copyright, Trade Mark and Allied Right, (London, Weet & Maxwell, 1999. p. 39.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=