สำนักราชบัณฑิตยสภา

ชวน เพชรแก้ว 565 วารสาร ราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๔ จากหนังสือบุด และหนังสือใบลานมา จัดพิมพ์ อีกส่วนหนึ่งเป็นการสร้างสรรค์ ขึ้นใหม่ของผู้รู้ พัฒนาการการศึกษาวรรณกรรมทักษิณ ก่อนที่การพิมพ์จะแพร่หลายอย่าง กว้างขวาง หนังสือบุดในฐานะสรรพ วิทยาการได้รับการเอาใจใส่และเก็บ รักษาไว้เป็นอย่างดี วัดเก่าแก่ทุกวัดและ ที่บ้านของผู้ใฝ่รู้ใฝ่ศึกษามีหนังสือบุด เก็บรวบรวมไว้เป็นจ� ำนวนมาก บางเล่ม ยังคงมีสภาพสมบูรณ์พอที่จะน� ำมาศึกษา ได้ แต่ก็มีไม่ถึงร้อยละ ๑๐ ของหนังสือ ที่เก็บรวบรวมได้ ทั้ง ๆ ที่ผู้เก็บ ผู้คัดลอก ผู้ศึกษาพยายามรักษาไว้ให้คงอยู่เพื่อเป็น สมบัติของคนรุ่นหลัง ด้วยการสร้าง คตินิยม ความเชื่อว่าเป็นหนังสือศักดิ์สิทธิ์ แต่ก็ไม่วายถูกท� ำลายด้วยความเชื่อบาง ประการ ถูกขายให้ชาวต่างชาติ และหมด ความนิยมเนื่องจากระบบการพิมพ์สมัย ใหม่แพร่หลาย วันนี้จึงมีหนังสือเหลือ อยู่ส่วนหนึ่งซึ่งน้อยนิดหากเทียบเคียง กับอดีต แต่ก็ยังคงเป็นความภูมิใจของ ชาวภาคใต้ที่ใฝ่รู้ใฝ่ศึกษาเรื่องนี้ เพราะนี่ คือ วัฒนธรรมภาคใต้ที่เล่าขานถึงความ เป็นภาคใต้ และบอกกล่าวถึงอิทธิพล ต่าง ๆ ที่หล่อหลอมความเป็นเอกลักษณ์ ของพวกเขา เมื่อประมาณ ๕๐-๖๐ ปีที่ผ่าน มานี้ ชาวบ้านชาววัดไม่น้อยยังนิยมสวด หนังสือซึ่งเป็นวิธีการถ่ายทอดความรู้ และความบันเทิงอย่างหนึ่ง ในช่วงที่ความ บันเทิงจากสิ่งบันเทิงเช่นในปัจจุบันยังไม่ แพร่หลาย ทุกวันพระ ๘ ค�่ ำ และ ๑๕ ค�่ ำ ภายหลังจากที่ชาวบ้านรับศีล ฟังพระสวด มนต์ ฟังเทศน์ และถวายภัตตาหารแล้ว เวลาว่างก่อนเที่ยงและเวลาว่างหลังเที่ยง ก่อนจะกลับบ้านจะมีชาวบ้าน ชาววัด เป็นกลุ่ม ๆ สวดหนังสือตามระเบียง พระอุโบสถระเบียงพระด้าน และศาลาวัด หนังสือที่ใช้สวดส่วนใหญ่เป็นวรรณกรรม ประโลมโลกและวรรณกรรมที่เกี่ยวกับ ศาสนา ทั้งผู้สวดและผู้ฟังต่างด�่ ำลึกใน เนื้อหาสาระ ค� ำสอน กลายเป็นความสุข ความบันเทิง นอกเหนือไปจากการดูหนัง ตะลุง มโนห์รา ฟังเพลงบอก และเพลง แปดบท ฯลฯ นอกจากสวดหนังสือกัน ที่วัดแล้ว บ้านใดที่มีทุนทรัพย์หากมีงาน หรือกิจการใดก็มักนิยมให้ผู้ช� ำนาญการ สวดหนังสือไปสวดโดยให้ค่าตอบแทน เป็นสิ่งของบ้าง เป็นเงินบ้าง การสวด หนังสือดังกล่าวช่วยให้มีผู้จดจ� ำเรื่อง ราวต่าง ๆ ได้มากมาย ซึ่งภายหลังเมื่อ ต้นฉบับหนังสือเสื่อมสภาพสูญหายไป บุคคลเหล่านี้อาศัยการจดจ� ำถ่ายทอดให้ เรื่องราวต่าง ๆ ที่ส� ำคัญยังคงอยู่ไม่น้อย แต่ปัจจุบันสภาพการณ์เช่นนี้หมดไปแล้ว อย่างสิ้นเชิง เมื่อประมาณ ๓๐ ปีที่ผ่านมานี้ ท่านขุนอาเทศ (กลอน มัลลิกะมาส) นาย พร้อม ศรีสัมพุทธ พระภิกษุด� ำ วัดหัวอิฐ เมืองนครศรีธรรมราช นายดิเรก พรต ตะเสน รองศาสตราจารย์ภิญโญ จิตต์ ธรรม ศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ อาจารย์วิเชียร ณ นคร และบุคคลอื่น ๆ อีกจ� ำนวนหนึ่งได้พยายามเก็บรวบรวม หนังสือบุด หนังสือใบลาน เอกสารต่าง ๆ กันอย่างจริงจัง สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณได้จัดประชุมสัมมนา เกี่ยวกับวรรณกรรมท้องถิ่นขึ้นหลายครั้ง ขณะเดียวกันศูนย์วัฒนธรรมต่าง ๆ ใน ภาคใต้ได้เก็บรวบรวมวรรณกรรมกัน อย่างจริงจัง ท� ำให้มีวรรณกรรมไม่น้อย พิมพ์ออกเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง แหล่ง สืบค้นส� ำคัญที่เก็บรวบรวมและศึกษา วรรณกรรมดังกล่าว เช่น สถาบันทักษิณคดี มหาวิทยาลัยทักษิณ ศูนย์วัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ส� ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัย ราชภัฏสุราษฎร์ธานี ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ศูนย์วัฒนธรรม จังหวัดพัทลุง โรงเรียนสตรีพัทลุง เป็นต้น แม้จะมีแหล่งรวบรวม และศึกษาค้นคว้า อย่ างจริงจังมากขึ้นแต่ ผลงานศึกษา วรรณกรรมทักษิณก็มิได้ เคลื่อนตัว ก้าวไกลไปกว่าเดิมเท่าใดนัก หากเปรียบ เทียบกับจ� ำนวนวรรณกรรมที่เก็บไว้ ตามแหล่งต่าง ๆ จ� ำนวนไม่น้อยกว่า ๖,๐๐๐ ฉบับ (ใน พ.ศ. ๒๕๔๐ สถาบัน ราชภัฏในภาคใต้ได้จัดท� ำข้อมูลจากแหล่ง สืบค้นเฉพาะ ๕ แหล่ง มีวรรณกรรม รวมทั้งสิ้น ๖,๕๑๙ รายการ เป็นของ สถาบันทักษิณคดีศึกษา ๑,๓๗๙ รายการ สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช ๓,๗๖๔ รายการ สถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี ๗๔๘ รายการ สถาบันราชภัฏภูเก็ต ๔๘๒ รายการ และศูนย์ วัฒนธรรม จังหวัดพัทลุง ๑๔๖ รายการ) ใน พ.ศ. ๒๕๔๔-๒๕๔๗ มี ชุดโครงการวิจัยภูมิปัญญาทักษิณจาก วรรณกรรมและพฤติกรรม ได้รับทุน สนับสนุนการวิจัยจากส� ำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว.) ศาสตราจารย์ สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ผู้ เป็นหัวหน้า โครงการ ได้ระดมนักวิชาการของภาคใต้

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=