สำนักราชบัณฑิตยสภา
การอนุรักษ์โขนหน้าจอ The Journal of the Royal lnstitute of Thailand Volume 36 No. 4 Oct-Dec 2011 580 * บทความนี้ปรับปรุงจากการบรรยายผลงานทางวิชาการในที่ประชุมส� ำนักศิลปกรรม เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ บทน� ำ โขน เป็นมหรสพที่มีความส� ำคัญยิ่ง เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติที่มี ประวัติความเป็นมาน่าศึกษาค้นคว้าอย่าง ยิ่ง เป็นศิลปะชั้นสูงแห่งราชส� ำนักที่มีมา ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นจุดก� ำเนิด แห่งความเชื่อ ความศรัทธาทางศาสนา เป็นนาฏกรรมเพื่อการสรรเสริญ เทิดทูน บูชา และแสดงความจงรักภักดีต่อองค์ พระมหากษัตริย์ โขนจึงเป็นเสมือนหนึ่ง เครื่องราชูปโภคส่วนพระองค์พระมหา กษัตริย์ โขนเป็นเอกลักษณ์ที่แสดงให้เห็น ถึงความเป็นชาติ ความเจริญรุ่งเรือง ซึ่ง บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์ไว้ให้เป็นสมบัติ อันน่าภาคภูมิใจ โขนมีวิวัฒนาการสืบเนื่องมาตั้งแต่ อดีตจนถึงปัจจุบัน นายธนิต อยู่โพธิ์ อดีต อธิบดีกรมศิลปากร ได้สันนิษฐานเกี่ยวกับ ที่มาของการเล่นโขนไว้ว่า ไทยเรารับ ต้นแบบเดิมของการเล่นดึกด� ำบรรพ์ หรือชักนาคดึกด� ำบรรพ์เข้ามาแล้วน� ำมา ประดิษฐ์ดัดแปลงน� ำศิลปะชนิดต่าง ๆ ของหนังใหญ่และกระบี่กระบอง เข้ามา ผสมผสานในภายหลัง เกิดเป็นนาฏกรรม ที่เรียกว่า “โขน” ดังความที่เขียนไว้ใน หนังสือ โขน ว่า บทคัดย่อ โขน เป็นนาฏกรรมชั้นสูงอย่างหนึ่งของไทยที่มีมาแต่โบราณ การแสดงโขนนั้นมีวิวัฒนาการมาอย่างต่อ เนื่อง รูปแบบของการแสดงแบ่งได้เป็น ๕ ประเภท ประกอบด้วย โขนกลางแปลง โขนนั่งราว โขนหน้าจอ โขน โรงใน และโขนฉาก ส� ำหรับการแสดงโขนหน้าจอนั้น จะจัดแสดงในงานพระราชพิธีเฉลิมฉลองในโอกาสต่าง ๆ นอกจากนี้ยังจัดแสดงในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ และนิยมจัดแสดงในงานศพของบุคคลทั่วไป แต่ในปัจจุบันหาชมได้ยากมาก การแสดงโขนหน้าจอมีเอกลักษณ์เฉพาะคือ จัดแสดงกลางแจ้ง สร้างเป็นเวที มีจอ อยู่ด้านหลังเวที โดยด้านขวามือ (ของผู้ชม) เขียนภาพปราสาทราชวัง สมมติเป็นกรุงลงกา หรือเมืองยักษ์ ส่วน ด้านซ้ายมือ เขียนภาพพลับพลา สมมติเป็นที่พักของกองทัพพระราม ตรงกลางเป็นผ้าขาวจอด้านหลังทั้งหมดจะ มีเสาขึ้นอยู่เจ็ดต้นเป็นส่วนที่ยืดผ้าขาว ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงคือวงปี่พาทย์ ในอดีตมีการจัดการแสดงอย่าง ต่อเนื่องเดือนหนึ่งประมาณ ๔-๕ ครั้ง แต่ในปัจจุบันมีการจัดการแสดงปีหนึ่งประมาณ ๒-๓ ครั้งเท่านั้น ค� ำส� ำคัญ : โขนหน้าจอ การอนุรักษ์โขนหน้าจอ * ไพโรจน์ ทองค� ำสุก ภาคีสมาชิก ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน “การเล่นโขนน่าจะมาจากเล่นหนัง ซึ่งก็อาจเป็นไปได้เพราะมีบทพากย์ เจรจา เรื่อง รามเกียรติ์ส� ำหรับเล่นหนังที่นับว่าเป็นวรรณคดีรุ่นเก่าถึงสมัยกรุง ศรีอยุธยาเหลือปรากฏอยู่... บทที่ใช้ส� ำหรับศิลปะของการเล่นหนังมีแต่ค� ำพากย์ และค� ำเจรจา แต่ผู้เชิดหนังต้องใช้ไม้ทั้งสองถือไม้ทาบตัวหนังแล้วก็ใช้เท้าเต้น ออกท่าไปตามค� ำพากย์ ค� ำเจรจา และตามเพลงหน้าพาทย์ของปี่พาทย์ คล้าย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=