สำนักราชบัณฑิตยสภา
ไชยยศ เหมะรัชตะ 599 วารสาร ราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๔ บทคัดย่อ แม้ว่าประเทศไทย จะมีการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๔๕ อันได้แก่ พ.ร.บ.กรรมสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือ ร.ศ. ๑๒๐ แต่เริ่มเข้าสู่ยุคการบังคับใช้ทรัพย์สินทางปัญญาอย่างจริงจัง เมื่อมีการบังคับใช้ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งมีระยะเวลาเพียง ๓๐ ปีเท่านั้น และกฎหมายส่วนใหญ่ที่ถูกตรา ขึ้นนั้นล้วนแต่มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามความตกลงระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสนธิสัญญา ณ กรุง เบิร์น และล่าสุดก็คือ ข้อตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (TRIPs) และ ทริปส์ ผนวก (TRIPs-PLUS) ซึ่งให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ก้าวล่วงไปเกินกว่าความรู้ความเข้าใจของคนไทยทั่วไป เช่น การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตา เช่น เสียง กลิ่น รส และเรื่องอื่น ๆ ไปจนถึงการ เสนอให้มีการบังคับใช้กฎหมายอาญาเพื่อลงโทษผู้ซื้อสินค้าที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา อันเป็นการแสดงถึงความ พยายามอย่างยิ่งยวดของหน่วยงานของรัฐที่จะปฏิบัติตามพันธะกรณีเหล่านั้น เนื้อหาของบทความนี้ จะเป็นการรายงานถึงผลการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดจากการบังคับใช้กฎหมาย ทรัพย์สินทางปัญญาทั้งที่เป็นส่วนข้อเท็จจริง และความเห็นของผู้เขียน เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถน� ำไปใช้เป็น ข้อมูลในการปรับปรุงกฎหมายต่อไป ซึ่งพบว่า ปัญหาทางปฏิบัติส่วนใหญ่ เกิดจากการขาดความเข้าใจพื้นฐาน ในเรื่องวัตถุประสงค์ของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา และมีบทบัญญัติที่ไม่เพียงพอต่อการรองรับการบังคับใช้ กฎหมายในกลุ่มนี้ จึงควรจะได้มีการศึกษา และแก้ไขความบกพร่องดังกล่าวอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ประเทศไทยมี ความพร้อมในระดับที่สามารถใช้บทบัญญัติเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ก่อนที่จะอนุวัติกฎหมายอื่น ๆ เพื่อ ให้เป็นไปตามพันธะกรณีที่มีต่อนานาประเทศ ๑ นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ลักษณะต่าง ๆ ของทรัพย์สินทางปัญญามีการจ� ำแนกไว้ถึง ๑๘ ประการ โปรดศึกษาเพิ่มเติมใน ไชยยศ เหมะรัชตะ, อัตลักษณ์ ของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา, Chulalongkorn Review, ปีที่ ๑๙ ฉบับที่ ๗๔ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๐, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หน้า ๕๘-๖๗ บทน� ำ โดยเหตุที่ระบบความคิดในเรื่อง ทรัพย์ สินทางปัญญามิได้ เกิดขึ้นจาก ความจ� ำเป็นในสังคมไทย ประกอบกับ ความรีบเร่งในการปฏิบัติตามพันธะกรณี ระหว่างประเทศ ท� ำให้ประเทศไทยต้อง น� ำระบบความคิดโดยที่สังคมไทยไม่มี ความพร้ อมและพยายามน� ำมาใช้ ใน ระบบกฎหมายไทยด้ วยความเข้ าใจ ที่มีอยู่ท� ำให้นักกฎหมายไทยพยายามให้ ค� ำจ� ำกัดความของทรัพย์สินทางปัญญา ในรูปแบบต่าง ๆ โดยอาศัยค� ำจ� ำกัดความ ในบทกฎหมายในเรื่องนั้น ๆ โดยละเลย ที่จะชี้ให้เห็นถึงลักษณะร่วมกันที่ส� ำคัญ ของทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละประเภท ๑ ไชยยศ เหมะรัชตะ ราชบัณฑิต ส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=