สำนักราชบัณฑิตยสภา

วรรณกรรมทักษิณ : หลักฐานส� ำคัญของภาคใต้ที่ท้าทายการศึกษา The Journal of the Royal lnstitute of Thailand Volume 36 No. 4 Oct-Dec 2011 568 คุณไสย คุณผี คุณยา การกล่าวถึงพญายา อีกอย่างหนึ่งคือพระไพล การใช้ธรณีสาร ปัดเป่าเสนียดจัญไร และสุดท้ายกล่าวถึง ข้อปฏิบัติส� ำหรับหมอหรือเจ้าพิธี จารึกแผ่นทองที่ปลียอดพระมหาธาตุ เจดีย์นครศรีธรรมราช จารึกแผ่นทองดังกล่าวนี้มีจ� ำนวน มากกว่า ๕๐ แผ่น เย็บต่อกันด้วยเส้น ด้ายทองค� ำเป็นผืนใหญ่หุ้มไว้รอบปลี ยอดพระบรมธาตุ แต่ละแผ่นท� ำขึ้นต่างปี ต่าง พ.ศ. การบูรณปฏิสังขรณ์พระบรม- ธาตุเจดีย์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๓ ช่วยให้ทราบ และกระจ่างในเรื่องราวต่าง ๆ หลาย ประการ จารึกดังกล่าวมีทั้งที่จารึกด้วย อักษรขอม และอักษรไทย การท� ำแผ่นทอง หุ้มปลียอดพระธาตุ เป็นพุทธบูชากระท� ำ กันหลายคราว ศักราชเก่าที่สุดอยู่ในสมัย อยุธยาคือพุทธศักราช ๒๑๕๕ ตรงกับ รัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ จารึกแผ่น ทองที่บอกศักราชมีจ� ำนวน ๑๘ แผ่น ใช้อักษรขอมล้วน ๆ ๙ แผ่น ใช้อักษรไทย ล้วน ๒ แผ่น ใช้อักษรขอมและอักษรไทย จ� ำนวน ๗ แผ่น อักษรไทยที่มีอายุ เก่าที่สุด คือ พ.ศ. ๒๑๕๙ จารึกแผ่น ทองค� ำดังกล่าวนี้ได้ให้ความกระจ่างด้าน พัฒนาการใช้อักษรและอักษรศาสตร์ของ ผู้คงแก่เรียน หรือปราชญ์ชาวบ้านภาคใต้ ได้ แก่ วัฒนธรรมการใช้ อักษรขอม และอักษรไทยในสมัยอยุธยาจนถึงสมัย ต้นรัตนโกสินทร์ กล่าวคือระบุชัดว่า ในแผ่นดินพระเอกาทศรถในภาคใต้ มีการใช้ภาษาไทยกันแล้ว นอกจากนี้ จารึกแผ่นทองชุดดังกล่าวได้แสดงถึง วัฒนธรรมการใช้ศาสนจักรเป็นเครื่อง จรรโลงอาณาจักร อีกทั้งยังเสริมย�้ ำให้ กระจ่างชัดด้านพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ ในภาคใต้ด้วย พระปรมัตถธรรมค� ำกาพย์ วรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ เรื่อง พระปรมัตถธรรม ค� ำกาพย์ เป็ น วรรณกรรมที่บันทึกในหนังสือบุดขาว ที่พบแล้วมีทั้งฉบับสมบูรณ์และที่ช� ำรุด ไม่น้อยกว่า ๓๐ ฉบับ พบกระจายอยู่ ทั่วไปทั่วภาคใต้ มีชื่อเรียกแตกต่างกัน คือ “พระบอริมัด” “พระบอระมัด”“พระ สีบอริมัด” และ “นี่หนาในร่าง” สารัตถะ ส� ำคัญของพระปรมัตถธรรม ค� ำกาพย์ คือ การชี้ให้พุทธบริษัทเข้าถึงเนื้อธรรมขั้น ปรมัตถธรรม (ประโยชน์อย่างยิ่ง, ความ จริงอันเป็นที่สุด, ลึกซึ้งยากที่ปุถุชนจะ เข้าใจได้) อันเป็นปูชนียวัตถุขั้นเอกอุตรง กับนัยของ “รัตนตรัย” หรือ “แก้วสาม ประการ” หรือพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ วรรณกรรมเรื่องนี้แสดง ให้เห็นถึงความเป็นปราชญ์ของผู้รจนาทั้ง ด้านศาสนา ด้านภาษา และวรรณศิลป์ แหล่หมอจันทร์ บทแหล่หมอจันทร์ หรือ แหล่ เทศน์หมอจันทร์ เป็นมุขปาฐะส� ำหรับ แหล่ เล่ าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงกรณี หมอจันทร์ หรือ นายจันทร์ บริบาล ต้อง กลายเป็นฆาตกรยิง พระสถลสถานพิทักษ์ (คออยู่เคียด ณ ระนอง) ผู้ว่าราชการ เมืองตรังถึงแก่ชีวิตและยิง พระยารัษฎา นุประดิษฐ์ (คอซิมบี้ ณ ระนอง) สมุห เทศาภิบาลมณฑลภูเก็ตบาดเจ็บสาหัส และถึงแก่อนิจกรรมขณะพักรักษาตัวอยู่ ณ โรงพยาบาลในภายหลัง ที่ท่าเทียบเรือ สะพานเจ้าฟ้า อ� ำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๕ หมอจันทร์จึงถูกศาลพิพากษาให้ประหาร ชีวิต นับเป็นคดีสะเทือนขวัญอย่างยิ่ง จึงมีนักประพันธ์ในท้องถิ่นน� ำเรื่องนี้มา แต่งเป็นบทแหล่หลายส� ำนวน เพื่อแหล่ เล่าสู่กันฟังอย่างแพร่หลาย จนเป็นที่รู้จัก กันทั่วไปในภาคใต้ มีการโจษขานและ วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง บทแหล่ ดังกล่าวมีผู้จดจ� ำและบันทึกไว้เป็นลาย ลักษณ์ก็มาก บันทึกเหตุการณ์จริงที่ว่า นี้นอกจากเป็นการบันทึกประวัติศาสตร์ ทางหนึ่งแล้ว ยังเป็นอุทาหรณ์เตือนสติ คนทั่วไปว่า ความขัดแย้งเนื่องจากการ ใช้อ� ำนาจของผู้มีอ� ำนาจอาจกลายเป็นช่อง ว่างในการปกครองและรุนแรงจนกลาย เป็นความเคียดแค้นถึงแก่การท� ำลายชีวิต กันได้ เป็นโทษทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องและต่อ ระบบ จนยากที่จะเยียวยาได้ พลายจ� ำเริญ (คชานุสรณ์) ค� ำกาพย์ วรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้เรื่องนี้ ผู้แต่งบันทึกในกระดาษฝรั่ง เป็นเรื่องเดียว ที่ใช้สัตว์เป็นตัวเอกของเรื่อง เนื้อหาของ วรรณกรรมได้มาจากเรื่องราวจริงของ ช้างพลายเชือกหนึ่ง คือ พลายจ� ำเริญ ซึ่ง เป็นช้างของตระกูล ณ นคร ช้างเชือกนี้ บางกระแสบอกว่ ามีชีวิตอยู่ ในสมัย รัชกาลที่ ๓-๔ แต่บางกระแสบอกว่า มีชีวิตอยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๔-๗ แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ เรื่องนี้จึงยังสับสนอยู่ ผู้แต่งเรื่องนี้ คือ พระปลัดเลี่ยม อาสโย (เลี่ยม นาครภัฏ) มีชีวิตอยู่ตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๒๙) และมรณภาพ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=