สำนักราชบัณฑิตยสภา
นววรรณ พันธุเมธา 561 วารสาร ราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๔ ค� ำที่พยัญชนะต้นเป็น ล ได้แก่ ค� ำว่า เลื่อย พบในภาษาไทยถิ่นเหนือ หมายถึง เมื่อยล้า เหนื่อยอ่อน และพบ ในวรรณคดี เช่น บทเห่กล่อมพระบรรทม ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ มีกาพย์ ว่า “ด้วยล้า เลื่อย เหนื่อยนัก พระวรพักตร์ หม่นหมอง” แมลง แมง แลง ค� ำที่พยัญชนะต้น เป็น มล ได้แก่ ค� ำว่า แมลง ค� ำที่พยัญชนะ ต้นเป็น ม ได้แก่ค� ำว่า แมง (ภาษาไทย ถิ่นเหนือ เขียน แมลง อ่าน แมง) ค� ำที่พยัญชนะต้นเป็น ล ได้แก่ค� ำว่า แลง ใน แลง กินฟัน ซึ่งบางคนก็พูดว่า แมงกินฟัน และพบในวรรณคดี เช่น ไตรภูมิพระร่วง มีข้อความว่า “แลไม้นั้น หาด้วงหา แลง มิได้” แมลบ แมบ แลบ ค� ำที่พยัญชนะ ต้นเป็น มล ได้แก่ค� ำว่า แมลบ พบใน ภาษาไทยถิ่นใต้และภาษาไทลื้อที่พูด ในมณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐ ประชาชนจีน ผ่า แมลบ หมายความว่า ฟ้าแลบ และพบในวรรณคดี เช่น โดยรอบหัวก� ำนั้นย่อมประดับด้วยแก้ว ๗ ประการ แลบ่อนเลื่อมใสงามดั่งฟ้า แมลบ แลมีรัศมีดั่งพระอาทิตย์ เมื่อพิจารณาดูใส เลื่อมพรายงามดั่งสายฟ้า แมลบ รอบๆ ไพล่ๆ ไขว้ๆ ไปมา ดูงามนักหนาทั่ว ทุกแห่งแล (ไตรภูมิพระร่วง) ค� ำที่พยัญชนะต้นเป็น ม ได้แก่ค� ำว่า แมบ พบในภาษาไทยถิ่นเหนือ ถิ่นอีสาน และไทใหญ่ ค� ำที่พยัญชนะต้นเป็น ล ได้แก่ค� ำว่า แลบ ภาษาไทยถิ่นอีสานมีค� ำว่า แมบ และ แลบ ตาม พจนานุกรมภาคอีสาน- ภาคกลาง แมบ หมายถึง “มีแสงกะพริบ มีแสงแวววาว, อาการฟ้าแลบ เช่น ฟ้า เหลื้อมแมบ =ฟ้าแลบแปลบ แมบๆ ก็ว่า,” แลบ หมายถึง “พ้นออกจากที่เดิมหรือที่ ปกปิดก� ำบัง (ใช้กับของแบน ๆ) เช่น แลบ ลิ้น, ไฟแลบ เป็นต้น.” เห็นได้ว่า ค� ำที่มีเสียง มฺล ม ล และ มะล มักมีความหมายคล้ายคลึงกันจน ชวนให้คิดว่า เดิมน่าจะเป็นค� ำเดียวกัน ปัญหาคือค� ำเดิมควรจะเป็นเสียงใด ข้อ สันนิษฐานประการหนึ่งคือ เดิมเป็นมหรือ ล แล้วแผลงเป็น มะล ข้อสันนิษฐานนี้อาจ มีส่วนถูก ค� ำบางค� ำ เช่น มลาว อาจแผลง มาจาก ลาว แต่ค� ำที่มีเสียง มะล ส่วนใหญ่ น่าจะมีมาแต่เดิม มิใช่เกิดจากการแผลงค� ำ คนไทลื้อคงมิได้แผลงค� ำ แมลบ จาก แลบ หรือ แมบ และคนไทในหวู่ หมิง ก็คงมิได้แผลงค� ำ มล๋าก จากค� ำเมือก หรือ เลือก เราอาจสันนิษฐานในทางตรงข้าม คือเดิมเป็น มฺล แล้วแยกเสียงเป็น ม และ ล หรือแทรกเสียงเป็น มะล ถ้าเชื่อตามข้อ สันนิษฐานนี้ ค� ำที่มี มล ก็เป็นค� ำที่ปัจจุบัน นี้ไม่ได้ออกเสียงควบกล�้ ำ แต่อาจจะเคย ออกเสียงควบกล�้ ำเป็น มฺล บรรณานุกรม ไตรภูมิพระร่วงของพระญาลิไทย. พิมพ์ ครั้งที่ ๒. พระนคร : องค์การค้า ของคุรุสภา; ๒๕๐๖. บทเห่กล่อมพระบรรทม ฉบับหอพระสมุด วชิรญาณ. พระนคร : โสภณ พิพรรธนากร; ๒๔๖๖. บรรจบ พันธุเมธา. พจนานุกรมเขมร-ไทย ฉบับทุนพระยาอนุมานราชธน. ๕ เล่มกรุงเทพฯ : จงเจริญการพิมพ์; ๒๕๑๗-๒๕๒๖. บรรจบ พันธุเมธา. พจนานุกรมพ่าเก่- ไทย-อังกฤษ. เอกสารอัดส� ำเนา; ๒๕๓๐. บรรจบ พันธุเมธา. “จริง ท� ำไมจึงมี ร” ใน ภาษาและวรรณคดีไทย. ปีที่ ๓ ฉบับที่๓(ธ.ค.๒๕๒๙ :๒๒-๒๓). บวรบรรณรักษ์, นายร้อยเอก หลวง. สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน. พระนคร : กรมวิชาการ กระทรวง ศึกษาธิการ; ๒๕๐๗.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=