สำนักราชบัณฑิตยสภา

จินตนา ด� ำรงค์เลิศ 575 วารสาร ราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๔ อีล แบร์ พ า โส เ ภณีชื่อ เ ร อ เน (Renée) ไปที่โรงแรม ตั้งใจไว้ว่าจะฆ่า หล่อนเป็นรายแรก แต่แล้วก็ไม่ได้ท� ำ เขา ทิ้งเงินให้หล่อนจ� ำนวนหนึ่งและจากมา เฉย ๆ ท� ำให้เรอเนประหลาดใจมาก อีลแบร์ บันทึกว่า “นี่แหละสิ่งที่ผมต้องการ ท� ำให้ ผู้คนประหลาดใจ” (Sartre 2007: 86) อื่น อีลแบร์หาสถานที่ซึ่งเอื้อต่อการล่า เหยื่อของเขามากขึ้น ในวันอาทิตย์ เขาจึง ไปที่ชัตเล (Châtelet) ยืนคอยอยู่ที่หน้า โรงแสดงคอนเสิร์ตคลาสสิกจนถึงเวลา เลิก ผู้คนหลั่งไหลเดินออกมา อีลแบร์เล่า ถึงจินตนาการของเขาว่า เขากลับมาบ้านและนอนหลับฝันร้ายถึง ผู้หญิงคนนั้นอีกหลายคืน หลังจากวันนั้น อีลแบร์พกปืนติดตัวเมื่อออกจากบ้าน เสมอ เขามักจะเดินตามหลังผู้คนที่สัญจร บนถนน นึกจินตนาการว่าพวกเขาล้มลง และเขายืนยิงคนเหล่านั้น (Sartre 2007: 86) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ว่าเขาเหนือกว่าบุคคล การที่อีลแบร์ตั้งเป้าหมายในชีวิต ไว้แค่การฆ่าคนโดยไร้เหตุผล แสดงให้ เห็นว่าอีลแบร์เป็นตัวเอกปฏิลักษณ์ เป็น ผู้ขาดเกียรติยศ ขาดศักดิ์ศรี มีเป้าหมาย ชีวิตที่ต�่ ำต้อยและเป็นไปในทางท� ำลาย ซึ่งเทียบไม่ได้เลยกับตัวเอกที่รู้จักกันดีเช่น อินทรีแดง ซูเปอร์แมน หรือไอ้แมงมุม ตัวละครเอกที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นเป็นผู้ ที่รักเพื่อนมนุษย์ กล้าหาญและเสียสละ ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เสมอ ตัวละครแบบ ปอล อีลแบร์ปรากฏในวรรณกรรมสมัย คริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ หลายเรื่อง เป็น ตัวละครธรรมดาในสังคมและมีบทบาท ไม่ส� ำคัญ ซึ่งสะท้อนภาพสังคมฝรั่งเศส ในยุคที่มีความเจริญทางวัตถุมากเป็น สังคมที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของเศรษฐกิจ แบบทุนนิยมและเสรีนิยมที่บดขยี้มนุษย์ จนโดดเดี่ยว อ้างว้าง เหงา เบื่อ ฌ็อง-ปอล ซาทร์ เสนอภาพตัวละครเหล่านี้ โดย เฉพาะผู้ที่อยู่ในกรุงปารีสว่ามีชีวิตที่จ� ำเจ ดังค� ำว่า “Métro-Boulot-Dodo” กล่าว คือ ตื่นเช้ามานั่งรถไฟใต้ดิน (métro) เพื่อ ไปท� ำงาน (boulot) เย็นก็กลับบ้านนอน (dodo) ท� ำให้ไม่มีเวลาคิดสร้างสรรค์หรือ สันทนาการกับผู้อื่น ปอล อีลแบร์ ก็เป็น ตัวละครหนึ่งที่สะท้อนภาพนี้ เขาเบื่อ หน่ายกับสภาพชีวิตที่ต�่ ำต้อย ไร้ความ ส� ำคัญ จึงปรารถนาที่จะกระท� ำการบาง สิ่งบางอย่างเพื่อดึงดูดความสนใจจาก ผู้คนในสังคมด้วยการฆ่าคน เขาวิเคราะห์ ตนเองและแผนฆาตกรรมนี้ว่า ...ผมเลื่อนมือขวาลงไปในกระเป๋าและก� ำด้ามปืนแน่น สักครู่ต่อมาผมเห็น ตัวเองก� ำลังลั่นปืนยิงพวกเขา (ที่เดินออกมาจากโรงแสดงคอนเสิร์ต) จนล้มกลิ้ง ทับถมกัน พวกที่รอดชีวิตมีสีหน้าหวาดกลัว วิ่งฝ่าประตูกระจกเข้าไปในโรงแสดง คอนเสิร์ต นี่เป็นเกมรบกวนประสาท มือผมสั่นระริกจนต้องไปนั่งดื่มเหล้าที่ร้าน เดรอแอร์เพื่อสงบสติอารมณ์ (Sartre 2007: 86-87) ...เมื่อผมลงไปเดินในถนน ผมรู้สึกว่าตัวผมมีพลังประหลาด ผมพกปืนไว้กับ ตัว เจ้าปืนนี้เป็นสิ่งซึ่งระเบิดและส่งเสียงดัง แต่ทว่าความมั่นใจของผมมิได้มาจาก ปืนกระบอกนี้ หากแต่มาจากตัวผมเอง ผมเป็นคนประเภทปืนพก ประทัด และลูก ระเบิด วันหนึ่งที่ปลายทางชีวิตเศร้าของผม ผมก็จะระเบิด ผมจะท� ำให้โลกสว่างไสว ด้วยเปลวไฟที่ลุกโชน และดับลงภายในชั่วพริบตาประดุจสายฟ้าแมกนีเซียม... (Sartre 2007: 88-89)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=