สำนักราชบัณฑิตยสภา

เอร็อสทรัต (Erostrate) : กรณีศึกษาตัวเอกปฏิลักษณ์ The Journal of the Royal lnstitute of Thailand Volume 36 No. 4 Oct-Dec 2011 572 * บทความนี้ปรับปรุงจากการบรรยายผลงานทางวิชาการในที่ประชุมส� ำนักศิลปกรรม เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ บทน� ำ Érostrate เป็นชื่อเรื่องสั้นซึ่ง ฌ็อง-ปอล ซาทร์ (Jean-Paul Sartre) เขียนขึ้นและพิมพ์เผยแพร่ใน ค.ศ. ๑๙๓๙ โดยรวมเล่มกับเรื่องสั้นอื่น ๆ ของเขาอีก ๔ เรื่อง ได้แก่ Le mur, La chambre, Intimité และ L’enfance d’ un chef ประเด็นส� ำคัญที่จะศึกษาในบทความ นี้เกี่ยวกับลักษณะและพฤติกรรมของ ตัวเอกปฏิลักษณ์ (anti-hero) ในเรื่อง Érostrate พจนานุกรมศัพท์ วรรณกรรม อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (๒๕๔๕:๒๗) ให้ค� ำอธิบาย “ตัวเอก ปฏิลักษณ์ (anti-hero) ” ไว้ดังนี้ บทคัดย่อ เอร็อสทรัตเป็นชื่อเรื่องสั้นซึ่ง ฌ็อง-ปอล ซาทร์ เขียนขึ้นและพิมพ์เผยแพร่ใน ค.ศ. ๑๙๓๙ ตัวเอก ของเรื่องนี้ชื่อ ปอล อีลแบร์ มีลักษณะเป็นตัวเอกปฏิลักษณ์ กล่าวคือ ท� ำงานเป็นลูกจ้างระดับไม่ส� ำคัญ เกลียดการ สัมผัสเพื่อนมนุษย์ เบื่อชีวิตที่จ� ำเจซ�้ ำซาก วันหนึ่งเขาเกิดความคิดที่จะท� ำให้ตัวเองเด่นดังขึ้นมาเช่นเดียวกับเอร็อส ทรัต ผู้เผาวิหารของเทพีอาร์เทอมิส ธิดาของซุส วิหารนี้เป็น ๑ ใน ๗ สิ่งมหัศจรรย์ของโลก เขาซื้อปืนพกมาและ น� ำไปยิงชายอ้วนคนหนึ่งซึ่งเขาไม่รู้จักที่กลางถนน หลังจากนั้นเขาจึงวิ่งไปขังตัวเองอยู่ในห้องสุขาของร้านกาแฟ แห่งหนึ่ง พยายามจะฆ่าตัวตายแต่ก็ไม่กล้าท� ำ กลับออกมามอบตัวในที่สุด ค� ำส� ำคัญ : ตัวเอกปฏิลักษณ์, เอร็อสทรัต, ฌ็อง-ปอล ซาทร์ เอร็อสทรัต ( É rostrate): กรณีศึกษาตัวเอกปฏิลักษณ์ * จินตนา ด� ำรงค์เลิศ ภาคีสมาชิก ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน ตัวเอกที่มิได้แสดงให้เห็นประจักษ์ว่ามีความยิ่งใหญ่ มีศักดิ์ศรี มีอ� ำนาจและมี ความกล้าหาญเมื่อเผชิญกับชะตากรรมดังเช่นตัวเอกในโศกนาฏกรรมสมัยก่อน แต่เป็นผู้ที่ไม่มีความส� ำคัญ ไร้เกียรติยศ ไร้อ� ำนาจ หรือไม่ยอมต่อสู้ดิ้นรน ตัวเอก เช่นนี้มีอยู่เสมอในบทละคร และบันเทิงคดีประเภทร้อยแก้วในปัจจุบัน ตัวเอกปฏิลักษณ์ในวงวรรณคดี ฝรั่งเศสปรากฏในผลงานวรรณกรรม จ� ำนวนมากตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้ง ที่ ๑ การที่มนุษย์ขัดแย้งกันจนถึงกับฆ่า กันตายจ� ำนวนนับล้านคนในสงคราม ท� ำให้นักคิดนักเขียนฝรั่งเศสหลายคนเกิด วิกฤตจิตส� ำนึก (crise de conscience) ซึ่งแสดงออกมาในงานเขียนของพวกเขา เช่น ความสูญสิ้นศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า การต่อต้านความคิดแบบเก่า ตัวเอก ปฏิลักษณ์ก็เป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่ สะท้อนวิกฤตจิตส� ำนึกดังกล่าว ในเรื่อง Érostrate ฌ็อง-ปอล ซาทร์ใช้ค� ำว่า “ตัวเอกสีด� ำ ( héros noir )” (Sartre 2007: 87) ที่มีลักษณะเหมือน “มนต์ด� ำ (Magie noire) ” ซึ่งตรงข้ามกับ “ตัวเอก สีขาว (héros blanc)” (Sartre 2007: 87)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=