สำนักราชบัณฑิตยสภา

ไชยยศ เหมะรัชตะ 601 วารสาร ราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๔ อ้างว่าตนเป็นผู้สร้างสรรค์งานทั้ง ๆ ที่ บุคคลนั้นมิใช่เป็นผู้สร้างสรรค์งานนั้น ๔ หากถือว่ าลิขสิทธิ์เป็นสินสมรสตาม กฎหมายแล้ว คู่สมรสซึ่งมิได้เป็นผู้สร้าง สรรค์งาน ย่อมสามารถใช้ธรรมสิทธิไป อ้างสิทธิในเรื่องเกียรติคุณของผู้สร้าง สรรค์ต่อผู้อื่น โดยอนุโลมว่าเป็นคู่สมรส และก่อให้ เกิดข้อโต้แย้งได้ว่ าในเมื่อ ผู้สร้างสรรค์ไม่ใช้ธรรมสิทธิ ภรรยาของ ผู้สร้างสรรค์จะอ้างเหตุใดในการใช้สิทธิ ประการที่ ๓ มาตรา ๑๔๗๑ ได้ บัญญัติความหมายของ “สินส่วนตัว” ไว้ว่า หมายถึงเครื่องใช้ที่จ� ำเป็นในการ ประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพของคู่สมรส ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ตัวอย่างเช่น ทนายความ ก็คงเป็นเสื้อครุย เครื่องคอมพิวเตอร์ ต� ำรากฎหมาย และในกรณีที่เป็นนักเขียน นั้น พึงเห็นได้ชัดว่า Source Code ของ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ลิขสิทธิ์ พันธุ์พืช ต� ำรับยาเหล่านี้ย่อมถือว่าสิ่งที่จ� ำเป็นใน การประกอบอาชีพหรือวิชาชีพทั้งสิ้น ประการที่๔ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์ งานและผู้สมรสหย่ากัน จะต้องจัดการ แบ่งสินสมรส และหากไม่สามารถตกลง ได้ คู่กรณีจะต้องร้องขอต่อศาลเพื่อให้น� ำ ทรัพย์สินไปขายทอดตลาด ยิ่งเป็นกรณี ที่เห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นถึงความเบาบาง ของเหตุผลที่กฎหมายจะสนับสนุนให้ผู้ ที่ไม่มีความสัมพันธ์กับงานสร้างสรรค์ ที่ต้องอาศัยความอุตสาหะ ทุ่มเทก� ำลัง ความคิดในการสร้างสรรค์ บางครั้งใช้ เวลากว่าค่อนชีวิต อ้างสิทธิขอแบ่งปัน “การแสดงออกทางความคิดแต่ล� ำพัง” ของผู้สร้างสรรค์ อย่างไรก็ตาม นักกฎหมายบางท่าน เห็นว่ า ทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้มา ระหว่างสมรส ย่อมถือว่าเป็นสินสมรส โดยอ้างค� ำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๕๒๙/ ๒๕๓๘ ซึ่งได้ให้เหตุผลว่า เนื่องจาก เครื่องหมายการค้ าได้ จดทะเบียนใน ระหว่างที่สมรส จึงถือว่าเป็นทรัพย์สิน ที่มาระหว่ างสมรส และมีสภาพเป็น สินสมรส ดังนั้นสามีและภรรยาย่อมเป็น เจ้าของเครื่องหมายการค้าร่วมกันนั้น ๕ เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงในคดีดังกล่าว จะพบข้อเท็จจริงว่า ในกรณีนี้เป็นเรื่อง ของสามีภรรยาต้องการจะหย่ากัน และ ท� ำสัญญาแบ่งสินสมรสที่เป็นเครื่องหมาย การค้าซึ่งภรรยาเป็นผู้คิดและสร้างสรรค์ แล้ วให้ สามีน� ำไปจดทะเบียนไปชื่อ ของตน โดยให้ตกเป็นของภรรยาแต่ เพียงฝ่ายเดียว แต่ในขณะที่ยังมิได้ไป จดทะเบียนโอนให้แก่อดีตภรรยานั้น มี ผู้ละเมิดเครื่องหมายการค้าดังกล่าว ศาล ถือว่าเครื่องหมายการค้าเป็นของอดีต ภรรยาทันที แม้ว่ายังไม่จดทะเบียน และ ถือว่ าเป็ นผู้ เสียหายที่มีสิทธิฟ้ องคดี ดังกล่ าว ผู้ เขียนเห็นว่ า เนื่องจากมี ข้อเท็จจริงที่ว่ าฝ่ ายภรรยาได้คิดและ ออกแบบเครื่องหมายการค้าเพื่อใช้กับ สินค้าดังกล่าว ดังนั้น จึงถือได้ว่าสามี และภรรยาเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า ร่วมกัน โดยไม่ต้องไปค� ำนึงเรื่องจด ทะเบียนแต่อย่างใด และไม่อาจถือได้ว่า ค� ำพิพากษาดังกล่าววางบรรทัดฐานว่า ทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้มาระหว่ าง สมรส ถือเป็นสินสมรส ๑.๒ การปรับหลักกฎหมาย ในเรื่องมรดกที่ไม่มีผู้รับตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๗๕๓ เมื่อเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา ถึงแก่ความตาย ทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งถือเป็นทรัพย์สินประเภทหนึ่งตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ย่อม ถือเป็นมรดก และตกทอดสู่ทายาท และ หากไม่มีทายาท ก็ให้มรดกนั้นตกเป็นของ แผ่นดิน ส� ำหรับในกรณีของทรัพย์สินทาง ปัญญาซึ่งเป็นมรดกที่ไม่มีผู้รับนั้น การ ถือว่าทรัพย์สินทางปัญญานั้นจะตกสู่ แผ่ นดินในลักษณะที่เป็ นสิทธิหวง กันต่ อไป ย่ อมจะ เป็ นการปรับใช้ กฎหมายที่มิได้ค� ำนึงถึงวัตถุประสงค์ ของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา คือ การผูกขาดเพื่อสงวนและรักษาไว้ซึ่ง “โอกาส” ที่ผู้ สร้ างสรรค์ จะได้ ใช้ ประโยชน์ในทรัพย์สินทางปัญญาแต่ เพียงผู้เดียวภายในระยะเวลาที่กฎหมาย ได้บัญญัติไว้ ดังนั้นเมื่อผู้สร้างสรรค์ดัง กล่าวเสียชีวิตในระหว่ างที่ระยะเวลา ๔ ไชยยศ เหมะรัชตะ, ลักษณะของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา พิมพ์ครั้งที่ ๔, กรุงเทพมหานคร : ส� ำนักพิมพ์นิติธรรม, ๒๕๔๕ หน้า ๕๙ ๕ ปภาศรี บัวสวรรค์, การจัดการสินสมรสของคู่สมรสในทรัพย์สินทางปัญญา เปรียบเทียบลิขสิทธิ์กับสิทธิบัตร หน้า ๔๘-๖๐, ผลงานทางวิชาการด้านกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม ในการสัมมนาทางวิชาการเพื่อการพัฒนาการศึกษาด้านนิติศาสตร์ ตามโครงการสัมมนาทางวิชาการเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในการพัฒนา กระบวนการยุติธรรม ระหว่าง คณะนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยภาครัฐและภาคเอกชน และส� ำนักงานกิจการยุติธรรม ครั้งที่ ๓ จัดโดย ส� ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา ส� ำนักงานกิจการยุติธรรม สภานิติศึกษา ระหว่างวันที่ ๓๐ พฤษภาคม-๑ เมษายน ๒๕๕๑

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=