สำนักราชบัณฑิตยสภา
วรรณกรรมทักษิณ : หลักฐานส� ำคัญของภาคใต้ที่ท้าทายการศึกษา The Journal of the Royal lnstitute of Thailand Volume 36 No. 4 Oct-Dec 2011 564 * บทความนี้ปรับปรุงจากการบรรยายผลงานทางวิชาการในที่ประชุมส� ำนักศิลปกรรม เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ บทน� ำ ภาคใต้มีสรรพวิทยาการต่าง ๆ ที่ บรรพบุรุษสั่งสมถ่ายทอดเป็นวรรณกรรม ลายลักษณ์อย่างอเนกอนันต์ วรรณกรรม ดังกล่าวมีทั้งที่บันทึกบนแผ่นศิลา แผ่น ทองค� ำ ใบลาน สมุดข่อยหรือหนังสือบุด และกระดาษฝรั่ง วรรณกรรมที่เป็นศิลา จารึกของภาคใต้ระหว่างพุทธศตวรรษ ที่ ๑๒-๑๘ ล้วนเป็นอิทธิพลตัวอักษรมา จากภายนอก ได้แก่ อักษรปัลลวะ อักษร มอญ อักษรทมิฬ และอักษรขอม ครั้นถึง พุทธศตวรรษที่ ๑๘ วัฒนธรรมการใช้ ใบลาน และสมุดข่อยรุ่งโรจน์ และเป็น ช่วงที่นิยมใช้อักษรขอมตลอดมาจนถึง สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ส� ำหรับ การใช้อักษรไทยและอักษรขอมไทยใน ภาคใต้ พบหลักฐานที่ชัดเจนจากจารึก บนแผ่นทองค� ำที่ใช้หุ้มปลียอดพระบรม- ธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช ตรงกับ พ.ศ. ๒๑๕๙ ในแผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรถ แต่คาดว่าการใช้อักษรไทยยังไม่เป็นที่ นิยมแพร่หลายในภาคใต้ขณะนั้น ในส่วน ของการใช้กระดาษฝรั่งเขียนภาษาไทย พบว่า อย่างช้าเคยมีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ดังเช่น จดหมาย ของ ท่านจัน เมืองถลาง ที่มีโต้ตอบกับ ฟรานซิส ไลท์ ชาวอังกฤษที่เมืองปีนัง ส� ำหรับวรรณกรรมภาคใต้ที่ตกทอดมา จนกระทั่งถึงปั จจุบันส่ วนใหญ่ เป็ น หนังสือบุด หนังสือใบลาน และหนังสือ เล่มเล็ก หนังสือบุดและหนังสือใบลาน เป็นเอกสารเก่าช่วงก่อนการพิมพ์ ส่วน หนังสือเล่มเล็กเป็นหนังสือซึ่งพิมพ์เผย แพร่ในระยะแรก ๆ ที่การพิมพ์แพร่หลาย ในภาคใต้ โดยส่วนหนึ่งน� ำวิทยาการมา บทคัดย่อ หนังสือบุด เป็นวรรณกรรมลายลักษณ์ของภาคใต้ที่บันทึกสรรพวิทยาการต่าง ๆ ไว้ก่อนที่การพิมพ์จะ แพร่หลาย แหล่งรวบรวมที่ส� ำคัญได้แก่ วัด และบ้านของผู้ใฝ่รู้ ในสมัยแรกเริ่มการพิมพ์ได้มีการน� ำวิทยาการ จากหนังสือบุดมาจัดพิมพ์เป็นหนังสือเล่มเล็กเพื่อเผยแพร่ ต่อมามีนักวิชาการภาคใต้จ� ำนวนหนึ่งได้เก็บรวบรวม หนังสือบุด หนังสือใบลาน เอกสารต่าง ๆ กันอย่างจริงจังท� ำให้มีวรรณกรรมไม่น้อยพิมพ์ออกเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง ใน พ.ศ. ๒๕๔๔-๒๕๔๗ โครงการวิจัยภูมิปัญญาทักษิณจากวรรณกรรมและพฤติกรรมได้คัดสรรวรรณกรรม ๘๔ เรื่อง จัดท� ำเป็น วรรณกรรมทักษิณ : วรรณกรรมคัดสรร พิมพ์เผยแพร่ ใน พ.ศ. ๒๕๔๘ มีเนื้อหาสาระ เกี่ยวกับ ศิลาจารึกและจารึก ต� ำรา คัมภีร์ ประวัติศาสตร์ พงศาวดาร ต� ำนาน การแพทย์ เหตุการณ์ส� ำคัญในท้องถิ่น นิทานประโลมโลก ความเชื่อและคตินิยม นิราศ หลักศาสนา ปรัชญาวรรณกรรมเฉพาะกิจ กฎหมาย บุคคลและ สถานที่ ประเพณีและพิธีกรรม ปกิณกะ และสุภาษิตค� ำสอนนี่คือ ส่วนเสี้ยวของฐานรากสังคมภาคใต้อันเป็นวิถี และพลังที่ท้าทายการศึกษา ค� ำส� ำคัญ : วรรณกรรมทักษิณ, วรรณกรรมคัดสรร, หนังสือบุด, หนังสือใบลาน วรรณกรรมทักษิณ : หลักฐานส� ำคัญของภาคใต้ ที่ท้าทายการศึกษา * ชวน เพชรแก้ว ภาคีสมาชิก ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=