สำนักราชบัณฑิตยสภา

ปัญหาบางประการในการบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา The Journal of the Royal lnstitute of Thailand Volume 36 No. 4 Oct-Dec 2011 600 และความสัมพันธ์กับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ส่งผลการพัฒนากฎหมายทรัพย์สินทาง ปัญญาของไทยต้องอิงอยู่กับความคิด ก ร ะ แสหลั ก ข อ ง ป ร ะ เ ทศที่ ได้ รั บ ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาใน ประเทศนั้น และขาดทิศทางการพัฒนา ที่เหมาะสม การเริ่มต้นศึกษาความคิด พื้นฐานโดยอิงจากปัญหาที่เกิดขึ้นจาก ใช้กฎหมาย จะช่วยให้มีข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้น เพื่อการพัฒนาในเรื่องดังกล่าว ส่ วนที่ ๑ การปรับใช้ กฎหมายที่ไม่ เหมาะสม เนื่องจากลักษณะของทรัพย์สิน ทางปัญญามีพื้นฐานมาจากแนวความ คิดที่แตกต่างกัน การบัญญัติกฎหมาย เพื่อคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาใน แต่ละประเภท จึงมักจะตราเป็นกฎหมาย เฉพาะ เพื่ออธิบายความหมาย การขอรับ สิทธิ หน้าที่ และข้อก� ำหนดที่เกี่ยวข้อง โดยเข้าใจว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่วางพื้นฐาน ที่เกี่ยวกับสิทธิ และหน้าที่ของปัจเจกชน มีความเพียงพอที่จะน� ำไปปรับใช้โดย อนุโลมต่อไป ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การปรับใช้อาจท� ำได้อย่างจ� ำกัดเท่านั้น ไม่สามารถน� ำไปปรับใช้ได้เป็นการทั่วไป ดังจะได้ให้รายละเอียดในส่วนนี้ ๑. การน� ำหลักกฎหมายเกี่ยวกับ ทรัพย์สินทั่วไปตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์มาปรับใช้ เนื่องจากทรัพย์สินทางปัญญามี ลักษณะเป็นนามธรรม เพราะเป็นเพียง การแสดงออกทางความคิด จึงเป็นสิ่งที่ ไม่มีรูปร่าง ไม่มีมิติ ทั้งยังมีลักษณะที่ แตกต่างจากทรัพย์ตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ ที่สามารถยึดถือและ ครอบครองได้ทางกายภาพ จึงไม่อาจ น� ำหลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์มาปรับใช้กับทรัพย์สิน ทางปัญญาเป็นการทั่วไป ซึ่งแนวความ คิดดังกล่าว ศาลไทยยอมรับและวาง บรรทัดฐานอย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น การไม่น� ำหลักกฎหมายในเรื่องการครอบ ครองปรปักษ์ ตามมาตรา ๑๓๘๒ มาใช้ กับทรัพย์สินทางปัญญา ด้วยเหตุผลข้าง ต้น การครอบครองเทปบันทึกเสียงเพื่อ ให้ได้มาซึ่งลิขสิทธิ์เพลง ๒ หรือการใช้ เครื่องหมายการค้าในลักษณะที่เป็นการ ละเมิด ๓ จึงไม่ท� ำให้ผู้กล่าวอ้างได้รับ สิทธิโดยเหตุแห่งการครอบครองปรปักษ์ ซึ่งศาลเห็นว่า ทรัพย์สินทางปัญญานั้น แม้ว่าจะเป็นทรัพย์สินประเภทหนึ่ง แต่ก็ มีลักษณะพิเศษที่มีความแตกต่างไปจาก อสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ จน ไม่อาจจัดเป็นทรัพย์สินในความหมาย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และ ไม่อาจครอบครองได้อย่ างทรัพย์สิน ทั่วไป จึงไม่อาจจะแย่งการครอบครองได้ เพราะเจ้าของมิได้สูญเสียสิทธิจากการใช้ ทรัพย์สินทางปัญญาแต่ประการใด จากบรรทัดฐานดังกล่าวจะเห็น ได้ว่า การน� ำประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ไปปรับใช้เพื่อบังคับทรัพย์สิน ทางปัญญา จึงพึงจะต้องปรับใช้ด้วยความ ระมัดระวัง โดยในส่วนต่อไป จะเป็นการ ๒ ค� ำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๔๖/๒๕๓๔ ๓ ค� ำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๙๕๔๔/๒๕๔๒ และ ๖๔๖๖/๒๕๓๘ พิจารณาถึงทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งมี ความสัมพันธ์กับสินสมรส และมรดก ไม่สามารถน� ำประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ในเรื่องดังกล่าวมาบังคับใช้ ๑.๑ การให้ทรัพย์สินทาง ปัญญาตกเป็นสินสมรส ตามมาตรา ๑๔๗๔ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้วางหลักว่า หากคู่สมรสได้ทรัพย์สินใด มาระหว่างสมรส ให้ถือว่าทรัพย์สินนั้น เป็นสินสมรส และคู่สมรสจะต้องจัดการ ทรัพย์สินร่วมกัน ตามมาตรา ๑๔๘๐ ประกอบกับมาตรา ๑๔๗๔ ก� ำหนดต่อไป ว่า ในกรณีที่เป็นที่สงสัย ให้สันนิษฐานไว้ ก่อนว่าเป็นสินสมรสนั้น จากหลักกฎหมายข้างต้น เมื่อน� ำ ทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งล้วนแต่เกิดจาก การสร้างสรรค์ จะเห็นได้ว่า ประการที่ ๑ แม้คู่สมรสจะถือว่า เป็นบุคคลที่มีความส� ำคัญต่อผู้สร้างสรรค์ งาน แต่ไม่ปรากฏความสัมพันธ์หรือจุด เกาะเกี่ยวกับงานที่สร้างสรรค์แต่ประการ ใด จึงไม่มีเหตุผลที่กฎหมายจะให้ความ คุ้มครองหรือประโยชน์แก่ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง ประการที่ ๒ สิทธิในทรัพย์สิน ทางปัญญา มิได้เป็นสิทธิในทางเศรษฐกิจ แต่เพียงประการเดียว อาทิเช่น “ธรรม สิทธิ” ในกฎหมายเรื่องลิขสิทธิ์อันเป็น สิทธิของผู้สร้างสรรค์ในการที่จะปกป้อง ชื่อเสียงเกียรติคุณของผู้ สร้ างสรรค์ อันอาจมาจากการกระท� ำในลักษณะต่าง ๆ ของบุคคลอื่น เช่น การดัดแปลง ตัดทอน งานให้เสียรูป หรือการที่บุคคลใดแอบ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=