สำนักราชบัณฑิตยสภา

ชวน เพชรแก้ว 569 วารสาร ราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๔ ทั้งหนังสือบุด หนังสือใบลาน และ หนังสือเล่มเล็กที่พิมพ์เผยแพร่ในยุคเก่า ยังคงกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่ ภาคใต้ วรรณกรรมเหล่านี้เป็นมรดก ทางภูมิปัญญาของชาติที่ก� ำลังรอการ เสื่อมสูญ หากไม่สนใจศึกษากันอย่าง จริงจัง การศึกษาแค่ วรรณกรรมทักษิณ : วรรณกรรมคัดสรร ได้เพียง ๘๔ เรื่อง ยังเป็นส่วนเสี้ยวที่น้อยนิดซึ่งไม่เพียงพอ ต่อการอยู่รอดตลอดไปของวรรณกรรม ดังกล่าว อนึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ที่ส� ำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง คือ การเรียนรู้ขอม - บาลี และขอม-ไทย หากในส่วนนี้ผู้รู้ยัง คงหดหายไปเรื่อย ๆ วรรณกรรมจาก หนังสือบุดที่บันทึกด้วยอักษรขอมก็คงมี โอกาสแพร่หลายได้ยาก การฟื้นกลับไป เรียนรู้สิ่งดังกล่าวน่าจะยังไม่สายเกินไป หากสถาบันการศึกษาที่ชูนโยบายว่า “เป็น สถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น” ด� ำเนินการอย่างจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้ รวม ทั้งหน่วยงานวัฒนธรรมในระดับชาติให้ ความสนใจสนับสนุนด้านวิชาการและ ทุนการศึกษาค้นคว้า การอนุรักษ์ อีกทั้ง ส่งเสริมการน� ำไปใช้ประโยชน์ด้านการ ศึกษาและการพัฒนาอย่างแท้จริง ส่วนเสี้ยวการศึกษาวรรณกรรม ท้องถิ่นภาคใต้ครั้งนี้ ประจักษ์ว่าภาคใต้ คือ คลังวรรณกรรมอันอุดมไปด้วยความ หลากหลายด้านเนื้อหาสาระ ต้นฉบับที่ เป็นหนังสือบุด และใบลาน ซึ่งมีอยู่เป็น อเนกอนันต์นั้น ยังมีหลงเหลือให้ศึกษา โดยเก็บรวบรวมไว้ตามวัดวาอาราม บ้าน ของผู้ใฝ่รู้และเจริญด้วยการศึกษา และ สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ต้นฉบับที่คัด ลอกลงสมุดอย่างฝรั่ง และต้นฉบับที่ บทสรุป สังคมไทยภาคใต้ใช้วรรณกรรม ท้องถิ่นส� ำหรับถ่ายทอดความรู้ ความคิด สร้างคุณลักษณะของผู้คน หรือการใช้ ประโยชน์เพื่อแก้ไขปัญหาบางประการ วรรณกรรมจึงเป็นเครื่องมือส� ำคัญใน การสร้ างพลังให้ สังคมมีสมรรถนะ ศักยภาพ เจตคติ ตลอดจนค่านิยม และ คุณธรรมจริยธรรมตามที่สังคมพึง ประสงค์ สิ่งดังกล่าวช่วยให้ชาวภาคใต้ เป็นผู้รู้จักตนเอง สามารถจัดการตนเอง กับสภาพแวดล้ อมที่ตนด� ำรงอยู่ ได้ ท� ำให้สามารถยืนหยัดด้วยตนเองอย่าง อิสระ มีคุณลักษณะเฉพาะหลายประการ ที่โดดเด่น เช่น เป็นคนชอบสงสัย ไม่เชื่อ อะไรง่าย ๆ รักพวกพ้อง มีวิจารณญาณ ในการตัดสินใจ ยอมรับและปรับเปลี่ยน ความคิดความเชื่อบนฐานของข้อมูลและ ความมีเหตุผล มีแนวทางการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์เป็นของตนเอง ด้วยการตีค่า ปรับรูปแบบตามยุคสมัย และสภาวการณ์ เพื่อน� ำไปใช้ตามความ เหมาะสม พัฒนาการการศึกษาวรรณกรรม ทักษิณและการน� ำวรรณกรรมท้องถิ่น ภาคใต้มากล่าวถึงเพียง ๗ เรื่อง เป็น เพียงส่วนเสี้ยวเล็ก ๆ เพื่อชี้แนะให้เห็นว่า วรรณกรรม คือ ส่วนส� ำคัญของสังคม ภาคใต้ที่ทรงคุณค่ าอย่ างอเนกอนันต์ หากมุ่งศึกษาให้ถึงแก่นสารและน� ำมา ใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง วรรณกรรม ท้องถิ่นดังกล่าวแม้จะสูญเสียไปมาก แต่ ก็ยังมีต้นฉบับหลงเหลือกระจัดกระจาย อยู่ตามวัด และที่เป็นสมบัติส่วนตัวอีก ส่วนหนึ่งประมาณไม่น้อยกว่าหมื่นเล่ม เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ เนื้อเรื่องกล่าวถึงเรื่อง ราวของพลายจ� ำเริญตั้งแต่เกิดจนถึงล้ม ว่าเป็นช้างแสนรู้ มีความรู้สึกนึกคิดและ มีพฤติกรรมคล้ายมนุษย์ รักผู้เลี้ยงที่มี ความเมตตากรุณา ท� ำร้ายผู้เลี้ยงที่หยาบช้า ทารุณ และไม่รักษาสัญญาถึงแก่สิ้นชีวิต เสียมากต่อมาก ผลสุดท้ายช้างเชือกนี้ ถูกช้างเถื่อนรุมแทงจนเสียชีวิต ในเรื่อง นี้นอกจากเล่าเรื่องราวของพลายจ� ำเริญ แล้ว ยังสอดแทรกสาระส� ำคัญเกี่ยวกับ การด� ำรงชีวิต สภาพสังคม ประเพณี วัฒนธรรมของชาวภาคใต้ช่วงนั้นไว้อย่าง น่าสนใจอีกด้วย เกาะตะรุเตาทัณฑสถานประวัติศาสตร์ วรรณกรรมชิ้นนี้เป็นบันทึกส่วน บุคคลที่บันทึกในสมุดฝรั่งของอดีตพัศดี เรือนจ� ำเกาะตะรุเตา เกาะตะรุเตาเป็น ทัณฑสถานกักขังนักโทษทั้งคดีอุกฉกรรจ์ และนักโทษการเมือง เรื่องราวที่บันทึก เป็นเหตุการณ์ระหว่างพ.ศ.๒๔๘๔-๒๔๙๘ สาระส� ำคัญของบันทึก คือ สภาพทาง ภูมิศาสตร์ ของเกาะตะรุเตาขณะนั้น แผนการจัดตั้งเกาะตะรุเตาเป็นที่กักกัน ควบคุมนักโทษ และนิคมฝึกอาชีพผู้ต้อง กักกันสภาพความเป็นอยู่ของนักโทษ ธรรมดาและนักโทษการเมือง การหลบหนี ของนักโทษการเมือง การบริหารงานอย่าง แหลกเหลวและขบวนการคอร์รัปชัน ของเจ้าหน้าที่ และการปราบปรามสลัด ตะรุเตา สาระของบันทึกเรื่องนี้นับเป็น ประสบการณ์อันมีคุณค่าที่ตีแผ่อีกแง่มุม หนึ่งให้ภายนอกได้รับรู้ นับเป็นบันทึก ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่น่าสนใจ ซึ่งหา ได้ยากจากงานในระบบราชการ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=