สำนักราชบัณฑิตยสภา

จินตนา ด� ำรงค์เลิศ 573 วารสาร ราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๔ ที่มาของชื่อเอร็อสทรัต ชื่อเอร็อสทรัต (É Érostrate ) ตรงกับ ภาษากรีกว่า Hêrostratos เป็นชาวเมือง เอฟิเซิส ( Ephesus ) ซึ่งเป็นเมืองท่าเรือ ในเอเชียไมเนอร์ และเป็นที่ตั้งวิหารของ เทพีอาร์เทอมิส ( Artemis ) ธิดาของซุส ( Zeus )ซึ่งวิหารนี้เป็น๑ใน๗สิ่งมหัศจรรย์ ของโลก เอร็อสทรัตเป็นชายหนุ่มสามัญ ชนผู้ไม่มีความส� ำคัญแต่อย่างใด วันหนึ่ง เขาปรารถนาจะให้โลกจดจ� ำการกระท� ำ ของเขา จึงได้เผาวิหารของเทพีอาร์เทอมิส ลงเสียในวันเดียวกับวันเกิดของพระเจ้า อเล็กซานเดอร์มหาราช ในเรื่อง Érostrate ของฌ็อง-ปอล ซาทร์ มาเซ ( Massé ) เพื่อนของตัวเอกของเรื่องคือ ปอล อีลแบร์ (Paul Hilbert) กล่ าวว่ าผู้ คนจ� ำชื่อ สถาปนิกผู้สร้างวิหารอันงดงามที่ถูกเผา ไปไม่ได้ แต่กลับจ� ำชื่อเอร็อสทรัตผู้เผา วิหารได้ แสดงว่าเอร็อสทรัตประเมิน ถูกแล้วที่ไปเผาวิหารของเทพีอาร์เทอมิส อีลแบร์ เล่าว่า “...เอร็อสทรัตตายไปแล้ว กว่าสองพันปี แต่การกระท� ำของเขายัง เปล่งประกายประดุจเพชรสีด� ำ...” (Sartre 2007: 88) อีลแบร์จึงประสงค์จะเดิน รอยตามเอร็อสทรัต เรื่องสั้น Érostrate ของฌ็อง-ปอล ซาทร์ ฌ็อง-ปอล ซาทร์ด� ำเนินเรื่องราว โดยใช้สรรพนาม “ Je (ผม)” เป็นผู้เล่า ผู้อ่านไม่รู้จักชื่อของเขาเมื่อเริ่มต้นเรื่อง แต่จะรู้ภายหลังว่าเขาชื่อปอล อีลแบร์ ผู้ ประกาศตนว่าเป็นศัตรูตัวฉกาจของมนุษย์ อีลแบร์เช่าห้องพักอยู่ชั้นที่ ๖ ของอาคาร ซึ่งท� ำให้เขารู้สึกว่าอยู่เหนือผู้คนที่เดิน ขวักไขว่อยู่บนทางเท้าข้างถนน อีลแบร์ เล่าว่าเขาชอบยืนมองผู้คนที่ระเบียงชั้น ๖ เช่นเดียวกับชอบสถานที่ที่มีความสูงแห่ง อื่นด้วย เขาเล่าว่า ที่ระเบียงชั้น ๖ นี่แหละที่ผมอาจอยู่ได้ตลอดชีวิต เราต้องใช้สัญลักษณ์ทางวัตถุมาค�้ ำจุน ความสูงส่งด้านศีลธรรม หาไม่แล้วศีลธรรมจะพังทลาย กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ความ สูงส่งที่ผมมีเหนือคนอื่น ๆ นั้น ไม่ใช่อะไรเลยนอกจากตัวผมที่อยู่สูงกว่าคนอื่น ๆ ผมยืนอยู่เหนือมนุษย์ ซึ่งตัวผมเองก็เป็นมนุษย์ด้วย และผมก็พินิจพิจารณาความเป็น มนุษย์ นี่เป็นเหตุผลว่าท� ำไมผมถึงชอบหอวิหารนอทร-ดาม ระเบียงหอไอเฟล วิหาร ซาเคร-เกอร์ ชั้นที่ ๖ ที่ถนนเดอล็องบร์ สถานที่เหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ที่วิเศษ (Sartre 2007: 79-80) บางครั้งผมจ� ำเป็นต้องลงไปในถนน ตัวอย่างเช่น ไปท� ำงาน ผมรู้สึกอึดอัดหายใจไม่ ใคร่ออก เมื่อต้องยืนอยู่ระดับเดียวกับคนอื่น เป็นการยากมากกว่าที่จะมองพวกเขาเป็น เหมือนมด พวกเขา สัมผัส เรา... (Sartre 2007: 80) อีลแบร์ใช้รายละเอียดทางกายภาพ เป็นสิ่งสนับสนุนความมั่นใจว่าตนเอง สูงส่งเหนือบุคคลอื่น เขาไม่ชอบเดินตาม ท้องถนนเพราะท� ำให้เขาเสี่ยงที่จะสัมผัส กายของคนที่เดินผ่านไปมา เขาบรรยายว่า ความรู้สึกเกลียดคนอื่นหรือเพื่อน มนุษย์ปรากฏในวรรณกรรมหลายเรื่อง อย่างต่อเนื่อง ก่อนหน้านี้ซาทร์เขียน นวนิยายเรื่อง La Nausée ใน ค.ศ. ๑๙๓๘ ซึ่งแปลว่า อาการคลื่นเหียนอยากอาเจียน ตัวเอกคือ รอก็องแต็ง (Roquentin) เป็น ชายหนุ่มธรรมดาคนหนึ่งที่เบื่อหน่าย ความจ� ำเจซ�้ ำซากของชีวิตและสังคม ขาด ความนับถือในเพื่อนมนุษย์ ความรู้สึก นึกคิดเช่นนี้ปรากฏชัดเจนในผลงานละคร เรื่อง Huis Clos (ทางตัน ) ซึ่งพิมพ์เผย แพร่ใน ค.ศ. ๑๙๔๔ หลังจากเขียนเรื่อง

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=