สำนักราชบัณฑิตยสภา

เรื่องยุ่ง ๆ เกี่ยวกับอักษรควบ The Journal of the Royal lnstitute of Thailand Volume 36 No. 4 Oct-Dec 2011 558 เช่น ทึกชฺราบ (ตึกเจฺรียบ) หมายถึง น�้ ำซึมซาบ ๒ ทราบ เช่น สูมชฺราบ (โซม เจฺรียบ) หมายถึง ขอได้ทราบ สาเหตุที่สันนิษฐานเช่นนี้เพราะ ในเอกสารสมัยอยุธยา ไทยเขียนค� ำนี้ว่า ชราบ ซึ่งตรงกับค� ำเขมร ชฺราบ ดังนี้ บอกมาให้ ชราบ ในวันจันทร เดือนอาย... (ประชุมจดหมายเหตุ สมัยอยุธยา ภาค ๑, ๒๕๑๐: ๔) ค� ำว่า ชราบ ในตัวอย่างข้างต้น หมายถึง รู้ นอกจากจะเขียนว่า ชราบ ค� ำนี้เคย เขียนว่า ทราบ มีความหมายที่ดูเหมือน จะต่างกันเป็น ๒ อย่าง ๑ ... กาลเมื่อวันหนึ่งนั้น ก็เลงเห็น น�้ ำอันรดลงก่อนนั้น ครั้นรดลงก็ ทราบ หายไป... (ประชุมจดหมายเหตุ สมัยอยุธยา ภาค ๑, ๒๕๑๐: ๔๑) ๒ ... แลมีพระราชหฤไทย ทราบ ในพระต� ำราถวายนั้น แลมีพระราชศรัทธา ไว้ ตามพระราชทานพระกัลปนาแต่ โบราณราชประเวณี... (ประชุมจดหมายเหตุ สมัยอยุธยา ภาค ๑, ๒๕๑๐: ๗๗) ค� ำว่าทราบในตัวอย่างแรกหมายถึง ซึมแผ่ไป สิ่งที่ซึมแผ่ไปคือ น�้ ำ ค� ำว่า ทราบ ในตัวอย่างหลัง หมายถึง รู้ ความหมายดู เหมือนจะต่างออกไป แต่อันที่จริงความ หมายก็เหมือนกับตัวอย่างแรก คือหมายถึง ซึมแผ่ไป สิ่งที่ซึมแผ่ไปในพระราชหฤทัย คือความรู้เกี่ยวกับพระต� ำรา ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ค� ำนี้ เขียนว่า ซาบ มีความหมาย ๒ อย่างซึ่ง เกี่ยวข้องกัน ดัง อักขราภิธานศรับท์ ให้ ความหมายไว้ว่า ซาบ, รู้, แจ้ง คือเปนชื่ออาการ ที่เปียกซ่านไปนั้น, เหมือนอย่างผ้าฤๅ กะดาดเปียกน�้ ำ เปนต้น. อนึ่งคือรู้นั้นด้วย. ซาบเกล้าซาบกระหม่อม เปนชื่อ ความที่รู้นั้น, แต่เปนค� ำใช้จ� ำเภาะกราบทูล เท่านั้น. ซาบข่าว, คือความที่รู้ข่าวนั้น, แต่ เปนค� ำพูดกับผู้มีบันดาศักดิ์, เหมือนอย่าง ขุนนางผู้ใหญ่ เปนต้น. ซาบความ, เปนชื่อการที่รู้ความนั้น, แต่ เปนความเปรียบเหมือนอย่ างน�้ ำที่ ทราบไป. ถ้ าเชื่อตามค� ำอธิบายของผู้ ท� ำ อักขราภิธานศรับท์ ซาบ หมายถึง เปียก ซ่านไป และรู้ เหมือนอย่างน�้ ำที่เปียก ซ่านไป ซาบ ความหมายแรก ปัจจุบันเรา เขียน ซาบ ส่วน ซาบ ความหมายหลัง ปัจจุบันเราเขียน ทราบ ค� ำที่ปัจจุบันไม่ออกเสียงควบกล�้ ำ แต่อาจ จะเคยออกเสียงควบกล�้ ำ ค� ำที่จะกล่าวถึงคือค� ำที่มี มล เป็น พยัญชนะต้น ปัจจุบันต้องอ่านว่า มะล ค� ำ เหล่านี้บางค� ำพบในภาษาที่ใช้ทั่วไป เช่น แมลง เมล็ด บางค� ำพบในวรรณคดี เช่น มละ พบในลิลิตตะเลงพ่าย เมลือง พบใน โคลงยวนพ่าย (โบราณเรียกว่า ลิลิตยวน พ่าย) และมหาชาติค� ำหลวง ดังนี้ มันเห็นเศิกสระทก ตระดกดาลระรัว ยิ่งกว่ากลัวสวามิศ บ เต้าติดตูต้อย มละ แต่ข้อยสองคน เข้าโรมรณราวิศ ในอมิตรหมู่กลาง แสนเสนางค์เนืองบร (ลิลิตตะเลงพ่าย)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=