สำนักราชบัณฑิตยสภา

ไพโรจน์ ทองค� ำสุก 583 วารสาร ราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๔ ได้ยินเสียงดนตรีก็จะรีบเดินทางมาชม การแสดงโขน เป็นการเผื่อเวลาในการ เดินทางของชาวบ้าน ๓. ผู้แสดงโขนหน้าจอ ตัวที่เป็น เสนา นางก� ำนัล จะต้องคลานออกไปนั่ง เฝ้าก่อนที่ตัวนายจะเดินออก เมื่อจบการ แสดงตัวนายจะเดินเข้า พวกเสนายักษ์เดิน ตาม นางก� ำนัลสอดสร้อยตาม ส่วนเสนา ลิงก็คลานในท่าลิงเข้าโรง ๔. ต� ำแหน่ งในการนั่งของผู้ แสดงโขนหน้าจอ จะต้องนั่งตามความยาว ของเวทีที่ใช้แสดง พวกเสนาจะนั่งคู่กัน หันหน้าเข้าหานาย หันข้างตัวให้ผู้ชม ส่วนต� ำแหน่งการตั้งเตียง ฝ่ายพระจะตั้ง ด้านซ้าย ประกอบด้วยเตียงใหญ่ (พระราม) และเตียงเล็ก (พระลักษมณ์)โดยตั้งให้ เตียงใหญ่อยู่ด้านนอกเอียงเข้าหาผู้ชม เล็กน้อย ถ้ามีนางสีดาก็ให้นั่งเตียงใหญ่ กับพระราม โดยนั่งด้ านขวามือของ พระราม ส� ำหรับต� ำแหน่งการนั่งของพิเภก และพญาวานร จะนั่งตรงกลางระหว่าง สิบแปดมงกุฎ โดยเรียงล� ำดับดังนี้ พิเภก ชามพูวราชสุครีพหนุมานชมพูพาน องคต และนิลนนท์ ส่วนต� ำแหน่งการตั้งเตียงฝ่าย ยักษ์จะตั้งด้านขวา ส� ำหรับมโหทรและ เปาวนาสูรนั้นจะนั่งหัวแถวของเสนายักษ์ โดยนั่งให้เหลื่อมหน้าเล็กน้อย ๕. การเข้าออกของผู้แสดง เมื่อ การตั้งเตียงถูกก� ำหนดไว้ชัดเจน การเข้า ออกก็เหมือนกัน หากเป็นฝ่ายพระ จะออก ด้านซ้าย (ของผู้ชม) และเข้าด้านซ้าย ส่วนฝ่ายยักษ์จะออกด้านขวาแล้วเข้า ด้านขวา โดยเฉพาะการออกว่าราชการ แล้วไปจัดทัพของทั้ง ๒ ฝ่าย แต่ถ้าเป็น การออกกราวผู้แสดงจะออกจากด้านซ้าย (ของผู้ชม) แล้วเข้าด้านขวา ทั้งฝ่ายพระ และฝ่ายยักษ์ ๖. บทโขน เนื่องจากการแสดง โขนหน้าจอไม่มีม่านปิดเปิด ไม่มีฉาก ประกอบการแสดง การเขียนบทจึงจ� ำเป็น อย่างยิ่งที่จะต้องมีความต่อเนื่องกัน และ จะต้องระบุตัวโขนเข้า ออกให้ชัดเจน บทโขนหน้าจอ ผู้พากย์จะต้องจดจ� ำบท สามารถเจรจาด้นโต้ตอบกันให้ได้อย่าง แม่นย� ำ เจรจาด� ำเนินเนื้อเรื่องต่อกับบท พากย์ให้ได้อย่างคล้องจอง ๗. ในการแสดงโขนจะมีผู้พากย์ เจรจาแทน ซึ่งมีต� ำแหน่งยืนพากย์ คือ ถ้าเป็นผู้พากย์ฝ่ายไหนก็ยืนด้านนั้น โดย ไม่ดูบท ผู้พากย์จะมีเฉพาะผู้ชายเท่านั้น แม้จะพากย์แทนตัวนางก็ตาม แต่ทั้งนี้ ก็จะมีวิธีการคัดเลือก หากพากย์ตัวยักษ์ ก็จะใช้ผู้ที่มีน�้ ำเสียงใหญ่ ดุดัน พากย์ ตัวพระก็จะใช้ผู้ที่มีน�้ ำเสียงทุ้ม นุ่มนวล พากย์ตัวนางก็จะใช้ผู้ที่มีน�้ ำเสียงอ่อน หวาน นุ่มนวล (แต่ไม่ต้องดัดเสียง) ๘. การบอกบทร้องตามจารีต โขนหน้าจอ ผู้พากย์ เจรจาโขน จะบอก บทร้องด้วยเสียงดัง น� ำก่อนนักร้องทุกครั้ง จากนั้นนักร้องจึงร้องตาม ท� ำให้ผู้แสดง รู้บทก่อนที่จะร� ำ สามารถประดิษฐ์คิด กระบวนท่าได้อย่างงดงาม ๙. การเรียกเพลงหน้ าพาทย์ ผู้พากย์จะเรียกเพลงหน้าพาทย์หลังจาก จบการพากย์ เจรจา เพื่อให้ผู้บรรเลง ดนตรีบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ให้ตัวโขนร� ำ การเรียกเพลงหน้าพาทย์จะมีค� ำว่า บัดนั้น หรือบัดนี้ แล้วจึงบอกเพลงหน้าพาทย์ ที่จะให้นักดนตรีบรรเลง ๑๐. การแผลงศรในการแสดงโขน หน้าจอ วิธีแสดงโขนหน้าจอ ซึ่งส่วน ใหญ่จะเป็นเรื่องของการต่อสู้ระหว่าง พระราม และทศกัณฐ์ ฝ่ายยักษ์ เมื่อ พระรามท� ำท่าแผลงศรออกไป จะมีตัว ตลกโขนถือลูกศร วิ่งออกจากประตูด้าน พระราม (ด้านซ้าย) แล้ววิ่งไปหาฝ่ายยักษ์ ที่เป็นคู่ต่อสู้ โดยน� ำลูกศรเข้าตีกับคันศร ของฝ่ายยักษ์ จากนั้นตัวตลกก็น� ำลูกศรปัก ที่อกยักษ์ ปี่พาทย์ก็จะท� ำเพลงโอดทันที นอกจากนี้ตัวตลกโขนจะมีหน้าที่ จัดเตียง จัดอุปกรณ์ ประกอบ และจัดโรง พิธีในตอนนั้น ๆ ผู้ชมต้องท� ำประหนึ่ง ว่าไม่เห็นตัวตลกพวกนี้ การแต่งตัวของ ตัวตลก คือสวมเสื้อสีแดงเข้ม ลายเป็นทาง แขนยาว นุ่งโจงกระบวนผ้าพิมพ์ลาย มี ผ้าคาดเอว สวมหมวกหูกระต่าย หากตัว ตลกต้องการให้ผู้ชมเห็นตัวต้องเปลี่ยน ศีรษะ เช่น ถือกลดพระรามก็สวมหัวลิง ถือกลดทศกัณฐ์ก็สวมหัวยักษ์ เป็นตลก ฝ่ายไหนก็สวมหัวฝ่ายนั้น

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=