สำนักราชบัณฑิตยสภา
ไพโรจน์ ทองค� ำสุก 581 วารสาร ราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๔ การแสดงโขนใช้ศิลปะการเต้นให้ เข้ากับจังหวะดนตรี และเพลงหน้าพาทย์ เป็นหลัก ด� ำเนินเรื่องด้วยการพากย์-เจรจา ผู้แสดงส่วนใหญ่สวมหัว ใช้วงปี่พาทย์ ประกอบการแสดง ภายหลังมีการร้อง เข้าไปด้วย เรื่องที่แสดงโขนนิยมเล่นเรื่อง รามเกียรติ์ เพียงเรื่องเดียว รามเกียรติ์นั้น แพร่หลายในดินแดนสยามมาแต่โบราณ โดยมีเค้าเรื่องมาจาก มหากาพย์รามายณะ ฉบับทมิฬในอินเดียตอนใต้ มิใช่มาจาก รามายณะ ฉบับวาลมิกิ โดยตรง ชาวสยาม ยกย่องนับถือรามายณะเป็นพิเศษ จึงรับคติ ไว้เต็มที่ โดยผ่านกลุ่มชนชั้นสูง หรือชั้น ปกครอง แม้ไทยจะได้ต้นเค้าเรื่องมาจาก มหากาพย์รามายณะ แต่ไทยก็มิได้คัดลอก เอามาอย่างชนิดค� ำต่อค� ำ หากแต่ได้น� ำมา ปรุงแต่ง ด� ำเนินเรื่องใหม่โดยสอดแทรก คตินิยมแบบไทยเข้าไว้อย่างสมบูรณ์ การ แสดงโขนมีระเบียบวิธีการแสดงที่พัฒนา ไปตามยุคตามสมัยเกิดการแสดงโขนแบ่ง ได้เป็น ๕ ประเภท คือ ๑. โขนกลางแปลง ๒. โขนนั่งราว (โขนโรงนอก) ๓. โขนหน้าจอ ๔. โขนโรงใน ๕. โขนฉาก โขนหน้าจอ การแสดงโขนหน้ าจอ ซึ่งใน ปัจจุบันหาชมได้ยากมาก เป็นการแสดง โขนบนเวทียกพื้นด้วยโครงเหล็ก หรือ ด้วยวิธีการจัดถังน�้ ำมันตั้งเรียงเป็นแนว ยาวจากนั้นจึงน� ำไม้กระดานมาวางใน ลักษณะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แล้วปูทับด้วย ผ้ายางยาวตลอดแนว มีความสูงประมาณ ๕-๗ เมตร กว้าง ๕-๗ เมตร ยาว ๑๖-๑๘ เมตร มีจอผ้าขาวขึงตามความยาวของโรง ด้านล่างของจอผ้าขาวมีตารางประกอบไว้ เพื่อให้นักดนตรีสามารถมองเห็นตัวโขน ได้อย่างชัดเจน สองข้างจอมีประตูส� ำหรับ ผู้แสดงเข้าออก ถัดไปด้านขวามือ (ของ ผู้ชม) มีภาพเขียนเป็นรูปปราสาทราชวัง สมมติเป็นกรุงลงกา หรือเมืองยักษ์ ส่วน ด้านซ้ายมือ มีภาพเขียนเป็นรูปพลับพลา พระราม ด้านหลังจอผ้าขาว และภาพเขียน ทั้งสองจะมีเสาขึ้นอยู่ ๗ ต้นเป็นส่วนที่ ยืดผ้าขาว บนหัวเสาทั้ง ๗ ต้น ประดับ ธงชาติไทย และที่ส� ำคัญ กลางผ้าขาวจะ ติดภาพพระคเณศตรากรมศิลปากร ด้าน หลังของเวทีมีส่วนที่ยกพื้นเป็นที่ตั้งวง ปี่พาทย์ สองข้างที่เป็นประตูเข้าออกจะใช้ ไม้กระดานพาดเป็นทางลาดเพื่อสะดวก ต่อการเข้าออกของนักแสดงโขนที่ต้อง สวมศีรษะ ส่วนสุดท้ายด้านหลังเวทีจะ เป็นที่แต่งตัวและพักผ่อนของนักแสดง มีการตั้งศีรษะครูโดยจัดแบ่งตามจารีต ของการแสดงโขน ให้ฝ่ายพระและลิงอยู่ ด้านซ้าย ฝ่ายยักษ์อยู่ด้านขวา (ของผู้ชม) กับเต้นระบ� ำร� ำเท้า ศิลปะแห่งการเล่นหนังของเราจะมีความเดิมมาว่าได้รับแบบอย่าง มาจากชวามลายูหรือที่ไหนก็ตามที แต่ควรพิจารณาว่าศิลปะแห่งการเต้นเท้าของ ผู้เชิดหนังนั้น ส่วนส� ำคัญจะใช้หลักมาจากไหน เคยสังเกตเห็นนักกระบี่กระบอง ร� ำออกท่าคล้ายท่าของโขนละครอยู่หลายท่า... และยังมีชื่อเพลงประกอบการร� ำการ ต่อสู้ของกระบี่กระบองเป็นอันมากที่มีชื่อเหมือนเพลงของโขนละคร จึงชวนให้คิดว่า ท่าเต้นของผู้เชิดหนังแต่เดิมคงจะเอามาหรือดัดแปลงมาจากท่าร� ำต่อสู้แบบ วีรชัย (War Dance) เช่นร� ำกระบี่กระบองด้วยก็ได้ และศิลปะของการเต้นโขนบางอย่างบาง ตอนก็ได้มาจากท่ากระบี่กระบองด้วย.... จึงเห็นได้ว่าโขนน� ำเอาศิลปะของการเล่นหลาย อย่างมาผสมกัน” (ธนิต อยู่โพธิ์ ๒๕๑๑ : ๒๑-๒๒)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=