สำนักราชบัณฑิตยสภา

ชวน เพชรแก้ว 567 วารสาร ราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๔ วรรณกรรมคัดสรรที่ได้รวบรวมศึกษา วรรณกรรมในสาระดังกล่าวแล้ว อะไร คือความใหม่ ความน่าสนใจของการ รวบรวมศึกษาครั้งนี้ สิ่งที่น่ าสนใจ ประการแรก คือ มีวรรณกรรมจ� ำนวน ไม่น้อยเป็นผลงานที่ไม่เคยมีผู้ใดศึกษา อย่างจริงจังและไม่เคยเผยแพร่ให้เป็นที่รับ รู้ต่อสาธารณชนอย่างกว้างขวางมาก่อน เช่น ต� ำนานสร้างโลกฉบับบ้านป่าลาม โองการพญากรูด จารึกแผ่นทองที่ปลี ยอดพระมหาธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช เกาะตะรุเตาทัณฑสถานประวัติศาสตร์ แหล่หมอจันทร์ ปรมัตถธรรมค� ำกาพย์ พลายจ� ำเริญ (คชานุสรณ์) ค� ำกาพย์ โจทย์เลขปริศนา และแบบเรียนค� ำกาพย์ เป็นต้น ประการที่สองในเมื่อวรรณกรรม ดังกล่าวมิได้มีการศึกษากันอย่างจริงจัง และไม่เคยเผยแพร่อย่างกว้างขวางมาก่อน ความจริงบางประการแต่เดิมเป็นที่รู้กันใน วงจ� ำกัด เช่น ผู้เป็นเจ้าของ และผู้สนใจ ในวงแคบเท่านั้น สรรพวิทยาการทั้ง ปวงก็รังแต่จะเสื่อมสูญ และหมดสิ้นไป ตามกาล เมื่อเป็นเช่นนั้น วรรณกรรมดัง กล่าวที่น� ำมาศึกษาเผยแพร่จึงช่วยไขความ จริงบางประการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ สังคม ความเชื่อ ค่านิยม วิถีชีวิต ฯลฯ อันเป็นการช่วยเสริมการศึกษาเกี่ยวกับ ผู้คนและสังคมภาคใต้ให้แจ่มชัดขึ้นได้ อีกระดับหนึ่ง สิ่งที่น่าสนใจซึ่งเป็นอนุสติ อีกประการหนึ่ง ก็คือ การศึกษารวบรวม วรรณกรรมครั้งนี้เป็นการเปิดโลกใหม่ ทางวรรณกรรมให้กว้างยิ่งขึ้น เป็นการชี้ ทางให้เห็นว่าภูมิปัญญาจากวรรณกรรม ของมนุษยชาติมิได้ จ� ำกัดอยู่ แค่ เมือง หลวง เมืองใหญ่หรือเมืองศูนย์กลาง เท่านั้น แต่ผู้คนและสังคมอื่นๆได้รังสรรค์ วรรณกรรมขึ้นเพื่อบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ในสังคมของพวกเขา อีกทั้งช่วยให้มอง เห็นอิทธิพลบางประการของการก่อเกิด วรรณกรรมที่หลากหลายออกไปอีกด้วย วรรณกรรมทักษิณ : วรรณกรรมคัดสรร จึงมีคุณอนันต์ ต่ อสังคมภาคใต้ และ ประเทศชาติของเราโดยส่วนรวมอย่าง แน่นอน เสี้ยวหนึ่งจากวรรณกรรมทักษิณ : วรรณกรรมคัดสรร ได้ กล่ าวมาในตอนต้นแล้ วว่ า คณะผู้ศึกษาวิจัยจ� ำนวนมากกว่า ๔๐ คน ได้เริ่มเสาะหาต้นฉบับวรรณกรรมจาก แหล่งเก็บรวบรวมวรรณกรรมในภาคใต้ มาตรวจสอบและคัดเลือกจากวรรณกรรม จ� ำนวนหลายพันเล่ม โดยศึกษาในลักษณะ วรรณกรรมปฏิทัศน์ จ� ำนวน ๔๓๕ เรื่อง แล้วด� ำเนินการคัดสรรจนเหลือเพียง ๘๔ เรื่อง ทั้ง ๘๔ เรื่องนี้ล้วนน่าสนใจทั้งสิ้น ในที่นี้จะกล่าวถึงส่วนเสี้ยวเล็ก ๆ จากวรรณกรรมเพียงบางเรื่อง เพื่อ สนับสนุน “ความมีอะไรในวรรณกรรม ทักษิณ : วรรณกรรมคัดสรร” ต� ำนานสร้างโลกฉบับบ้านป่าลาม ต� ำนานฉบับนี้บันทึกในหนังสือ บุดขาว ผู้เป็นเจ้าของเป็นหมอพื้นบ้าน ที่บ้านป่าลาม ต� ำบลช้างไห้ตก อ� ำเภอ โคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เนื้อเรื่องหนักไป ทางต� ำนานฮินดู ที่ได้มีการปรับแต่งเพื่อ ให้มีความสอดคล้องกับสภาพภูมิศาสตร์ และสภาพสังคมของกลุ่มชนในท้องถิ่น ภาคใต้ตอนล่าง มีคติ ความเชื่อในทาง พุทธศาสนา และคติความเชื่อดั้งเดิมของ มลายูในท้องถิ่นผสมผสาน สะท้อนการ ปฏิสัมพันธ์กับคนต่างถิ่นใกล้ไกล กล่าว ถึงการเกิดของสรรพสิ่งที่ตัวเอกของ ต� ำนาน คือ พระอิศวร และพระอุมา เป็น ผู้ให้ทั้งโลกนี้และจักรวาล การเกิดหยูกยา มนต์คาถา ตลอดจนพิธีกรรมต่าง ๆ ที่มี ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนี้ เช่น พิธีกรรม ในการเกิด การแต่งงาน การท� ำศพ การท� ำ ไร่ท� ำนา การท� ำขวัญข้าว เป็นต้น โองการพญากรูด ต้นฉบับวรรณกรรมเล่มนี้เป็น หนังสือบุดขาว ศูนย์ วัฒนธรรมมหา วิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตเก็บรวบรวมไว้ ต้นฉบับเขียนว่า “ตัมราองการพญากรูด” วรรณกรรมฉบับนี้แปลกกว่าโองการฉบับ อื่น ๆ กล่าวคือ ได้ก� ำหนดเอาต้นไม้ คือ ต้นมะกรูด จากภูเขาสหัสบรรพต มาเป็น พญายาด้วยอ� ำนาจฤทธิ์แห่งพระผู้เป็น เจ้าที่ก� ำกับไว้ โดยมอบหมายให้เจ้าพิธี (หมอ) น� ำไปรักษาผู้ป่วย เนื้อหาทั้งหมด มี ๑๑ ส่วน คือ เริ่มจากการสดุดีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ การให้ความส� ำคัญ ต่อมะกรูดในฐานะพญายา การกล่าวถึง พระอิศวรณรายณ์ และพลังธรรมชาติ ของสมุนไพรมะกรูด และความเชื่อมั่น ทางจิต การน� ำคาถาอาคมและอ� ำนาจ ของพระรัตนตรัยมาช่วยขจัดปัดเป่าให้ เคราะห์ร้ายหาย การท� ำคุณไสย และการ สะเดาะเคราะห์เภทภัยจากการถูกกระท� ำ ทางไสยศาสตร์ การกล่าวถึงสรรพพิษ ทั้งหลาย การน� ำเอาพุทธมนต์ คือ อิติปิ โสมาใช้ การอ้างอ� ำนาจจากพระฤๅษีเพื่อ ปัดเป่าสรรพพิษให้หาย การแก้อาถรรพณ์

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=