สำนักราชบัณฑิตยสภา
การอนุรักษ์โขนหน้าจอ The Journal of the Royal lnstitute of Thailand Volume 36 No. 4 Oct-Dec 2011 586 ๓-๔ ครั้ง แต่ในปัจจุบันปีหนึ่งอาจมีการ แสดงแค่ ๒-๓ ครั้ง ด้วยเหตุนี้เมื่อความ ทราบถึงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีความห่วงใย และมีพระราชประสงค์ที่จะอนุรักษ์ เพื่อ ให้ประชาชนทั่วไปได้รู้จักวิธีการแสดง โขนแบบโบราณที่หาชมได้ยาก และทรง คุณค่าในการอนุรักษ์ ในครั้งนั้นได้ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯบรรเลงระนาดเอก ประกอบการแสดงโขนหน้ าจอ ชุด ศึกทศกัณฐ์ ข า ด เ ศี ย ร ข า ดก ร เมื่อ พุทธศักราช ๒๕๔๕ และในปีต่อมา พุทธศักราช ๒๕๔๖ เนื่องในวันอนุรักษ์ มรดกไทย กรมศิลปากรได้ สนอง พระราชด� ำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้จัดการแสดงโขนหน้าจอ แบบโบราณเรื่องรามเกียรติ์ในตอนที่ คนไทยแต่งขึ้นเอง ไม่ปรากฏอยู่ในเรื่อง รามเกียรติ์ฉบับรามายณะ เพื่อแสดงใน เห็นถึงแหล่งทรัพย์สินทางศิลปวัฒนธรรม ไทยอย่างแท้จริง จึงได้มีการจัดท� ำบทโขน หน้าจอ ชุดศึกวิรุญจ� ำบังขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อขอพระราชทานพระราชวินิจฉัยซึ่ง ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดแสดง และร่วมทรงระนาดเอกประกอบการแสดง โขน แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถ ด้ านดุริยางคศิลป์ และด้ านนาฏศิลป์ รวมทั้งพระราชปณิธานที่มุ่งมั่นในการ อนุรักษ์สืบทอดมรดกทรัพย์สินทางศิลป วัฒนธรรมอย่างแท้จริง นับเป็นพระมหา กรุณาธิคุณที่ได้พระราชทานแก่ เหล่า ศิลปินกรมศิลปากร และประชาชนไทย ทั้งปวงอย่างหาที่สุดมิได้ (กรมศิลปากร ๒๕๔๖ : ค� ำน� ำ) ๓. แมลง การแสดงโขนหน้าจอ ส่วนใหญ่มักจัดการแสดงในต่างจังหวัด ไกล ๆ ในช่วงเวลากลางคืน เมื่อเวทีโขน เปิดแสงไฟพวกแมลงชนิดต่าง ๆ จะบิน มาเล่นไฟเป็นจ� ำนวนมาก เมื่อตัวโขนออก แสดง แมลงเหล่านี้จะเป็นอุปสรรคต่อการ แสดงมาก นอกจากจะเข้าตา เข้าปากแล้ว บางครั้งก็คลานเข้าไปตามร่างกาย ผู้แสดง ที่สวมหัวโขนเมื่อแมลงเข้าไปในหัวโขน ต้องเข้าหลังเวทีทันที เพื่อน� ำแมลงออก ไปไม่เช่นนั้นแมลงจะเข้าหู เข้าตาจนไม่ สามารถแสดงต่อได้ ๔. พลุ ในการแสดงโขนหน้าจอ เจ้าภาพจะนิยมให้มีการจุดพลุ ประทัด คือ เมื่อแสดงโขนไปได้ระยะหนึ่ง ช่วงเวลา เผาจริงคือประมาณ ๒๒.๐๐ น. หลังจาก พิธีกรรมเผาจริงแล้วจะมีการจุดพลุหรือ ประทัด ซึ่งจะเป็นช่วงที่หยุดพักการแสดง โขน แต่จ� ำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ถือไม้ยาว คอยปัดเฝ้าระวัง เพราะพลุหรือประทัด ที่เจ้าภาพจุดนั้น บางครั้งกระเด็นมาถูกจอ การแสดงโขน ถึงกับไหม้ลุกลามจนไม่ สามารถแสดงโขนได้ก็เคย ๕. ควันไฟ จากพลุ หรือประทัด อาจท� ำให้ผู้แสดงโขน นักดนตรี และเจ้า หน้าที่อื่น ๆ เกิดอาการส� ำลักควัน เพราะ ไม่รู้จะไปหลบที่ไหนไกลได้ ๖. ฝน ในบางครั้งอาจมีฝนตก หากฝนตกมากไม่หยุดก็จะงดการแสดง แต่ถ้าหากฝนตกแล้วหยุด ก่อนเวลาเลิก (๒๔.๐๐ น.) ก็จะแสดงต่อ สิ่งที่ต้องระวัง ก็คือไฟฟ้ารั่ว เกิดไฟดูด ซึ่งเคยเกิดขึ้น แล้ว ผู้แสดงขึ้นเวทีจับเสาเหล็กถูกไฟฟ้า ดูดหมดสติ ต้องรีบน� ำส่งโรงพยาบาล การจัดการแสดงโขนหน้าจอใน อดีตเคยมีการแสดงถึงเดือนละประมาณ ข้อควรระวัง การจัดการแสดงโขนหน้าจอ มีข้อ ควรระวังดังนี้ ๑. เวที หากเป็นถังน�้ ำมันปูด้วย แผ่นไม้ ไม่สู้ดีนัก เพราะไม้จะกระดก ไปมา ไม่แน่น เมื่อแสดงโขนแผ่นไม้จะ ยืดหยุ่นมาก ท� ำให้ยืนไม่อยู่ ส่วนแผ่นยาง ที่ใช้ปูบนพื้นไม้ หากปูในช่วงเย็น ก่อน การแสดงโขนหน้าไฟจะท� ำให้แผ่นยาง ร้อนจากแสงแดดมาก ผู้แสดงโขนถึงกับ ไม่สามารถอยู่นิ่งได้ หากเป็นโขนตัวลิง ก็กระโดดไปมาได้ เพราะฉะนั้นช่วงเย็น จึงห้ามปูแผ่นยางเป็นอันขาด เมื่อแดดร่ม แล้วจึงน� ำแผ่นยางมาปู สาเหตุที่ต้องปู แผ่นยางเพราะกันเสี้ยนไม้ต� ำเท้าผู้แสดง นอกจากนี้ส่วนประกอบของเวทีก็เกิด อุปสรรคต่อการแสดง คือผ้าม่านที่ติด บนประตูทางเข้า-ออก หากผู้แสดงที่สวม ชฎาไม่ทันระวัง เมื่อออกแสดงปลายยอด หลุดติดกับผ้าม่าน ผู้แสดงวิ่งออกไปต้อง รีบกลับเข้ามาสวมยอด หรือผู้แสดงที่สวม หัวโขนก็ตาม ปลายยอดมักจะติดผ้าม่าน ถึงกับผงะหงายหลังก็มี ๒. ไฟฟ้า การจัดสร้างเวทีโขน หน้าจอมีการติดตั้งไฟฟ้าโดยรอบเพื่อให้ แสงสว่าง ซึ่งมีการติดตั้งทั้งด้านบน ด้าน ข้าง และด้านหน้าเวที ไฟฟ้าที่ติดด้าน หน้าเวที เมื่อผู้แสดงออกนั่ง โดยเฉพาะ โขนตัวเสนายักษ์ เสนาลิง ที่นั่งแถวนอก จะต้องนั่งติดกับไฟฟ้าที่ติดตั้งไว้ด้านหน้า ซึ่งมีความร้อนสูงมาก จะขยับหนีได้ก็ไม่ มากนักเพราะรูปแบบแถวถูกก� ำหนดไว้ แล้ว ไหนอุณหภูมิที่มีความร้อนอยู่แล้ว เครื่องแต่งกายที่ค่อนข้างหนา ยังมาเจอ กับหลอดไฟฟ้าที่มีความร้อนสูง ท� ำให้ยิ่ง ทวีคูณความร้อนมากขึ้นไปอีก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=